WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC พมพชนก วอนขอพรพาณิชย์ เผยส่งออกมี.ค. โต 7.06% มูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วน Q1/61 โต 11.29% สูงสุดในรอบ 7 ปี

      พาณิชย์ เผยส่งออกมี.ค. โต 7.06% มูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์แตะ 2.23 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วน Q1/61 โต 11.29% สูงสุดในรอบ 7 ปี มั่นใจส่งออกทั้งปี 61 โต 8% ตามคาด อานิสงส์ศก.ประเทศคู่ค้าขยายตัวดี ฟากนำเข้ามี.ค.โต 9.47% และไตรมาส 1/61 โต 16.16% แย้มเล็งเพิ่มเป้าส่งออก - เงินเฟ้อทั้งปีใหม่ หลังตัวเลขดีต่อเนื่อง ชี้นโยบายกีดกันทางการค้าสหรัฐ-อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา  

 นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายยุทธศาสตร์และการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า การส่งออกมีมูลค่า 22,363 ล้านดอลลาร์ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือคิดเป็นเติบโต 7.06% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ไตรมาสแรกของปีนี้ส่งออกมีมูลค่า 62,829 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 11.29% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงสุดในรอบ 7 ปี

  ด้านนำเข้าเดือนมีนาคม 2561 มีมูลค่า 21,095 ล้านดอลลาร์ โต 9.47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ไตรมาสแรกมีมูลค่า 60.872 ล้านดอลลาร์ หรือเติบโต 16.16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านดุลการค้ามีนาคมเกินดุล 1,268.1 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ไตรมาสแรกเกินดุล 1,956.6 ล้านดอลลาร์ สำหรับทั้งปียืนยันว่า ส่งออกจะเติบโตที่ 8% ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ โดยส่งออกเฉลี่ยทุกเดือนจะต้องมีมูลค่าประมาณ 21,000 ล้านดอลลาร์ หรือ เติบโตไม่ต่ำกว่า 7% ต่อเดือน

  สำหรับ ส่งออกที่ขยายตัวดีนั้น พบว่า ส่งออกขยายตัวดีในทุกตลาดสำคัญ โดยเฉพาะตลาดอินเดีย อาเซียน 5 CLMV และสหรัฐ ที่ยังขยายตัวสูง สำหรับการส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13โดยเฉพาะเครื่องคอมพวิเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เป็นต้น ขณะที่การส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ชะลอตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 16 เดือน หรือที่ 3.3% จากการชะลอตัวของยางพารา น้ำตาลทราย

     “เร็วๆ นี้ เราคงปรับเพิ่มสมมติฐานส่งออกใหม่ ทั้งอัตราเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยมองว่าทั้งปีราคาน้ำมันดิบดูไบจะมากกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบาเรล อย่างไรก็ตามแม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวดีต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง คือ นโยบายกีดกันทางการค้าสหรัฐ-จีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการส่งออกได้ นอกจากนี้ยังต้องติดตามอัตราแลกเปลี่ยน ที่คาดว่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น จากเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.9% และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่เสมอ”นางสาวพิมพ์ชนก กล่าว

  นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวว่า การส่งออกในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสหรัฐ และกลุ่มยูโรโซนที่ขยายตัวดีจากการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ ทิศทางราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มอยู่เหนือระดับ 60 ดอลลาร์ต่อบาเรล ตามอุปสงค์โลกและการขยายตัวข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC และ Non OPEC จะส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลดีต่อมูลค่าการส่งออก

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

พาณิชย์ เผยยอดธุรกิจตั้งใหม่ Q1/61 เพิ่มขึ้น 7% ตามภาพรวมศก.ฟื้น การก่อสร้างมีแนวโน้มขยายตัวตามการลงทุนภาครัฐ

      นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงผลการจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ไตรมาส 1/61 พบว่า มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศ ไตรมาส 1/2561 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 20,049 ราย เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2560 (ต.ค.-ธ.ค.) จำนวน 18,905 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 1,144 ราย คิดเป็น 6% และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2560 จำนวน 18,802 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 1,247 ราย คิดเป็น 7%

      โดยเป็นผลจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560 มีปัจจัยสนับสนุนจากธุรกิจการก่อสร้างที่มีแนวโน้มในการขยายตัวสูงขึ้น จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่คาดว่าเริ่มดำเนินการได้ในปีนี้ อีกทั้งแนวโน้มการบริโภคภายในประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนผ่านโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยระยะ 2 ซึ่งเป็นการต่อยอดจากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจการค้าและภาคธุรกิจบริการ SME มีบทบาทอย่างมาก

       "กรมฯ จึงคาดว่าจะมีแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่เพิ่มขึ้นในปี 2561 โดยไม่น้อยกว่า 75,000 ราย" อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุ

       นางกุลณี กล่าวว่า สำหรับในเดือนมีนาคม 2561 มีจำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศ 6,728 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2561 จำนวน 6,356 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 372 ราย คิดเป็น 6% และเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2560 จำนวน 6,772 ราย ลดลง 44 ราย คิดเป็น 1%

         โดยประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 615 ราย คิดเป็น 9% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 417 ราย คิดเป็น 6% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 167 ราย คิดเป็น 2%

       ส่วนมูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในเดือนมีนาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 25,255 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2561 จำนวน 17,636 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 7,619 ล้านบาท คิดเป็น 43% และเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2560 จำนวน 26,641 ล้านบาท ลดลงจำนวน 1,386 ล้านบาท คิดเป็น 5%

       ขณะที่ในเดือนมีนาคม 2561 นี้มีธุรกิจเลิกประกอบกิจการจำนวน 928 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2561 จำนวน 810 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 118 ราย คิดเป็น 15% และเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2560 จำนวน 1,167 ราย ลดลงจำนวน 239 ราย คิดเป็น 20% โดยประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 99 ราย คิดเป็น 11% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 65 ราย คิดเป็น 7% และธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการจัดการ 23 ราย คิดเป็น 2%

      ส่งผลให้ในเดือนมีนาคม 2561 ยังคงมีธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้นทั่วประเทศ (ณ วันที่ 31 มี.ค.61) จำนวน 696,852 ราย มูลค่าทุน 17.30 ล้านล้านบาท จำแนกเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 184,372 ราย คิดเป็น 26.46% บริษัทจำกัด 511,298 ราย คิดเป็น 73.37% และบริษัทมหาชนจำกัด 1,182 ราย คิดเป็น 0.17%

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!