- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Saturday, 03 March 2018 17:25
- Hits: 1457
ก.พาณิชย์หารือญี่ปุ่นกระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย หารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และหาแนวทางการเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกัน พร้อมเชิญชวนให้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นได้แสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือแนวคิด “Connected Industries” ของญี่ปุ่น ที่มุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่การผลิต ผ่านการนําเอาเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Internet of Things (IoT) Artificial Intelligence (AI) และ Big Data มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นรูปแบบการทํางานอย่างชาญฉลาด เพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และไทยจะเป็นส่วนสำคัญต่อห่วงโซ่การผลิตที่เชื่อมโยงสู่อนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง ขยายไปสู่อาเซียน และห่วงโซ่การผลิตของโลกต่อไป
โครงการของญี่ปุ่นจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ SMEs ไทย โดยไทยจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ญี่ปุ่นจะทดลองดำเนินโครงการดังกล่าว เนื่องจากมีศักยภาพด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เหมาะสม และเป็นฐานการผลิตสำคัญของญี่ปุ่น ซึ่งอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ญี่ปุ่นสนใจ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยญี่ปุ่นเปิดกว้างและมองว่าอุตสาหกรรมการเกษตรน่าจะเป็นอีกสาขาหนึ่งที่มีศักยภาพ
ด้านนางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยและญี่ปุ่นอยู่ระหว่างพิจารณาความเป็นไปได้ในการทบทวนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งมีผลบังคับใช้มาแล้วกว่า 10 ปี เพื่อยกระดับความตกลงฯ ให้สอดคล้องกับรูปแบบการค้าใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งไทยคาดหวังว่าการทบทวนดังกล่าวจะทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้เชิญชวนให้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) ซึ่งเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 สมาชิก CPTPP สามารถสรุปผลความตกลงฯ กันได้ โดยภายหลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากความตกลง TPP และสมาชิกที่เหลือ 11 ประเทศ ได้พยายามผลักดันให้ความตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้โดยเร็ว ซึ่งญี่ปุ่นเห็นว่าไทยมีความพร้อมและยินดีสนับสนุนข้อมูล เพื่อประกอบการศึกษาและตัดสินใจเข้าร่วม CPTPP ของฝ่ายไทยต่อไป
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 และเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 2 ของไทย ในขณะที่ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับ 16 และแหล่งนำเข้าลำดับที่ 8 ของญี่ปุ่น ในปี 2560 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 54,346.90 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นมีมูลค่า 22,309.56 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากญี่ปุ่นมีมูลค่า 32,037.33 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และแผงวงจรไฟฟ้า
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
รมว.พาณิชย์ เผยไทย-ญี่ปุ่นหารือแนวคิด Connected Industries เพิ่มขีดความสามารถ SME ไทย ชูอุตฯยานยนต์-เกษตร
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เผยผลหารือกับ H.E. Mr. Shiro SADOSHIMA เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ว่า ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงแนวคิด Connected Industries ของญี่ปุ่นที่มุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่การผลิต ผ่านการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Internet of Things (IoT) Artificial Intelligence (AI) และ Big Data มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นรูปแบบการทำงานอย่างชาญฉลาด เพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และไทยจะเป็นส่วนสำคัญต่อห่วงโซ่การผลิตที่เชื่อมโยงสู่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ขยายไปสู่อาเซียน และห่วงโซ่การผลิตของโลกต่อไป
รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า โครงการของญี่ปุ่นจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ SMEs ไทย โดยไทยจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ญี่ปุ่นจะทดลองดำเนินโครงการดังกล่าว เนื่องจากมีศักยภาพด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เหมาะสม และเป็นฐานการผลิตสำคัญของญี่ปุ่น ซึ่งอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ญี่ปุ่นสนใจ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยญี่ปุ่นเปิดกว้างและมองว่าอุตสาหกรรมการเกษตรน่าจะเป็นอีกสาขาหนึ่งที่มีศักยภาพ
ด้าน น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ไทยและญี่ปุ่นอยู่ระหว่างพิจารณาความเป็นไปได้ในการทบทวนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งมีผลบังคับใช้มาแล้วกว่า 10 ปี เพื่อยกระดับความตกลงฯ ให้สอดคล้องกับรูปแบบการค้าใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งไทยคาดหวังว่าการทบทวนดังกล่าวจะทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้เชิญชวนให้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) ซึ่งเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 สมาชิก CPTPP สามารถสรุปผลความตกลงฯ กันได้ โดยภายหลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากความตกลง TPP และสมาชิกที่เหลือ 11 ประเทศ ได้พยายามผลักดันให้ความตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้โดยเร็ว ซึ่งญี่ปุ่นเห็นว่าไทยมีความพร้อมและยินดีสนับสนุนข้อมูล เพื่อประกอบการศึกษาและตัดสินใจเข้าร่วม CPTPP ของฝ่ายไทยต่อไป
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 และเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 2 ของไทย ในขณะที่ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับ 16 และแหล่งนำเข้าลำดับที่ 8 ของญี่ปุ่น ในปี 2560 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 54,346.90 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นมีมูลค่า 22,309.56 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากญี่ปุ่นมีมูลค่า 32,037.33 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และแผงวงจรไฟฟ้า
อินโฟเควสท์