WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 MOC นนทวลย ศกนตนาค‘ปลัดพาณิชย์’ เผยผลประชุมคณะทำงานติดตามการอำนวยความสะดวกทางการค้าของไทย พอใจหน่วยงานไทยมีความคืบหน้าดำเนินการได้เร็วกว่าที่กำหนด

       นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อติดตามการปฏิบัติด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าของไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561 ได้เชิญประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2561 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกนับตั้งแต่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ได้ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานฯ เมื่อกลางเดือนมกราคม 2561 ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมการค้าต่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมีอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นเลขานุการ

      นางนันทวัลย์ กล่าวว่า คณะทำงานชุดนี้ถือเป็นกลไกสำคัญในการติดตามการดำเนินการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าของหน่วยงานไทย และเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน โดยประเด็นสำคัญที่มีการหารือในการประชุมครั้งนี้ เช่น การใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Form D) ในอาเซียน ซึ่งไทยและอาเซียนอีก 4 ประเทศ ได้แก่อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ได้เริ่มใช้ e-Form D ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 แล้ว แต่ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติโดยข้อมูลที่ระบุบน e-Form D อาจไม่ครบถ้วน หรือมีความคลาดเคลื่อนระหว่างต้นทางกับปลายทาง ที่ประชุมจึงขอให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เร่งหารือกับประเทศอาเซียนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

      นอกจากนี้ ยังหารือเรื่องการใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบ Back-to-Back หรือ Back-to-Back CO ควบคู่ไปกับการใช้ใบกำกับราคาของประเทศที่สาม (Third Country Invoicing: TCI) เพื่อรองรับการค้าในรูปแบบปัจจุบันที่เริ่มมีผู้ค้าในหลายประเทศเข้ามาเกี่ยวพันมากขึ้น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชน ตลอดจนการแก้ไขอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันหลายประเทศได้มีการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี(NTMs) มากขึ้น โดยไทยประสบกับปัญหาดังกล่าวอย่างมากในอาเซียน เช่น มาตรการเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบรถยนต์นำเข้าของเวียดนามเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ภายในประเทศ หรือมาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้าผักและผลไม้ของอินโดนีเซียเพื่อไม่ให้กระทบต่อฤดูกาลเก็บเกี่ยวในประเทศ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้พยายามแก้ไขปัญหา

      โดยได้มีการร้องเรียนกับประเทศคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันอาเซียนก็ได้จัดทำระบบASEAN Solutions for Investment Service and Trade (ASSIST) เพื่อเป็นอีกช่องทางให้ผู้ประกอบการแจ้งปัญหาและอุปสรรคทางการค้าและการส่งออกไปในอาเซียนด้วยตนเอง แต่ยังพบว่ามีผู้ใช้งานระบบดังกล่าวน้อยมาก เนื่องจาก ASSIST ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ที่ประชุมจึงขอให้หน่วยงานภาครัฐช่วยประชาสัมพันธ์กับภาคธุรกิจที่ตนประสานอยู่ด้วย ทั้งนี้ สามารถร้องเรียนผ่านระบบ ASSIST ได้ทางเว็บไซต์ http://assist.asean.org/ ซึ่งจะมีระยะเวลาดำเนินการประมาณ 60 วันทำการ เพื่อแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องเรียนทรา

      สำหรับ เรื่องพันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้า (TFA) ขององค์การการค้าโลก (WTO) นั้น ได้มีการกำหนดให้ไทยต้องแจ้งกำหนดเวลาที่จะปฏิบัติตามความตกลงฯ และมาตรการที่ไทยต้องขอระยะเวลาในการปรับตัวซึ่งได้เริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ TFA มีผลบังคับใช้ อาทิ การมีกระบวนการทดสอบที่จะเปิดโอกาสให้มีการขอทดสอบครั้งที่สอง ในกรณีที่สินค้าอาหาร เครื่องดื่มและอาหารสัตว์ ที่นำเข้าไม่ผ่านมาตรฐานการตรวจคุณภาพในการตรวจครั้งแรก ซึ่งได้ขอระยะเวลาปรับตัวไว้ 7 ปี และการจัดทำกลไกรองรับการประมวลผลเอกสารล่วงหน้าก่อนที่สินค้าผ่านแดนจะมาถึง โดยจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นเอกสารประกอบการขนส่งต่าง ๆ ผ่านกระบวนการทางศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง (Pre-Arrival Processing) ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ที่จะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าผ่านแดนลง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขอระยะเวลาปรับตัวไว้ 5 ปี เป็นต้น

     ทั้งนี้ จากการหารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่าหน่วยงานไทยมีความคืบหน้าในการปรับปรุงมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า และอาจดำเนินการได้เร็วขึ้นกว่าระยะเวลาปรับตัวที่เคยแจ้งองค์การการค้าโลก(WTO) ไว้ เช่น การจัดทำระบบตรวจปล่อยสินค้าล่วงหน้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ลดระยะเวลาเหลือ 2 ปี โดยในปัจจุบันกรมศุลกากร ได้เริ่มใช้ Pre-Arrival Processing กับการนำเข้าสินค้าแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561และการอุทธรณ์หรือทบทวนคำตัดสินของหน่วยงานที่ออกคำวินิจฉัยหรือหน่วยงานที่สูงกว่า ที่ลดระยะเวลาเหลือ 1 ปี โดยได้มอบให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศสรุปผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ และมาตรการที่อาจต้องการเวลาในการปรับตัวเสนอคณะรัฐมนตรีก่อนแจ้ง WTO ต่อไปซึ่งที่ประชุมพอใจที่หลายหน่วยงานสามารถดำเนินงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าได้เร็วกว่าที่กำหนดไว้เดิม

    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!