- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Saturday, 09 June 2018 14:49
- Hits: 3549
กรมเจรจาฯ นำทีมเกษตรกรและผู้ประกอบการโคนมและโคเนื้อเข้างานมหกรรมอาหารเอเชีย แนะเตรียมพร้อมบุกตลาดต่างประเทศจากการเปิดเสรี
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการนำคณะเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อ เข้าชมงานมหกรรมอาหารเอเชีย หรือ THAIFEX – World of Food ASIA 2018 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า การเยี่ยมชมงานครั้งนี้ได้สร้างโอกาสแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อของไทยได้พบกับเครือข่ายพันธมิตรทางการค้าและผู้ประกอบการอาหารจากทั่วโลก และศึกษาเทรนด์ในการพัฒนาและสร้างสรรค์สินค้าให้แตกต่าง โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์นมและเนื้อโค รวมทั้งเป็นการขยายผลจากการที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการโคนมและโคเนื้อในภูมิภาคต่างๆ ของไทยทั่วประเทศ เมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2560 – เมษายน 2561 ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดตลาดสินค้านมและเนื้อโค ภายใต้ความ ตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) และความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP) รวมทั้งเพื่อให้ผู้ประกอบการโคนมและโคเนื้อใช้โอกาสและประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้าภายใต้กรอบอาเซียน และอาเซียน-จีน ขยายตลาดอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อของไทยไปต่างประเทศ
“จากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยดึงศักยภาพท้องถิ่น สร้างโอกาสและรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ พร้อมกับเชื่อมโยงตลาดในประเทศไปสู่ตลาดต่างประเทศ กรมฯ จึงได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรับมือกับโลกการค้าเสรี โดยในงาน THAIFEX ที่จัดขึ้น กรมฯ ได้นำคณะเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อกว่า 30 คน เยี่ยมชมการพัฒนาและสร้างสรรค์สินค้าอาหารโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม หรือส่วนผสมของนม อาทิ ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว เนยแข็ง บัตเทอร์ ครีม และไอศกรีม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทย
ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ เริ่มจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพไปจนถึงปลายน้ำหรือการแปรรูปเพื่อส่งออก ซึ่งจากการที่กรมฯ ลงพื้นที่พบเกษตรกรโคเนื้อและโคนมในภูมิภาคต่างๆ ของไทยในช่วงที่ผ่านมาพบว่า เกษตรกรผู้ประกอบการโคนมและโคเนื้อมีการรวมกลุ่มกันพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมทั้งต้องการทำตลาดและส่งออก กรมฯ จึงได้นำคณะเกษตรกรและผู้ประกอบการเยี่ยมชมงาน THAIFEX และผู้ประกอบการในท้องถิ่นที่มีศักยภาพ เข้าร่วมออกคูหาสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมในงาน THAIFEX เพื่อขยายโอกาสในการส่งออกไปยังต่างประเทศ เพราะงานนี้ถือเป็นเวทีที่จะได้เปิดตัวให้ทั่วโลกได้รู้จักแบรนด์ ขยายเครือข่ายกับผู้ซื้อที่มีศักยภาพจากทั่วโลก เจรจาธุรกิจกับลูกค้ารายใหม่ พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับคู่แข่งเพื่อในการวางแผนธุรกิจในอนาคตอีกด้วย” นางอรมน กล่าว
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมโคนมในประเทศไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองแนวโน้มความต้องการบริโภคนมของคนไทยที่เพิ่มขึ้น ในปี 2560 ไทยนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมมูลค่า 606 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้านมผงขาดมันเนยจากนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา แต่ขณะเดียวกันไทยก็ส่งออกผลิตภัณฑ์นมมูลค่าสูงถึง 405 ล้านเหรียญสหรัฐ อาทิ นมพร้อมดื่มยูเอชที นมข้นหวาน นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ กัมพูชา เมียนมา สปป.ลาว สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ และสำหรับเนื้อโคนั้น ไทยผลิตโคเนื้อไม่เพียงพอกับ ความต้องการบริโภคในประเทศ จึงมีการนำเข้าโคเนื้อจากเมียนมาร์ และออสเตรเลีย และนำเข้าเนื้อโคและผลิตภัณฑ์จากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ตามความต้องการเนื้อโคแบบปิ้งย่างและชาบูที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ไทยมีการส่งออกโคมีชีวิต เนื้อโค และผลิตภัณฑ์ไปประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยในปี 2560 ส่งออกโคมีชีวิต 1.6 แสนตัว มูลค่า 2,090 ล้านบาท มีตลาดหลักได้แก่ สปป. ลาว และบางส่วนเข้าสู่ตลาดจีน และมาเลเซีย และมีการส่งออกเนื้อโคและผลิตภัณฑ์ 119.23 ตัน ส่วนใหญ่ไปกัมพูชาและ สปป.ลาว
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
พาณิชย์ นำผู้ประกอบการโคนม-โคเนื้อร่วมงานมหกรรมอาหารเอเชีย เตรียมพร้อมบุกตลาดต่างประเทศจากการเปิดเสรี
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการนำคณะเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อเข้าชมงานมหกรรมอาหารเอเชีย หรือ THAIFEX – World of Food ASIA 2018 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานีว่า การเยี่ยมชมงานครั้งนี้ได้สร้างโอกาสแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อของไทยได้พบกับเครือข่ายพันธมิตรทางการค้าและผู้ประกอบการอาหารจากทั่วโลก และศึกษาเทรนด์ในการพัฒนาและสร้างสรรค์สินค้าให้แตกต่าง โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์นมและเนื้อโค
รวมทั้งเป็นการขยายผลจากการที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการโคนมและโคเนื้อในภูมิภาคต่างๆ ของไทยทั่วประเทศ เมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2560 – เมษายน 2561 ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดตลาดสินค้านมและเนื้อโค ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) และความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP) รวมทั้งเพื่อให้ผู้ประกอบการโคนมและโคเนื้อใช้โอกาสและประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้าภายใต้กรอบอาเซียน และอาเซียน-จีน ขยายตลาดอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อของไทยไปต่างประเทศ
"จากนโยบายของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยดึงศักยภาพท้องถิ่น สร้างโอกาสและรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ พร้อมกับเชื่อมโยงตลาดในประเทศไปสู่ตลาดต่างประเทศ กรมฯ จึงได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรับมือกับโลกการค้าเสรี"นางอรมนกล่าว
พร้อมระบุว่า ในงาน THAIFEX ที่จัดขึ้น กรมฯ ได้นำคณะเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อกว่า 30 คน เยี่ยมชมการพัฒนาและสร้างสรรค์สินค้าอาหารโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม หรือส่วนผสมของนม อาทิ ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว เนยแข็ง บัตเทอร์ ครีม และไอศกรีม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทย ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ เริ่มจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพไปจนถึงปลายน้ำหรือการแปรรูปเพื่อส่งออก
นางอรมน กล่าวว่า จากการที่กรมฯ ลงพื้นที่พบเกษตรกรโคเนื้อและโคนมในภูมิภาคต่างๆ ของไทยในช่วงที่ผ่านมา พบว่าเกษตรกรผู้ประกอบการโคนมและโคเนื้อมีการรวมกลุ่มกันพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมทั้งต้องการทำตลาดและส่งออก กรมฯ จึงได้นำคณะเกษตรกรและผู้ประกอบการเยี่ยมชมงาน THAIFEX และผู้ประกอบการในท้องถิ่นที่มีศักยภาพ เข้าร่วมออกคูหาสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมในงาน THAIFEX เพื่อขยายโอกาสในการส่งออกไปยังต่างประเทศ เพราะงานนี้ถือเป็นเวทีที่จะได้เปิดตัวให้ทั่วโลกได้รู้จักแบรนด์ ขยายเครือข่ายกับผู้ซื้อที่มีศักยภาพจากทั่วโลก เจรจาธุรกิจกับลูกค้ารายใหม่ พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับคู่แข่งเพื่อในการวางแผนธุรกิจในอนาคตอีกด้วย
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมโคนมในประเทศไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองแนวโน้มความต้องการบริโภคนมของคนไทยที่เพิ่มขึ้น ในปี 2560 ไทยนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมมูลค่า 606 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้านมผงขาดมันเนยจากนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา แต่ขณะเดียวกันไทยก็ส่งออกผลิตภัณฑ์นมมูลค่าสูงถึง 405 ล้านเหรียญสหรัฐ อาทิ นมพร้อมดื่มยูเอชที นมข้นหวาน นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ กัมพูชา เมียนมา สปป.ลาว สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ และสำหรับเนื้อโคนั้น ไทยผลิตโคเนื้อไม่เพียงพอกับ ความต้องการบริโภคในประเทศ จึงมีการนำเข้าโคเนื้อจากเมียนมาร์ และออสเตรเลีย และนำเข้าเนื้อโคและผลิตภัณฑ์จากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ตามความต้องการเนื้อโคแบบปิ้งย่างและชาบูที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไทยมีการส่งออกโคมีชีวิต เนื้อโค และผลิตภัณฑ์ไปประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยในปี 2560 ส่งออกโคมีชีวิต 1.6 แสนตัว มูลค่า 2,090 ล้านบาท มีตลาดหลักได้แก่ สปป. ลาว และบางส่วนเข้าสู่ตลาดจีน และมาเลเซีย และมีการส่งออกเนื้อโคและผลิตภัณฑ์ 119.23 ตัน ส่วนใหญ่ไปกัมพูชาและ สปป.ลาว
อินโฟเควสท์
กรมเจรจาฯ นำทีมเกษตรกรและผู้ประกอบการโคนมและโคเนื้อเข้างานมหกรรมอาหารเอเชีย แนะเตรียมพร้อมบุกตลาดต่างประเทศจากการเปิดเสรี
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการนำคณะเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อ เข้าชมงานมหกรรมอาหารเอเชีย หรือ THAIFEX – World of Food ASIA 2018 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า การเยี่ยมชมงานครั้งนี้ได้สร้างโอกาสแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อของไทยได้พบกับเครือข่ายพันธมิตรทางการค้าและผู้ประกอบการอาหารจากทั่วโลก และศึกษาเทรนด์ในการพัฒนาและสร้างสรรค์สินค้าให้แตกต่าง โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์นมและเนื้อโค รวมทั้งเป็นการขยายผลจากการที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการโคนมและโคเนื้อในภูมิภาคต่างๆ ของไทยทั่วประเทศ เมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2560 – เมษายน 2561 ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดตลาดสินค้านมและเนื้อโค ภายใต้ความ ตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) และความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP) รวมทั้งเพื่อให้ผู้ประกอบการโคนมและโคเนื้อใช้โอกาสและประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้าภายใต้กรอบอาเซียน และอาเซียน-จีน ขยายตลาดอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อของไทยไปต่างประเทศ
“จากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยดึงศักยภาพท้องถิ่น สร้างโอกาสและรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ พร้อมกับเชื่อมโยงตลาดในประเทศไปสู่ตลาดต่างประเทศ กรมฯ จึงได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรับมือกับโลกการค้าเสรี โดยในงาน THAIFEX ที่จัดขึ้น กรมฯ ได้นำคณะเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อกว่า 30 คน เยี่ยมชมการพัฒนาและสร้างสรรค์สินค้าอาหารโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม หรือส่วนผสมของนม อาทิ ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว เนยแข็ง บัตเทอร์ ครีม และไอศกรีม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทย ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ เริ่มจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพไปจนถึงปลายน้ำหรือการแปรรูปเพื่อส่งออก ซึ่งจากการที่กรมฯ ลงพื้นที่พบเกษตรกรโคเนื้อและโคนมในภูมิภาคต่างๆ ของไทยในช่วงที่ผ่านมาพบว่า เกษตรกรผู้ประกอบการโคนมและโคเนื้อมีการรวมกลุ่มกันพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมทั้งต้องการทำตลาดและส่งออก กรมฯ จึงได้นำคณะเกษตรกรและผู้ประกอบการเยี่ยมชมงาน THAIFEX และผู้ประกอบการในท้องถิ่นที่มีศักยภาพ เข้าร่วมออกคูหาสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมในงาน THAIFEX เพื่อขยายโอกาสในการส่งออกไปยังต่างประเทศ เพราะงานนี้ถือเป็นเวทีที่จะได้เปิดตัวให้ทั่วโลกได้รู้จักแบรนด์ ขยายเครือข่ายกับผู้ซื้อที่มีศักยภาพจากทั่วโลก เจรจาธุรกิจกับลูกค้ารายใหม่ พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับคู่แข่งเพื่อในการวางแผนธุรกิจในอนาคตอีกด้วย” นางอรมน กล่าว
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมโคนมในประเทศไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองแนวโน้มความต้องการบริโภคนมของคนไทยที่เพิ่มขึ้น ในปี 2560 ไทยนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมมูลค่า 606 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้านมผงขาดมันเนยจากนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา แต่ขณะเดียวกันไทยก็ส่งออกผลิตภัณฑ์นมมูลค่าสูงถึง 405 ล้านเหรียญสหรัฐ อาทิ นมพร้อมดื่มยูเอชที นมข้นหวาน นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ กัมพูชา เมียนมา สปป.ลาว สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ และสำหรับเนื้อโคนั้น ไทยผลิตโคเนื้อไม่เพียงพอกับ ความต้องการบริโภคในประเทศ จึงมีการนำเข้าโคเนื้อจากเมียนมาร์ และออสเตรเลีย และนำเข้าเนื้อโคและผลิตภัณฑ์จากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ตามความต้องการเนื้อโคแบบปิ้งย่างและชาบูที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ไทยมีการส่งออกโคมีชีวิต เนื้อโค และผลิตภัณฑ์ไปประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยในปี 2560 ส่งออกโคมีชีวิต 1.6 แสนตัว มูลค่า 2,090 ล้านบาท มีตลาดหลักได้แก่ สปป. ลาว และบางส่วนเข้าสู่ตลาดจีน และมาเลเซีย และมีการส่งออกเนื้อโคและผลิตภัณฑ์ 119.23 ตัน ส่วนใหญ่ไปกัมพูชาและ สปป.ลาว