WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC พมพชนก วอนขอพรพาณิชย์ เผย CPI เดือน พ.ค. 61 ขยายตัว 1.49%, CORE CPI โต 0.80%

    กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือนพ.ค. อยู่ที่ 102.14 ขยายตัว 1.49% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และและขยายตัว 0.56% เมื่อเทียบเดือนเม.ย. 61 (MoM)

     "ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนพ.ค.61 เพิ่มขึ้น +1.49% (YoY) เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน และเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 16 เดือน จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันเชื้อเพลิงในอัตราที่สูงในรอบ 13 เดือน"

      ส่วน Core CPI อยู่ที่ 101.95 ขยายตัว 0.80% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว 0.17% จากเดือน เม.ย..61

      ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์อยู่ที่ 102.17 สูงขึ้น 0.74% (YoY) และ สูงขึ้น 0.45% (MoM) ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 102.14 สูงขึ้น 1.93% (YoY) และ สูงขึ้น 0.62% (MoM)

     ส่วนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 61 (ม.ค.-พ.ค.) CPI ขยายตัวเฉลี่ย 0.89% ส่วน Core CPI ขยายตัว 0.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

      น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า สาเหตุการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคมาจากราคาพลังงานเป็นสำคัญ แต่คาดว่าในเดือนต่อไปน่าจะลดลงจากเดือนนี้ เพราะราคาพลังงานเริ่มลดลงแล้ว

      สำหรับ ในปี 61 กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปีขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.7-1.7% ภายใต้สมมุติฐานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) 3.6-4.6% อัตราแลกเปลี่ยน 32-34 บาท/ดอลลาร์ ส่วนราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบเฉลี่ย 55-65 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่จะปรับคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบใหม่หลังผ่านพ้นไตรมาส 2 ไปแล้ว คาดว่า ระดับราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบเฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ 65-75 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนเงินเฟ้อไตรมาส 2 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5%

     อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของไทยที่เพิ่มขึ้นนั้นยังน้อยกว่าหลายประเทศ โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.61) อัตราเงินเฟ้อไทยเพิ่มขึ้น 1.07% แต่อินเดียเพิ่มขึ้น 4.2% ฟิลิปปินส์เพิ่ม 4.0% ขณะที่สิงคโปร์อยู่ที่ 0.2% เกาหลีใต้เพิ่ม 1.3% ไต้หวันเพิ่ม 1.6% เป็นต้น

     ผู้อำนวยการ สนค. กล่าวว่า ในช่วงต่อไปต้องติดตามการใช้จ่ายของภาครัฐที่คาดว่าตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้จะมีการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อเร่งการลงทุนไปยังภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ประชาชนและส่งผลให้กำลังซื้อเพิ่มขึ้น, ความไม่นอนของนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก, การแข็งค่าของเงินบาท, ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแม้มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังมีความผันผวน

            อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!