WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอดลย โชตนสากรณ copyพาณิชย์ เตือนผู้ส่งออกใช้สิทธิ GSP นอร์เวย์-สวิสเร่งขึ้นทะเบียนระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองก่อน 1 ก.ค.

    นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.61 เป็นต้นไปจะมีการเปลี่ยนวิธีการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าภายในระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ของสวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ โดยจะมีการปรับรูปแบบจากการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form A) เป็นระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของผู้ส่งออก (Registered Exporter system: REX) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อให้ผู้ส่งออกลงทะเบียนในระบบฐานข้อมูลดังกล่าวแล้วสามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองในการส่งออกสินค้าไปใช้สิทธิภายใต้ระบบ GSP สวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์

       "ขอให้ผู้ประกอบการที่ใช้สิทธิ GSP นอร์เวย์และสวิตเซอร์แลนด์รีบขึ้นทะเบียนระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (REX) เพื่อให้สามารถใช้สิทธิได้ต่อเนื่อง หลัง 1 ก.ค.นี้เป็นต้นไปจะไม่มีการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าให้กับผู้ส่งออกอีกต่อไป"นายอดุลย์ กล่าว

     สำหรับ ระบบ REX เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยลดขั้นตอนการดำเนินการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งไม่ต้องเสียเวลามาติดต่อกับกรมฯ และที่สำคัญ คือ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและขั้นตอนในการดำเนินการส่งออก ดังนั้นจึงขอเชิญชวนผู้ที่ส่งสินค้าไปยังตลาดสวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ และผู้ที่มีแผนจะส่งสินค้าไปยัง 2 ประเทศดังกล่าวในอนาคตให้มาขึ้นทะเบียนเป็น Registered Exporter เพื่อให้สามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองได้

     ทั้งนี้ หลังจากรับรองตนเองแล้วจะต้องมั่นใจว่าสินค้าที่ส่งออกไปผลิตได้ถูกต้องตามกฎถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ระบบ GSP สวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ เพื่อป้องกันการถูกตรวจสอบย้อนหลังจากศุลกากรของทั้ง 2 ประเทศ และหากไม่มั่นใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าหรือขั้นตอนการขึ้นทะเบียน ผู้ส่งออกสามารถติดต่อขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของกรมฯ เพื่อขอคำปรึกษาในเรื่องนี้ได้

   อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจและสร้างการรับรู้ให้กับผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าไปยัง 2 ประเทศดังกล่าว กรมฯ ได้กำหนดจัดสัมมนาเรื่อง "T-REX" ในวันพุธที่ 20 มิถุนายน 2561

      อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!