WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCชตมา บณยประภศรพาณิชย์ เดินหน้านโยบายหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย-อินเดีย จัดสัมมนาเจาะลึกโอกาสการค้า-ลงทุน-ท่องเที่ยว

     น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย และรัฐอุตตรขัณฑ์ จัดงานสัมมนา India : Your Destiny, Your New Destination ตามนโยบายหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและอินเดีย และสานต่อภารกิจจากการนำคณะภาคเอกชนเดินทางไปสำรวจตลาด และสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจในหลายรัฐของอินเดีย เช่น รัฐคุชราต รัฐอุตตรประเทศ รัฐเตลังกาน่า รัฐอานธรประเทศ และรัฐทมิฬนาฑู เมื่อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2561

       รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า การสัมมนาดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการไทยได้รับความรู้และมุมมองใหม่ จากการดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจของอินเดีย ทั้งในระดับประเทศและระดับรัฐ อย่างรัฐอุตตรขัณฑ์ ซึ่งได้เปิดรับการลงทุนและอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจของนักลงทุนต่างชาติอย่างเต็มที่ รวมทั้งได้รับทราบถึงแนวคิด New India ที่ผลิกโฉมอินเดียสู่การเป็นประเทศแห่งโอกาสทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ตลอดจนเข้าใจการดำเนินนโยบายปฏิบัติการตะวันออก (Act East Policy) ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาความเชื่อมโยงและโลจิสติกส์ระหว่างอินเดียกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

       นอกจากนี้ ภายในงาน ยังได้จัดแสดงศักยภาพด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของรัฐอุตตรขัณฑ์ โดยมุขมนตรีรัฐอุตรขันธ์ได้แนะนำรัฐและนโยบายด้านการค้าการลงทุนของรัฐ รวมทั้งโอกาสและสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนจากผู้แทนของรัฐอุตตรขัณฑ์ ซึ่งผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นรัฐที่มีศักยภาพสูงด้านอุตสาหกรรมเกษตรและการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพ รวมทั้งเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญของสินค้าเกษตรจำพวกผลไม้และผักเมืองหนาว เช่น แพร์ พีช พลัม มะเขือเทศ และมันฝรั่ง

        "นอกจากนี้ ผู้ประกอบการด้านธุรกิจบริการท่องเที่ยวไทย ยังได้รับทราบถึงทำเลที่ตั้งของรัฐอุตตรขัณฑ์ ซึ่งอยู่บนแถบเทือกเขาหิมาลัย มีภูมิประเทศสวยงาม และมีภูมิอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี จึงเห็นช่องทางในการลงทุนดำเนินธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สปา และร้านอาหาร" รมช.พาณิชย์ระบุ

      ปัจจุบันอินเดียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย โดย 57% ของ GDP มาจากภาคบริการ ซึ่งขยายตัวเร็วและดึงดูดการลงทุนมากที่สุด เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ การเงินและการธนาคาร การวิจัยและพัฒนา โทรคมนาคม และการก่อสร้าง ในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับอินเดีย อินเดียเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ มีมูลค่าการค้าระหว่างกันในปี 2560 กว่า 10,385.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเติบโตถึง 34% โดยแบ่งเป็นการส่งออกสินค้าของไทยไปอินเดียมูลค่า 6,486.55 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้าสินค้าของไทยจากอินเดียมูลค่า 3,899.02 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญจากไทยไปอินเดีย คือ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล สินค้านำเข้าสำคัญจากอินเดียมาไทย คือ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และเวชภัณฑ์

        ด้านการลงทุนระหว่างไทยและอินเดีย ปัจจุบันมีมูลค่ารวมกว่า 13,010 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น การลงทุนของไทยในอินเดีย 8,144 ล้านเหรียญสหรัฐ และการลงทุนของอินเดียไทยกว่า 4,865.27 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนักลงทุนไทยได้เข้าไปลงทุนในหลากหลายสาขา เช่น สาขาอุตสาหกรรมเกษตรและเกษตรแปรรูป (บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) บมจ. ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป (TU) บริษัท ดัชมิลล์ จำกัด), สาขาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นพื้นฐาน (บริษัท เอสซีจี เทรดดิ้ง จำกัด (เครือซีเมนต์ไทย), สาขาอุตสาหกรรมเบา เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (บมจ. แพรนด้า จิวเวลรี่ (PRANDA)), เมลามีน (บมจ. ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ (SITHAI)), รถจักรยาน (บริษัท แอลเอ ไบซิเคิ้ล (ประเทศไทย) จำกัด และสาขาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักร (บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด และบมจ. อีสเทิร์น โพลีเมอร์ กรุ๊ป (EPG) ส่วนอินเดียมีการลงทุนในไทยที่สำคัญ Aditya Birla GP Polyplex และ Tata

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!