WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCจนทรา ยมเรวตพาณิชย์ ยกทัพ SMEs แบรนด์ไทยบุกแดนกังหันลมคาดกวาดออร์เดอร์ราว 20 ลบ.ภายใน 1 ปี

     นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้นำผู้ประกอบการ SMEs.สินค้าของประดับตกแต่งบ้าน สินค้าเครื่องสำอาง และผู้ประกอบการสินค้าอาหารและเครื่องดื่มจำนวน 8 บริษัท เข้าร่วมงานแสดงสินค้า PLMA’s World of Private Label ปี 2018 ณ ศูนย์แสดงสินค้า RAI Convention Center กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 29-30 พ.ค.61 เพื่อเจาะตลาดผู้ซื้อกลุ่ม Mainstream จำนวน 500 ล้านคนในภูมิภาคยุโรป ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ในตลาดยุโรป

        งานแสดงสินค้า PLMA เป็นงานแสดงสินค้า B2B สำหรับผู้ประกอบการที่มีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง และผู้ซื้อที่ต้องการหาผู้ผลิตสินค้าในตราสินค้าของผู้ซื้อ (Private Label) มี Exhibitor เข้าร่วมงานจำนวนกว่า 2,400 บริษัท จาก 70 ประเทศทั่วโลก และมีผู้ซื้อเดินทางมาจาก 115 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงกลุ่ม Retailer รายใหญ่ในยุโรป และภูมิภาคอื่นด้วย อาทิเช่น Aldi, Lidl, Edeka, Rewe, Coop, Migros, Sainsbury, Asda, Auchan, Carrefour, Casino, Ahold Delhaize, Spar, Costco, Walmart, Amazon.com เป็นต้น จึงเป็นงานแสดงสินค้าทางด้าน Private Label ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นช่องทางสำคัญในการขยายตลาดสินค้าไทยในตลาดยุโรป รวมถึงจะช่วยยกระดับภาคเอกชนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยสามารถเข้าถึงตลาดยุโรปได้

     ตลาดสินค้า Private Label ในยุโรปมีสัดส่วนการตลาดโดยเฉลี่ย 31.5% จากยอดขายทั้งหมดของ ธุรกิจ Retail โดยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร Private Label มีส่วนแบ่งการตลาดสูงกว่าร้อยละ 40 และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งภูมิภาคยุโรป ในปัจจุบันสินค้า Private.Label ได้มีการพัฒนารูปแบบออกไปมากกว่าที่จะเป็นสินค้าราคาถูกของซูเปอร์มาร์เก็ตที่ลอกเลียนแบบ สินค้าของแบรนด์ชั้นนำไปสู่สินค้าที่มีความแตกต่างจากแบรนด์ชั้นนำ มีคุณภาพสูง และมีนวัตกรรม จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคในกลุ่ม Millennial.Generation.ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะมี กำลังซื้อมากที่สุดในยุโรปภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จากรายงานการศึกษาของบริษัท Nielsen

     การเข้าร่วมงาน PLMA ในครั้งนี้ ได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการไทยที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีโอกาสได้พบและเจรจาการค้ากับผู้ซื้อ Retailer รายใหญ่ที่ต้องการสั่งสินค้าในปริมาณมาก โดยเป็นผลมาจากกระแสความนิยมในอาหารไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในยุโรป การพัฒนานวัตกรรมของ ผู้ผลิตสินค้าไทยที่ช่วยตอบโจทย์ทางด้านความต้องการและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ ประกอบกับความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานของผู้ผลิตไทย โดยจากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่า จะมีการสั่งซื้อภายใน 1 ปี ประมาณ 20 ล้านบาท ทั้งนี้ สินค้าที่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อประกอบด้วย น้ำมะพร้าวและผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากมะพร้าว น้ำจิ้มและซอสปรุงรส เครื่องแกงไทย อาหารไทยพร้อมรับประทาน ผลไม้สดและผลไม้แปรรูป สับปะรดกระป๋องและแปรรูป เครื่องหอมภายในบ้าน และผลิตภัณฑ์ล้างหน้า และกำจัดสิว

       จากสถิติการค้าไทยส่งออกไปตลาดโลก โดยมีเนเธอร์แลนด์ สูงเป็นอันดับที่ 14 และเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ในยุโรป รองจากเยอรมนี สำหรับมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เนเธอร์แลนด์ ปี 60 มีมูลค่ารวม 195,314 ล้านบาท เป็นมูลค่าส่งออกไปยังเนเธอร์แลนด์ 161,557 ล้านบาท และนำเข้า 33,757 ล้านบาท โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 127,800 ล้านบาท และตัวเลข 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ของปี 61 ไทยส่งออกไปยังเนเธอร์แลนด์ มีมูลค่า 60,133 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องจักรกล แผงวงจรไฟฟ้า เลนส์ ผลิตภัณฑ์ยาง ไก่แปรรูป และเนื้อสัตว์ เป็นต้น

          อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!