WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC นนทวลย ศกนตนาคปลัดพาณิชย์ ร่วมถกอาเซียนแนะนโยบายยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

      นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 ได้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (HLTF-EI) ครั้งที่ 33 ที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้ข้อเสนอแนะระดับนโยบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน

       โดยที่ประชุมคณะทำงานระดับสูงได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อประเด็นด้านเศรษฐกิจที่สิงคโปร์ในฐานะประธานอาเซียนปี 2561 เสนอแนะให้ร่วมกันผลักดันให้เกิดผล (Singapore’s Priority Deliverable) เช่น การส่งเสริมนวัตกรรมและความเชื่อมโยงด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การปรับปรุงการอำนวยความสะดวกทางการค้า เป็นต้น ซึ่งไทยสนับสนุนการดำเนินการที่สิงคโปร์เสนอ โดยเฉพาะการใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน (ASEAN-Wide Self-Certification) และระบบการเชื่อมโยงอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window) เพื่อให้ระบบดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงได้ทั้ง 10 ประเทศและดำเนินการได้เต็มรูปแบบ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมของภาคเอกชนและช่วยขยายการค้าในอาเซียน ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงระบบระหว่างกันแล้ว 4 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยสามารถใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Form D) สำหรับการส่งออกระหว่างกันได้แล้ว

       นางนันทวัลย์ กล่าวว่า อาเซียนให้ความสำคัญเรื่องการแก้ปัญหาการใช้มาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่ก่อให้เกิดอุปสรรคทางการค้า (Non-Tariff Barriers:  NTB) เนื่องจากหลายประเทศใช้มาตรการดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการปกป้องตลาดภายในประเทศ ซึ่งไทยให้ความสำคัญกับประเด็นนี้อย่างมากและสนับสนุนแนวทางในการแก้ปัญหา NTM/NTB ได้แก่ การจำแนกมาตรการที่เข้าข่ายเป็น NTB การดำเนินการตามพันธกรณีความตกลงด้านการค้าสินค้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ NTMs อย่างเต็มที่ การมีกลไกการแจ้งมาตรการ NTM/NTB ที่เกิดขึ้นใหม่โดยประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นที่ไม่ใช่ประเทศผู้ออกมาตรการแจ้งแทนได้ รวมทั้งการให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจำแนกมาตรการที่เป็น NTB

       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการให้ความเห็นต่อร่างหลักการสำคัญเรื่องแนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ (Good Regulatory Practice) หรือ GRP ของอาเซียน เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการออกหรือแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและไม่เป็นภาระต่อภาคธุรกิจเกินความจำเป็น ซึ่งร่างหลักการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับกฎหมายและรัฐธรรมนูญของไทยที่ให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย รวมทั้งเน้นย้ำการทำ GRP ของอาเซียนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง

                อินโฟเควสท์

 พาณิชย์ ร่วมถกอาเซียน ถึงนโยบายการค้า - ภาษี และเศรษฐกิจร่วมกัน

      นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 ได้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน หรือ HLTF-EI ครั้งที่ 33 ที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้ข้อเสนอแนะระดับนโยบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน

      นางนันทวัลย์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะทำงานระดับสูงได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อประเด็นด้านเศรษฐกิจที่สิงคโปร์ในฐานะประธานอาเซียนปี 2561 เสนอแนะให้ร่วมกันผลักดันให้เกิดผล (Singapore’s Priority Deliverable) เช่น การส่งเสริมนวัตกรรมและความเชื่อมโยงด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การปรับปรุงการอำนวยความสะดวกทางการค้า เป็นต้น ซึ่งไทยสนับสนุนการดำเนินการที่สิงคโปร์เสนอ โดยเฉพาะการใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน (ASEAN-Wide Self-Certification) และระบบการเชื่อมโยงอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window) เพื่อให้ระบบดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงได้ทั้ง 10 ประเทศและดำเนินการได้เต็มรูปแบบ   ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมของภาคเอกชนและช่วยขยายการค้าในอาเซียน ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงระบบระหว่างกันแล้ว 4 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยสามารถใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Form D) สำหรับการส่งออกระหว่างกันได้แล้ว

      นางนันทวัลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อาเซียนให้ความสำคัญเรื่องการแก้ปัญหาการใช้มาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่ก่อให้เกิดอุปสรรคทางการค้า (Non-Tariff Barriers:  NTB) เนื่องจากหลายประเทศใช้มาตรการดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการปกป้องตลาดภายในประเทศ ซึ่งไทยให้ความสำคัญกับประเด็นนี้อย่างมากและสนับสนุนแนวทางในการแก้ปัญหา NTM/NTB ได้แก่ การจำแนกมาตรการที่เข้าข่ายเป็น NTB การดำเนินการตามพันธกรณีความตกลงด้านการค้าสินค้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ NTMs อย่างเต็มที่ การมีกลไกการแจ้งมาตรการ NTM/NTB ที่เกิดขึ้นใหม่โดยประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นที่ไม่ใช่ประเทศผู้ออกมาตรการแจ้งแทนได้ รวมทั้งการให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจำแนกมาตรการที่เป็น NTB

      นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการให้ความเห็นต่อร่างหลักการสำคัญเรื่องแนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ (Good Regulatory Practice) หรือ GRP ของอาเซียน เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการออกหรือแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและไม่เป็นภาระต่อภาคธุรกิจเกินความจำเป็น ซึ่งร่างหลักการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับกฎหมายและรัฐธรรมนูญของไทยที่ให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย รวมทั้งเน้นย้ำการทำ GRP ของอาเซียนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!