- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Tuesday, 02 September 2014 18:39
- Hits: 2736
พาณิชย์ เคาะเงินเฟ้อทั้งปีแค่ 2.21% อานิสงส์ลดราคาน้ำมัน-ตรึงค่าไฟ
แนวหน้า : พาณิชย์หั่นเป้าเงินเฟ้อปี’57 เหลือ 2.21% อ้างได้อานิสงส์คืนความสุขจากคสช.ทั้งลดค่าน้ำมันตรึงค่าไฟ ช่วยบรรเทาค่าครองชีพประชาชน ลดแรงกดดันเงินเฟ้อ ล่าสุดเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 2.09% ชะลอตัวต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 3 ส่วนการขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งมีผลแค่เล็กน้อย
นางอัมพวัน พิชาลัย ที่ปรึกษาการพาณิชย์เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค(เงินเฟ้อ) ประจำเดือนสิงหาคม 2557 เท่ากับ 107.61 ลดลง 0.08% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนแต่สูงขึ้น 2.09% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นการสูงขึ้นในอัตราชะลอตัวจากเดือนที่ผ่านมาที่อยู่ระดับ 2.16% และเป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 จากการปรับลดลงของราคาสินค้าเกษตร อาหารสด และพลังงานที่ลดลงจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกเฉลี่ยในประเทศราคาลดลงตามตลาดโลก การปรับโครงสร้างพลังงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยในช่วง 8 เดือน(มกราคม-สิงหาคม 2557) ที่ผ่านมา เงินเฟ้อสูงขึ้น 2.21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
จากการสำรวจสินค้า 450 รายการมีสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมี 159 รายการ เช่น ไข่ไก่ ไก่สด ข้าวสารเจ้า หอมหัวแดง ผลไม้สด เครื่องปรุงอาหาร อาหารตามสั่ง และค่าเช่าบ้าน เป็นต้นมีสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลง 200 รายการ และสินค้าที่ปรับลดลง 91 รายการ เช่น ผักคะน้า แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักกาดหอม ผักชี มะนาว กล้วยน้ำว้า ทุเรียน องุ่น มังคุด ลองกอง และลำไย เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย และเป็นฤดูกาลของผลไม้ ทำให้มีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เครื่องสำอาง เครื่องซักผ้า เนื้อสุกร น้ำมันเชื้อเพลิง ผงซักฟอก ยาสีฟัน และผ้าอนามัย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับลดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อทั้งปีจาก 2.35% เหลือ 2.21% โดยมองว่าในไตรมาสที่ 3 เงินเฟ้อจะขยายตัวที่ 2.15% ไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวที่ 2.2% และครึ่งปีหลังอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวที่ 2.18% เนื่องจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้ลดลง การตรึงค่าเอฟทีหรือค่าไฟให้อยู่ที่ระดับ 0.69 บาทต่อหน่วย นโยบายการดูแลค่าครองชีพ และราคาสินค้าเกษตรที่ลดลงซึ่งการปรับลดอัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะยังอยู่ในกรอบที่เคยคาดการณ์ไว้ 2.00-2.80%
“การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ตามนโยบายของคสช.ในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงเฉลี่ยต่อเดือนที่อัตรา 0.0191% โดยทั้งปีจะกระทบเงินเฟ้อให้ลดลง 0.2284% ส่วนราคาแอลพีจี ในภาคการขนส่งที่มีแนวโน้มจะปรับสูงขึ้น ราคาล่าสุดอยู่ที่ 11.54 บาทต่อกก. และหากขึ้นไปถึง 12.22 บาทต่อกก. จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อแค่ 0.0008% ต่อเดือน และทั้งปีจะมีผลกระทบ 0.01%”
พณ.ปรับลดเป้าเงินเฟ้อเหลือ 2.21%
บ้านเมือง : นางอัมพวัน พิชาลัย ที่ปรึกษาการพาณิชย์ เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือน ส.ค.57 เท่ากับ 107.61 สูงขึ้น 2.09% เมื่อเทียบกับ ส.ค.56 ซึ่งเป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน นับจากที่เคยขึ้นไปสูงสุดเมื่อเดือน พ.ค.ที่ 2.62% มิ.ย. 2.35% และ ก.ค. 2.16% และเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา เงินเฟ้อลดลง 0.08% ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 8 เดือนปี 2557 (ม.ค.-ส.ค.) เงินเฟ้อสูงขึ้น 2.21% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง 2.09% เป็นผลจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 3.93% โดยสินค้าสำคัญที่ราคาแพงขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ 6.42% อาหารบริโภคนอกบ้าน (อาหารจานด่วน) 5.6% อาหารบริโภคในบ้าน 5.49% เครื่องประกอบอาหาร 5.56% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 2.68% ส่วนสินค้าที่ลดลง คือ ผักและผลไม้ 2.47% ขณะที่หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 1.12% สินค้าที่ราคาแพงขึ้น เช่น เหล้า เบียร์ บุหรี่ 6.23% ค่าเช่าบ้าน หอพัก 1.82% น้ำมันเชื้อเพลิง 0.54%
ทั้งนี้ เมื่อแยกสินค้าที่ใช้คำนวณในเงินเฟ้อ 450 รายการ พบว่ามีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น 159 รายการ ลดลงจากเดือนก่อนที่มี 178 รายการ โดยสินค้าที่ราคาแพงขึ้น เช่น ไข่ไก่ ไก่สด ข้าวสาร อาหารตามสั่ง เครื่องประกอบอาหาร ค่าเช่าบ้าน ผงซักฟอก ส่วนสินค้าที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง 200 รายการ เพิ่มขึ้นจาก 184 รายการ และสินค้าราคาลดลง 91 รายการเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาที่มีสินค้าลดลง 81 รายการ
นางอัมพวัน กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อในปี 2557 ใหม่ ลดลงเหลือ 2.21% จากเดิมที่คาดว่าเงินเฟ้อจะขยายตัว 2.35% โดยประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 3 จะขยายตัว 2.15% จากเดิม 2.4% และไตรมาส 4 ขยายตัว 2.2% จากเดิม 2.5% ทำให้ครึ่งปีหลัง เงินเฟ้อจะขยายตัว 2.18% ซึ่งเป็นไปตามกรอบเป้าหมายในปีนี้ที่คาดว่าเงินเฟ้อจะขยายตัว 2-2.8% ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อทั้งปีลดลง เนื่องจากมาตรการในการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยน้ำมันเบนซินลดลง 3.89 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 ลดลง 2.13 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 ลดลง 1.7 บาท/ลิตร น้ำม้นอี 20 ลด 1 บาท/ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซล ปรับขึ้น 0.14 บาท/ลิตร ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ยต่อเดือนลดลง 0.0191% โดย 4 เดือนทำให้เงินเฟ้อลดลง 0.076% และหากทั้งปีเงินเฟ้อจะลดลง 0.2284% รวมทั้งการตรึงค่ากระแสไฟฟ้า (เอฟที) ตั้งแต่ ก.ย.-ธ.ค.2557 ไว้ที่ 69 สตางค์/หน่วย และมาตรการตรึงค่าครองชีพ 6 เดือนที่ทำให้ราคาสินค้าไม่เพิ่มขึ้น ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อลดลง
ส่วนแนวโน้มการปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีภาคขนส่ง คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อย โดยหากปรับขึ้น จาก 11.54 บาท/กก. มาอยู่ที่ 12.22 บาท/กก. ทำให้เงินเฟ้อต่อเดือนเพิ่ม 0.0008% โดย 4 เดือน เงินเฟ้อเพิ่ม 0.0033% และ 1 ปี เงินเฟ้อเพิ่ม 0.01% สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศที่คำนวณสินค้า 312 รายการ หักกลุ่มอาหารสดและพลังงาน 138 รายการ เดือน ส.ค.57 เท่ากับ 105.03 สูงขึ้น 1.83% เมื่อเทียบกับ ส.ค.56 และสูงขึ้น 0.09% เมื่อเทียบกับ ก.ค.57 ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐาน 8 เดือน สูงขึ้น 1.54% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
'ผัก-อาหาร'กดเงินเฟ้อลง พาณิชย์หดเป้าเหลือ 2.21%
ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์เผยเงินเฟ้อเดือน ส.ค.อยู่ที่ 2.09% ต่ำสุดรอบ 6 เดือน หดเป้าทั้งปีเฉลี่ย 2.21%
นางอัมพวัน พิชาลัย ที่ปรึก ษาการพาณิชย์ แถลงว่า อัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค.2557 อยู่ที่ 107.61 เทียบเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ลดลง0.08% และสูงขึ้น 2.09% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลงเป็นเดือนที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ปีนี้ สูงขึ้น 2.21% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
สาเหตุที่เงินเฟ้อลดลง มาจากการลดลงของราคาอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้สด มีราคาลดลงต่อเนื่อง จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น และสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู ราคาปรับ ลดลงจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งหมวดพลังงานที่ราคา ขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประ เทศลดลงตามภาวะตลาดโลก ประกอบกับนโยบายปรับโครงสร้างราคาพลังงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อไม่สูงมาก
จากการตรวจสอบสินค้าที่นำมาคำนวณเงินเฟ้อ 450 รายการ พบว่า สินค้าที่ราคาสูงขึ้นมี 159 รายการ ราคาเท่าเดิม 200 ราย การ และ 91 รายการ ราคาลดลง
ทั้งนี้ จากนโยบายตรึงราคาสินค้า การปรับโครงสร้างราคาพลังงานและไฟฟ้า เชื่อว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อช่วงครึ่งปีหลังยังอยู่ในช่วงขาลง คาดว่าไตรมาส 3 อยู่ที่ 2.15% จากเดิม 2.40% และไตรมาส 4 อยู่ที่ 2.20% จากเดิม 2.50% ทำให้เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 2.21% จากเดิม 2.35% ยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 2.00-2.80%.