WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCชตมา copyพาณิชย์ แนะภาคเอกชนธุรกิจบริการไทยรุกเจาะตลาดญี่ปุ่น หลัง FTA อาเซียน-ญี่ปุ่นมีผลปลายปีนี้

     น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ กล่าวในงานสัมมนา 'ไทย-ญี่ปุ่น หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจผ่าน FTA' ว่า ต้องการชี้โอกาสด้านการค้าบริการและการลงทุนให้กับผู้ประกอบการไทยได้รับทราบ ภายหลังจากอาเซียนและญี่ปุ่นได้บรรลุผลการเจรจาการเปิดเสรีด้านการค้าบริการ การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา และการลงทุน ภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรี (FTA) อาเซียน-ญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือน ธ.ค.60 และตั้งเป้าหมายจะลงนามในความตกลงด้านการค้าบริการฯในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปีนี้

      "หลังความตกลงมีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการไทยสามารถลงทุนในสาขาบริการต่างๆ ในญี่ปุ่นได้ 100% เช่น การโฆษณา การจัดเลี้ยง การจัดประชุม บริการทัวร์และไกด์ จัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ โรงแรม สปา อสังหาริมทรัพย์ ร้านอาหาร การวิจัยและการพัฒนา การซ่อมแซมและบำรุงรักษาอากาศยาน และจัดจำหน่าย เป็นต้น" น.ส.ชุติมา กล่าว

     อย่างไรก็ตาม ในการเปิดเสรีด้านการค้าบริการและการลงทุนนั้น ไทยต้องเปิดเสรีเช่นกัน โดยได้เปิดให้นักลงทุนญี่ปุ่นและอาเซียนเข้ามาประกอบธุรกิจได้ในสาขาบริการ เช่น บริการธุรกิจ โทรคมนาคม การเงิน อสังหาริมทรัพย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเปิดให้สามารถถือหุ้นได้ 49% หรือ 70% ตามประเภทของธุรกิจ โดยไทยไม่ได้เปิดตลาดเกินกว่ากรอบความตกลงว่าด้วยบริการอาเซียน

      นอกจากนี้ ในด้านการลงทุน ความตกลงยังคุ้มครองและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนว่าจะได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน โดยจะไม่ถูกเวนคืนการลงทุนโดยไม่มีเหตุอันควร และสามารถโอนเงินเข้า-ออกจากประเทศได้อย่างเสรี รวมถึงให้มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านการลงทุนที่โปร่งใสและทั่วถึง ทำให้กระบวนการยื่นและอนุมัติลงทุนง่ายขึ้นด้วย

     ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนรายสำคัญของไทย มีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และไทยยังชักจูงให้ญี่ปุ่นเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และลงทุนในระเบียบเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักลงทุนญี่ปุ่นเป็นอย่างดี

      รมช.พาณิชย์ กล่าวถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JETEPA) ว่า ความตกลงมีผลบังคับใช้ครบ 10 ปีแล้ว ซึ่งช่วยทำให้มูลค่าการค้าระหว่างกันขยายตัวมากขึ้น โดยปี 50 มีมูลค่า 48,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6.5% จากปี 59 ที่มีมูลค่า 51,272 ล้านเหรียญฯ ส่วนปี 60 มีมูลค่า 54,346.90 ล้านเหรียญฯ โดยไทยส่งออกไปญี่ปุ่น 22,309.56 ล้านเหรียญฯ และนำเข้าจากญี่ปุ่น 32,037.33 ล้านเหรียญฯ

      อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!