WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCสนธรตน สนธจรวงศพาณิชย์ ห่วงสหรัฐขึ้นภาษีเหล็ก เล็งถกเอกชนขอยกเว้นรายพิกัด

     ไทยโพสต์ : สนามบินน้ำ * ‘พาณิชย์’ เผย ทรัมป์เซ็นขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม คาดมีผลวันที่ 23 มี.ค. เตรียมถกเอกชน 19 มี.ค.นี้ เตรียมข้อมูลยื่นสหรัฐ ขอยกเว้นการขึ้นภาษีเป็นรายพิกัด

     เผยระยะสั้น สินค้าไทยยังคงแข่งขันได้ เหตุราคาเหล็กในสหรัฐเพิ่มขึ้นไปแล้ว 30% แม้ ไทยถูกเก็บภาษี ต้นทุนยังสู้ได้ แต่ระยะยาวกระทบแน่ หลังผู้ผลิตสหรัฐเร่งเพิ่มกำลังการผลิต และยังมีเหล็กเม็กซิโก แคนาดา ที่ได้รับการยกเว้นมาแข่งอีก พร้อม เรียกถกเอกชนเตรียมข้อมูลยื่นสหรัฐ ขอยกเว้นการขึ้นภาษีเป็นรายพิกัด

     นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2561 ที่ผ่านมา นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า สินค้าภายใต้มาตรา 232 (Na tional Security) กับสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมทุกรายการที่นำ เข้าจากทั่วโลก รวมถึงไทย ในอัตรา 25% และ 10% ตามลำดับ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.2561 เป็นต้นไป

     ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเมื่อวันที่ 9 มี.ค.2561 ได้เชิญสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยที่เกี่ยวข้องมาหา รือผลกระทบและแนวทางการ แก้ไขปัญหาจากการใช้มาตร การดังกล่าว โดยพบว่าผลิตภัณฑ์ เหล็กของไทยที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ท่อเหล็ก และเหล็กแผ่นรีดเย็น

     "ในระยะสั้น หรือในช่วง 1-3 เดือน ไทยจะยังไม่ได้รับผล กระทบมากนัก เพราะราคาเหล็ก ในสหรัฐปรับขึ้นประมาณ 30% ไปแล้ว ซึ่งแม้ว่าเหล็กของไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่ กำหนด แต่ยังคงสามารถแข่ง ขันด้านราคาในตลาดสหรัฐได้ ประกอบกับผู้ผลิตในสหรัฐยังอยู่ระหว่างการปรับตัว และไม่สามารถขายสินค้าในราคาต่ำในระยะเวลาอันรวดเร็ว ผู้นำเข้าสหรัฐจึงยังคงต้องนำเข้าสินค้าอยู่ แต่ในระยะยาวมีแน่"นายสนธิรัตน์กล่าว

      อย่างไรก็ตาม ภายในวันที่ 19 มี.ค.นี้ ซึ่งกระทรวงจะร่วมกับภาคเอกชนไทยจัดเตรียมข้อ มูล และหารือกับบริษัทคู่ค้าใน สหรัฐเพื่อยื่นขอยกเว้นมาตร การรายพิกัดสินค้าต่อไป.

พาณิชย์ ถกเอกชนห่วงท่อเหล็ก-เหล็กแผ่นรีดเย็นรับผลกระทบมาตรการภาษีสหรัฐฯ เล็งเจรจายกเว้นเป็นรายพิกัด

    นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผู้แทนสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือผลกระทบและการดำเนินการแก้ไขปัญหาจากการใช้มาตรการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าภายใต้มาตรา 232 (National Security) กับสินค้าเหล็กและสินค้าอลูมิเนียมของสหรัฐฯ ว่า ในระยะสั้น (1 – 3 เดือน) หลังจากมีการใช้มาตรการภายใต้มาตรา 232 การส่งออกสินค้าเหล็กของไทยคงยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากราคาสินค้าเหล็กในสหรัฐฯ ได้ปรับตัวขึ้นประมาณ 30% แล้ว ซึ่งถึงแม้ว่าสินค้าเหล็กของไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่กำหนด แต่ก็ยังสามารถแข่งขันด้านราคาได้ ประกอบกับ ผู้ผลิตในสหรัฐฯ ยังอยู่ระหว่างการปรับตัวและไม่สามารถขายสินค้าในราคาต่ำในระยะเวลาอันรวดเร็ว ผู้นำเข้าสหรัฐฯ จึงยังคงมีความต้องการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอยู่

     อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวคาดว่าอุตสาหกรรมเหล็กไทยจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ผลิตของสหรัฐฯ จะสามารถปรับตัวและเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้นจนสินค้ามีราคาที่แข่งขันได้ รวมทั้งผู้ผลิตเหล็กในแคนาดาและเม็กซิโกที่ได้รับการยกเว้นจากการใช้มาตรการ 232 จะได้เปรียบผู้ส่งออกประเทศอื่น ๆ รวมทั้งไทย และยังคงรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันของตนในตลาดสหรัฐฯ สำหรับผลิตภัณฑ์หลักของไทยที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่ สินค้าท่อเหล็ก และสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็น

     รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ไทยจะดำเนินการเจรจากับกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อขอยกเว้นการใช้มาตรการ 232 เป็นรายพิกัดสินค้า โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะประกาศรายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการดำเนินการขอยกเว้นเป็นรายพิกัด ภายในวันที่ 19 มีนาคม 2561 นี้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับภาคเอกชนไทยจะได้ร่วมกันจัดเตรียมข้อมูล และหารือกับบริษัทที่เป็นคู่ค้าในสหรัฐฯ เพื่อยื่นขอยกเว้นมาตรการรายพิกัดสินค้าต่อกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ต่อไป

      นอกจากนี้ ไทยยังสามารถใช้เวทีเจรจาในการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreement : TIFA) ไทย-สหรัฐฯ ซึ่งมีกำหนดจัดในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ เป็นเวทีหารือกับสหรัฐฯ เพื่อยกเว้นการใช้มาตรการ 232 กับไทย ซึ่งสหรัฐฯ เปิดช่องสำหรับประเทศที่มี Security Relationship ในการหารือเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว

     ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จะได้ติดตามการใช้มาตรการ 232 อย่างใกล้ชิดและร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อดำเนินการปกป้องผลประโยชน์ของไทยต่อไป

          อินโฟเควสท์

รมว.พาณิชย์ สั่งเกาะติดความตกลง CPTPP คาดมีผลบังคับใช้ 61 แม้สหรัฐฯ ถอนตัวไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิก

     นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 ประเทศสมาชิก "ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก" (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans- Pacific Partnership – CPTPP) หรือ TPP เดิม 11 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู เม็กซิโก ญี่ปุ่น บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ได้ร่วมกันลงนามความตกลง CPTPP ณ ประเทศชิลี ภายหลังจากที่สมาชิกทั้ง 11 ประเทศได้หารือร่วมกันเรื่อยมานับจากที่สหรัฐฯ ได้ถอนตัว เมื่อปี 2560 ซึ่งหลังจากนี้ สมาชิก CPTPP จะเริ่มดำเนินกระบวนการภายในประเทศตามเงื่อนไขของความตกลงฯ ที่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ 60 วัน ภายหลังจากที่สมาชิกอย่างน้อย 6 ประเทศ หรือเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนสมาชิก ยื่นสัตยาบันให้การรับรอง CPTPP โดยคาดว่าสมาชิกน่าจะเร่งผลักดันให้ CPTPP มีผลบังคับใช้ได้ภายในปี 2561

      ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 ระหว่างการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ณ เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม สมาชิกทั้ง 11 ประเทศได้เห็นชอบหลักการสำคัญของความตกลงฯ และให้เปลี่ยนชื่อจาก "ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)" เป็น "ความตกลง ที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)" และได้ประกาศสรุปผลการจัดทำความตกลง CPTPP อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561

      สำหรับ สาระสำคัญความตกลง CPTPP ได้นำเอาข้อบทของความตกลง TPP เดิมมาใช้บังคับ โดยชะลอการมีผลบังคับใช้ในบางประเด็นที่สำคัญ อาทิ การขยายระยะเวลาคุ้มครองสิทธิบัตรอันเกิดจากความล่าช้าอย่างไม่สมเหตุสมผลของหน่วยงานขึ้นทะเบียน การคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา การขยายระยะเวลาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ (จาก 50 ปี เป็น 70 ปี) และการให้นักลงทุนฟ้องรัฐภายใต้สัญญาการลงทุนที่ทำระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่สหรัฐฯ ผลักดันให้มีการบัญญัติไว้ในความตกลง TPP เดิม

     ที่ผ่านมามีประเทศต่างๆ แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP เพิ่มเติม โดย CPTPP มิได้กำหนดเงื่อนไขในการรับสมาชิกใหม่ว่าจะต้องมีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเหมือนที่ TPP เคยกำหนดเอาไว้ นอกจากนี้ แม้สหรัฐฯ จะถอนตัวไปเมื่อปี 2560 แต่ก็อาจพิจารณากลับเข้าร่วม CPTPP ได้อีก หากสหรัฐฯ สามารถบรรลุข้อตกลงที่เป็นประโยชน์กับสหรัฐฯ มากกว่าที่เคยตกลงใน TPP เดิม

     "ความตกลง CPTPP ถือเป็นความตกลงการค้าเสรีที่มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ การลงทุน รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้า อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การแข่งขันทางการค้า และรัฐวิสาหกิจ (State-owned-enterprise: SOE) เป็นต้น ซึ่งถือเป็นความตกลงการค้าเสรียุคใหม่ที่มีมาตรฐานสูง กระทรวงพาณิชย์ได้มอบให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศศึกษาติดตามการบังคับใช้ความตกลง CPTPP อย่างใกล้ชิด และหารือรับฟังความเห็นภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก่อนเสนอความเห็นเพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสมของไทยในเรื่องความตกลง CPTPP ต่อไป"นายสนธิรัตน์ กล่าว

     ทั้งนี้ ขนาดเศรษฐกิจรวมของ CPTPP 11 ประเทศ ในปี 2560 มี GDP รวมมูลค่า 10.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 13.5 ของ GDP โลก) มีประชากรรวม 495 ล้านคน (ร้อยละ 6.8 ของประชากรโลก) โดยในปี 2560 การค้าระหว่างไทยกับสมาชิก CPTPP 11 ประเทศ มีมูลค่า 134.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 29.3 ของการค้ารวมของไทย) โดยไทยส่งออกไป CPTPP 11 ประเทศ เป็นมูลค่า 70.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 29.7 ของการส่งออกไทยไปโลก) และไทยนำเข้าจาก CPTPP 11 ประเทศ เป็นมูลค่า 64.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 28.9 ของการนำเข้าไทยจากโลก) โดยไทยได้เปรียบดุลการค้ากับ CPTPP 11 ประเทศ เป็นมูลค่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

   อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!