- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Saturday, 09 June 2018 14:45
- Hits: 2334
'พาณิชย์’ ช่วยผู้ประกอบการยานยนต์และชิ้นส่วนไทย ยกระดับความเข้มข้นการกดดันเวียดนามให้เลิกกีดกันการนำเข้ารถยนต์ และหามาตรการรับมือสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วน
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือกับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ว่าประเทศไทยพร้อมยกระดับความเข้มข้นมาตรการกดดันเวียดนามให้ยกเลิกการกีดกันการนำเข้ารถยนต์ และเตรียมมาตรการรับมือหากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไฟเขียวขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วน โดยการหารือครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาทางเลือกต่างๆ ที่จะกดดันเวียดนามให้มากขึ้นและเข้มข้นขึ้นกว่าที่ผ่านมา เช่น การจัดทำความตกลงยอมรับร่วม (MRA) มาตรฐานยานยนต์ไทย-เวียดนาม เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการขอเอกสารรับรองจากหน่วยงานรัฐ และแก้ปัญหาการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่หน่วยงานทั้งสองฝ่ายตรวจซ้ำในเรื่องเดียวกันตลอดจนการยกปัญหาอุปสรรคนี้ในทุกเวทีการค้าระหว่างประเทศ ทั้ง JTC อาเซียน และ WTO เพื่อกดดันเวียดนามอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น เพื่อกรมฯ นำเสนอระดับนโยบายและดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่ประเทศเวียดนามได้มีการออกระเบียบควบคุมการนำเข้ารถยนต์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 กำหนดให้รถยนต์ที่นำเข้าทุกรุ่น ทุกแบบ และทุกครั้งที่ส่งเข้าเวียดนามจะต้องตรวจสอบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยกับห้องทดสอบของรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในประเทศ ทำให้ไม่สามารถรองรับการทดสอบรถยนต์ทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้การส่งรถยนต์ไปเวียดนามต้องใช้เวลานานกว่าเมื่อครั้งที่ยังไม่ได้มีกฎระเบียบฉบับนี้มาก ผู้ส่งออกรถยนต์จากไทยหลายรายจึงได้ชะลอการส่งออกไปเวียดนาม โดยในปี 2561 เพิ่งมีการส่งออกไปเพียงร้อยละ 10 ของเป้า 65,000 คัน ที่ตั้งไว้สำหรับปีนี้ อีกทั้ง มาตรการของเวียดนามยังถือเป็นการเลือกปฏิบัติ เพราะมีข้อกำหนดที่เข้มงวดกว่ารถยนต์ที่ผลิตในเวียดนาม ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับพันธกรณีของเวียดนามภายใต้ความตกลง WTO ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงได้จัดประชุมหารือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งภาครัฐของไทยก็ได้ยกเรื่องขึ้นหารือกับเวียดนามหลายครั้งและในหลายเวที ทั้งกรอบทวิภาคี อาเซียน และ WTO เพื่อขอให้เวียดนามยกเลิกหรือผ่อนปรนการบังคับใช้มาตรการดังกล่าว ซึ่งแม้จะมีแนวโน้มการแก้ปัญหาดีขึ้น ไทยก็ยังเห็นว่ามาตรการของเวียดนามเป็นการสร้างอุปสรรคต่อการค้า ทำให้เกิดภาระต้นทุนในการประกอบธุรกิจ จึงจะเพิ่มความเข้มข้นในการกดดันและหารือกับเวียดนามเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นางอรมน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับกรณีสหรัฐฯ ริเริ่มไต่สวนสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศ ตามมาตรา 232 กฎหมาย Trade Expansion Act ปี 1962 โดยให้เหตุผลว่าสินค้านำเข้าคุกคามให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศนั้น คาดว่ากระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ อาจใช้เวลาในการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ก่อนเสนอประธานาธิบดีสหรัฐฯ พิจารณาตัดสินใจเรื่องการขึ้นภาษียานยนต์และชิ้นส่วนนำเข้า ซึ่งการใช้มาตรการของสหรัฐฯ น่าจะเป็นไปในแนวทางเดียวกับการใช้มาตรการ 232 ในสินค้าเหล็กและอลูมิเนียมที่ภาครัฐของไทยอยู่ระหว่างหารือกับฝ่ายสหรัฐฯ เพื่อขอยกเว้นการขึ้นภาษีรายประเทศ ขณะที่ภาคเอกชนของไทยจะต้องหารือกับคู่ค้า หรือผู้นำเข้าสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ยื่นเรื่องต่อกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ขอยกเว้นภาษีนำเข้าเป็นรายสินค้า ดังนั้น ในการประชุมหารือกับภาคเอกชนครั้งนี้จึงเป็นการเตรียมการรับมือต่อการใช้มาตรการของสหรัฐฯ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์
พาณิชย์ ช่วยผู้ประกอบการยานยนต์และชิ้นส่วนไทยยกระดับความเข้มข้นการกดดันเวียดนามให้เลิกกีดกันการนำเข้ารถยนต์และหามาตรการรับมือสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วน
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือกับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ว่าประเทศไทยพร้อมยกระดับความเข้มข้นมาตรการกดดันเวียดนามให้ยกเลิกการกีดกันการนำเข้ารถยนต์ และเตรียมมาตรการรับมือหากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไฟเขียวขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วน โดยการหารือครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาทางเลือกต่างๆ ที่จะกดดันเวียดนามให้มากขึ้นและเข้มข้นขึ้นกว่าที่ผ่านมา เช่น การจัดทำความตกลงยอมรับร่วม (MRA) มาตรฐานยานยนต์ไทย-เวียดนาม เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการขอเอกสารรับรองจากหน่วยงานรัฐ และแก้ปัญหาการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่หน่วยงานทั้งสองฝ่ายตรวจซ้ำในเรื่องเดียวกัน ตลอดจนการยกปัญหาอุปสรรคนี้ในทุกเวทีการค้าระหว่างประเทศ ทั้ง JTC อาเซียน และ WTO เพื่อกดดันเวียดนามอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น เพื่อกรมฯ นำเสนอระดับนโยบายและดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่ประเทศเวียดนามได้มีการออกระเบียบควบคุมการนำเข้ารถยนต์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 กำหนดให้รถยนต์ที่นำเข้าทุกรุ่น ทุกแบบ และทุกครั้งที่ส่งเข้าเวียดนามจะต้องตรวจสอบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยกับห้องทดสอบของรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในประเทศ ทำให้ไม่สามารถรองรับการทดสอบรถยนต์ทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้การส่งรถยนต์ไปเวียดนามต้องใช้เวลานานกว่าเมื่อครั้งที่ยังไม่ได้มีกฎระเบียบฉบับนี้มาก ผู้ส่งออกรถยนต์จากไทยหลายรายจึงได้ชะลอการส่งออกไปเวียดนาม โดยในปี 2561 เพิ่งมีการส่งออกไปเพียงร้อยละ 10 ของเป้า 65,000 คัน ที่ตั้งไว้สำหรับปีนี้ อีกทั้ง มาตรการของเวียดนามยังถือเป็นการเลือกปฏิบัติ เพราะมีข้อกำหนดที่เข้มงวดกว่ารถยนต์ที่ผลิตในเวียดนาม ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับพันธกรณีของเวียดนามภายใต้ความตกลง WTO ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงได้จัดประชุมหารือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งภาครัฐของไทยก็ได้ยกเรื่องขึ้นหารือกับเวียดนามหลายครั้งและในหลายเวที ทั้งกรอบทวิภาคี อาเซียน และ WTO เพื่อขอให้เวียดนามยกเลิกหรือผ่อนปรนการบังคับใช้มาตรการดังกล่าว ซึ่งแม้จะมีแนวโน้มการแก้ปัญหาดีขึ้น ไทยก็ยังเห็นว่ามาตรการของเวียดนามเป็นการสร้างอุปสรรคต่อการค้า ทำให้เกิดภาระต้นทุนในการประกอบธุรกิจ จึงจะเพิ่มความเข้มข้นในการกดดันและหารือกับเวียดนามเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นางอรมน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับกรณีสหรัฐฯ ริเริ่มไต่สวนสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศ ตามมาตรา 232 กฎหมาย Trade Expansion Act ปี 1962 โดยให้เหตุผลว่าสินค้านำเข้าคุกคามให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศนั้น คาดว่ากระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ อาจใช้เวลาในการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ก่อนเสนอประธานาธิบดีสหรัฐฯ พิจารณาตัดสินใจเรื่องการขึ้นภาษียานยนต์และชิ้นส่วนนำเข้า ซึ่งการใช้มาตรการของสหรัฐฯ น่าจะเป็นไปในแนวทางเดียวกับการใช้มาตรการ 232 ในสินค้าเหล็กและอลูมิเนียมที่ภาครัฐของไทยอยู่ระหว่างหารือกับฝ่ายสหรัฐฯ เพื่อขอยกเว้นการขึ้นภาษีรายประเทศ ขณะที่ภาคเอกชนของไทยจะต้องหารือกับคู่ค้า หรือผู้นำเข้าสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ยื่นเรื่องต่อกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ขอยกเว้นภาษีนำเข้าเป็นรายสินค้า ดังนั้น ในการประชุมหารือกับภาคเอกชนครั้งนี้จึงเป็นการเตรียมการรับมือต่อการใช้มาตรการของสหรัฐฯ