- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Wednesday, 23 May 2018 11:39
- Hits: 1036
พาณิชย์ เผยส่งออกเดือน เม.ย. ขยายตัว 12.34% นำเข้าขยายตัว 20.36% ขาดดุลการค้า 1,283 ล้านเหรียญฯ
กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือน เม.ย.61 โดยการส่งออก มีมูลค่า 18,945.60 ล้านเหรียญฯ ขยายตัว 12.34% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 20,229.0 ล้านเหรียญฯ ขยายตัว 20.36% ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 1,283 ล้านเหรียญฯ
ส่งผลให้ในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 81,775.1 ล้านเหรียญฯ ขยายตัว 11.53% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 81,101.8 ล้านเหรียญฯ ขยายตัว 17.18% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 673.3 ล้านเหรียญฯ
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนเม.ย.61 ที่ขยายตัวได้ 12.34% ถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 โดยการส่งออกในตลาดสำคัญขยายตัวเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดอินเดีย, ตลาด CLMV, สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น และตลาดจีนที่กลับมาขยายตัวได้ในระดับสูง
ทั้งนี้ การส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 โดยสินค้าที่ขยายตัวสูง เช่น รถยนต์และส่วนประกอบ, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เม็ดพลาสติก และน้ำมันสำเร็จรูป ส่วนการส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร กลับมาขยายตัวได้ 9.8% โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น ผัก ผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป, ข้าว, ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง, ไก่สดแช่แข็ง เป็นต้น
ผู้อำนวยการ สนค. กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกทั้งปี 61 คาดว่าจะมีโอกาสจะเติบโตได้เกินกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ 8% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในตลาดศักยภาพ สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวต่อเนื่อง และราคาน้ำมันที่เริ่มปรับสูงขึ้นส่งผลดีต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งนี้คาดว่าจะมีการทบทวนเป้าหมายการส่งออกในปีนี้ใหม่อีกครั้งในช่วงกลางปี
"เป้าที่ 8% ณ ตอนนี้ก็เกินแล้ว แต่จะปรับขึ้นเป็นเท่าใดอยู่ในการพิจารณาของผู้ใหญ่ในระดับนโยบาย แต่คาดว่าช่วงครึ่งปีหลัง การส่งออกอาจจะแผ่วลงบ้างซึ่งก็เป็นภาวะปกติ โดยรวมทั้งปีนี้มองว่าเกิน 8% เราขอทบทวนตัวเลขเมื่อผ่านไตรมาส 2 ไปก่อน" น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว
พร้อมระบุว่า สำหรับทิศทางราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มอยู่เหนือระดับ 70 ดอลลาร์/บาร์เรล จากการขยายข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC รวมทั้งอุปทานน้ำมันที่ลดลงจากปัญหาในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอย่างเวเนซุเอลา และความกังวลต่อการคว่ำบาตรรอบใหม่จากสหรัฐฯ จะส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญโดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ยางพารามีแนวโน้มดีขึ้นแม้ราคายังติดลบ
นอกจากนี้ ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าจะช่วยสนับสนุนการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี และส่งผลดีต่อรายได้จากการส่งออกในรูปเงินบาทอีกทางหนึ่ง แต่ทั้งนี้ผู้ส่งออกควรทำประกันความเสี่ยง เพื่อลดความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงติดตามสถานการณ์การค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมรับมือ พร้อมทั้งหาโอกาสส่งออกสินค้าที่สามารถแข่งขันได้ภายใต้สถานการณ์ทางการค้าที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
"ตอนนี้การส่งออกในรูปของเงินบาทก็กลับมาเป็นบวกแล้ว แสดงให้เห็นว่าลดแรงกดดันเรื่องบาทแข็งลงได้ แต่เงินบาทก็ยังมีแนวโน้มผันผวนต่อไปอีก เพราะยังมีเงินไหลไปทางฝั่งสหรัฐ จากการที่ดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐเพิ่มขึ้น ซึ่งในเรื่องค่าเงินก็ยังคงต้องติดตามกันต่อไป ผู้ส่งออกก็ควรใช้เครื่องมือที่มีอยู่เพื่อบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยน และอย่าประมาท" น.ส.พิมพ์ชนก กล่าว
อินโฟเควสท์
พาณิชย์ เผยส่งออก เม.ย. 61 โต 12.34% เตรียมอัพเป้าทั้งปีใหม่ จากเดิมคาดโต 8%
พาณิชย์ เผยส่งออก เม.ย. 61 โต 12.34% - นำเข้าโต 20.36% ทำขาดดุลการค้า 1,283 ล้านดอลล์ คาดทั้งปีเกินเป้า 8% หลังศก.โลก - ราคาน้ำมันพุ่ง เล็งอัพเป้าใหม่ช่วงกลางปีนี้
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือนเม.ย.2561 มีมูลค่า 18,945 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.34% ส่วนนำเข้ามีมูลค่า 20,229 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.36% ส่งผลให้ขาดดุลเดือนเม.ย.2561 มูลค่า 1,283 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับช่วง 4 เดือนปี 2561 ส่งออกมีมูลค่า 81,775 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.53% โตสูงสุดรอบ 7 ปี ส่วนนำเข้า 81,104 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่ม 17.18% ส่งผลให้ดุลการค้า 4 เดือน 673.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งรถยนต์และส่วนประกอบ, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เม็ดพลาสติก และน้ำมันสำเร็จรูป ขณะที่สินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร กลับมาขยายตัวได้ 9.8%
สำหรับ แนวโน้มการส่งออกทั้งปี 2561 คาดว่าจะมีโอกาสจะเติบโตได้เกินกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ 8% จากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งตามเศรษฐกิจโลกที่เติบโต ราคาน้ำมันที่เริ่มปรับสูงขึ้น โดยกระทรวงฯ จะทบทวนเป้าหมายการส่งออกในปีนี้ใหม่อีกครั้งในช่วงกลางปี
"ตอนนี้เกินเป้า 8% แล้ว แต่ครึ่งปีหลังอาจแผ่วลงบ้าง ยังไงทั้งปีนี้น่าจะเกิน 8% ขอดูไตรมาส 2 อีกครั้ง ก่อนทบทวนประมาณการใหม่"น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ส่งออกเม.ย.โตทะลุ 12% พาณิชย์ปลื้มจีนแห่ซื้อทุเรียนทะลักกว่า 110 ล้านเหรียญ
ไทยโพสต์ : สนามบินน้ำ * พาณิชย์ยิ้มส่งออกเดือน เม.ย.มีมูลค่า 18,945.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 12.34% โตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 แจงปัจจัยหลักมาจากสินค้าเกษตรส่งออกได้มากขึ้น ทั้งข้าว มัน ไก่ ผักและผลไม้ เผยจีนสั่งซื้อทุเรียนมูลค่า 110.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 774.9% มั่นใจทั้งปีโตเกินเป้า 8% แน่ แต่ขอประเมินราคาน้ำมันไตรมาส 2 ใหม่อีกรอบ
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทย เดือน เม.ย.2561 มีมูลค่า 18,945.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.34% เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือน ที่ 14 ติดต่อกัน และการนำเข้ามีมูลค่า 20,229.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.36% โดยขาดดุลการค้าเป็นมูลค่า 1,283.4 ล้าน เหรียญสหรัฐ ส่วนกรส่งออก 4 เดือนของปี 2561 (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่า 81,775.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.53% สูงสุดในรอบ 7 ปี นำเข้ามูลค่า 81,101.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.18% ได้ดุลการค้ามูลค่า 673.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ ปัจจัยหลักมาจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ที่กลับมาเพิ่มขึ้น 9.8% จากเดือน มี.ค. ที่ติดลบ 3.3% โดยสินค้าที่ส่งออกเพิ่ม เช่น ผัก ผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปเพิ่ม 50.7% ข้าวเพิ่ม 19.1% มันสำปะหลังเพิ่ม 25.8% ไก่สดแช่แข็งและ แปรรูปเพิ่ม 12.4% สวนยางพา รา และน้ำตาลทรายลดลง 12.3% และ 25.8%
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่ม 12.2% โตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 สินค้าสำคัญที่ส่ง ออกได้เพิ่ม เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเพิ่ม 17.8% เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบเพิ่ม 23.9% เม็ดพลาสติกเพิ่ม 29% น้ำมันสำ เร็จรูปเพิ่ม 39% แต่ตู้เย็นและส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ลดลง 9.4%, 5.0% และ 3.0% ตามลำดับ
"การส่งออกผลไม้เฉพาะทุเรียนในเดือน เม.ย.2561 พบว่า มีมูลค่า 220.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 207.2% โดยจีนเป็นที่ 1 มีมูลค่า 110.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 774.9% รองลงมา เวียดนาม, ฮ่องกง ไต้หวัน และมาเลเซีย และยอดรวม 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่า 287 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 189.1% ซึ่งเรียกได้ว่าทุเรียนมาช่วยเพิ่มยอดการส่งออกผลไม้เลยก็ว่าได้" น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว
น.ส.พิมพ์ชนก กล่าวว่า สำ หรับแนวโน้มการส่งออกยังคงคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และจะต้องมีการทบ ทวนเป้าหมายตัวเลขน้ำมันใหม่ หลังจากไตรมาส 2 ไปแล้ว รวมถึงเป้าหมายการส่งออกทั้งปี ที่กำ หนดไว้ที่ 8% โดยขณะนี้ สนค.ยังคงยืนยันที่ 8% ไว้ก่อน ส่วนจะปรับ ขึ้นหรือไม่ ปรับเท่าใด อยู่ที่ระดับนโยบายจะเป็นผู้กำหนด.