WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCวรรณภรณ เกตทตพาณิชย์ จับมือสถาบัน NEA ติวเข้มผู้ส่งออกเจาะ 5 ตลาดศักยภาพใน H2/61 เพื่อผลักดันยอดส่งออกปีนี้โตตามเป้า

        นางวรรณภรณ์ เกตุทัต รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากภาคการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจากภาคการส่งออก โดยในปี 2560 ไทยส่งออกสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ด้วยมูลค่า 236,694 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 8,008,000 ล้านบาท ขยายตัวสูงถึง 9.9% สูงที่สุดในรอบ 6 ปี โดยขยายตัวได้ดีในเกือบทุกกลุ่มสินค้า ซึ่ง 5 อันดับสินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 914,388.8 ล้านบาท, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 625,121.8 ล้านบาท, อัญมณีและเครื่องประดับ 435,399 ล้านบาท, ผลิตภัณฑ์ยาง 346,885.1 ล้านบาท และเม็ดพลาสติก 292,811 .6 ล้านบาท

        โดยปีนี้ตั้งเป้าผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวที่ระดับ 8% ซึ่งช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา (พ.ย.60-มี.ค.61) การส่งออกมีการขยายตัวแล้วสูงถึง 11% หรือคิดเป็นมูลค่า 124,088 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงที่สุดในรอบ 7 ปี หรือประมาณ 4.6 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ กรมฯ จะให้ความสำคัญกับการรักษาแนวโน้มของการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดีนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง โดยมีมาตรการที่สำคัญในการรักษาและขยายการส่งออกสินค้าและบริการ รวมถึงการลงทุน/ประกอบธุรกิจในแต่ละกลุ่มตลาดเป้าหมาย

        ด้านนายพรวิช ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กล่าวว่า ตลาดศักยภาพสำหรับผู้ส่งออกไทยในปีนี้และช่วงครึ่งปีหลังยังคงอยู่ใน 5 กลุ่ม คือ อาเซียนที่ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการส่งออกของไทย เนื่องจากสินค้าไทยยังคงเป็นที่นิยมและเป็นที่น่าเชื่อถือทั้งในด้านคุณภาพ ราคา และมีภาพลักษณ์ที่ดี, จีนคาดว่าการส่งออกของไทยไปจีนในปีนี้ จะโตต่อเนื่องจากกำลังซื้อและความต้องการของจีนที่มีแนวโน้มขยายตัวดี, สหรัฐฯ ได้อานิสงส์จากการลดภาษีทั้งในภาคธุรกิจและครัวเรือน รวมถึงแรงสนับสนุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของทรัมป์ในระยะต่อไป ส่งผลให้การเติบโตของสหรัฐฯ ขยายตัวได้ดีในปีนี้, ญี่ปุ่น เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทำให้การส่งออกไปญี่ปุ่นมีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่องในปีนี้ ประกอบกับประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2563 ซึ่งจะส่งผลให้การใช้จ่ายของภาครัฐ และการลงทุนของภาคเอกชน และสหภาพยุโรป เศรษฐกิจเติบโตได้ดีสูงสุดในรอบ 10 ปี จากความกังวลทางการเมืองที่ลดลง มีแนวโน้มฟื้นตัวทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ส่งผลต่อความต้องการสินค้าจากไทย รวมทั้งแผนงานการลงทุนของบริษัท Airbus ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้มีส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนทางตรงจากยูโรปโซนสู่ไทย

      ทั้งนี้ สถาบันฯ ได้เตรียมความพร้อมพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อการส่งออกด้วยหลักสูตร Smart Exporter 4.0 Plus ที่มีเนื้อหาครอบคลุมองค์ความรู้และทักษะการบริหารจัดการด้านการส่งออกที่สำคัญอย่างครบวงจร เพื่อนำไปสู่การปรับกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ การให้คำปรึกษาเชิงลึก และการศึกษาดูงานนอกสถานที่ นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเข้มข้นและเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในยุค Thailand 4.0 โดยประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนความคิดสู่การเป็นนักการตลาดระหว่างประเทศแบบมืออาชีพ การรื้อฟื้นและรับรู้ทักษะการเป็นนักการตลาดระหว่างประเทศแบบมืออาชีพ การเสริมพื้นฐานสู่ความเป็นมืออาชีพ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การให้คำปรึกษาจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผ่านระบบ Video Conference และ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการส่งออก

        นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังมุ่งที่จะผลักดันให้ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการส่งออกต่างๆเพิ่มเติม เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศที่จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เช่น Top Thai Brands, Thailand Week และ Mini Thailand Week เพื่อการต่อยอดสินค้า-บริการจากแบรนด์ไทยให้เป็นที่รู้จัก พร้อมแสดงให้เห็นถึงคุณภาพและมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

       อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!