WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

INDUSสนธรตน สนธจรวงศไทย-ศรีลังกา หารือยกระดับความสัมพันธ์ทางศก. ตั้งเป้าขยายมูลค่าการค้าสู่ 1,500 ล้านเหรียญฯ ในปี 63

       นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า นางกเษณุกา ธิเรนี เสเนาวิรัตนะ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาประจำประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะและแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือเรื่องการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและศรีลังกา โดยจะจัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจร่วม (MOU) เพื่อการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ ในสาขาที่ไทยและศรีลังกามีศักยภาพและเอื้อประโยชน์ต่อกันจำนวน 9 สาขา ได้แก่ ความร่วมมือด้านการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร การประมง อัญมณีและเครื่องประดับ การท่องเที่ยว SMEs ความร่วมมือด้านการเงิน และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ ซึ่ง MOU ดังกล่าว จะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

     นอกจากนี้ ศรีลังกายังได้เชิญชวนนักลงทุนไทยลงทุนในศรีลังกาโดยเฉพาะในเขตอุตสาหกรรม (Industrial Park) โดยปัจจุบันมีนักลงทุนรายใหญ่ของไทยได้เข้าไปดำเนินธุรกิจในศรีลังกาหลายสาขา เช่น ธุรกิจโรงแรมและบริการที่เกี่ยวข้อง (ดุสิตธานี ไมเนอร์กรุ๊ป และเซนทารา) อาหารแปรรูป (บริษัท ซีพี) และปูนซิเมนต์ (บริษัท สยามซิตี้ซิเมนต์) เป็นต้น และยังมีนักลงทุนอีกหลายรายที่แสดงความสนใจเข้าไปลงทุนในศรีลังกาด้วย โดยปัจจุบันไทยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ

      "ทั้งสองฝ่ายยังได้มีการหารือเรื่องความเป็นไปได้ในการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยและศรีลังกา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและผลักดันมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศให้บรรลุเป้าหมายที่ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2563

        ทั้งนี้ ศรีลังกาแจ้งว่ามีแผนที่จะเชิญรองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการในปี 2561 และหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถลงนาม MOU การพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ และเปิดการเจรจา FTA ระหว่างกันในไม่ช้า

       ปัจจุบันศรีลังกาได้จัดทำ FTA กับอินเดียและปากีสถาน โดยเพิ่งสรุปผลการเจรจา FTA กับ สิงคโปร์เมื่อปลายปี 2560 และอยู่ระหว่างการเจรจากับจีน นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตศรีลังกายังได้กล่าวชื่นชมโครงการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของไทย และแสดงความสนใจที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากไทยในการพัฒนาสินค้าท้องถิ่น โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เช่น การถนอมอาหารและการแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เพื่อนำไปพัฒนาโครงการ One Village One Product (OVOP) ในศรีลังกาด้วย

      ศรีลังกาเป็นตลาดใหม่และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ โดยในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2555 – 2559) มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี และมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอัญมณี และประมง ในปี 2560 ศรีลังกาเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 4 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของศรีลังกาในภูมิภาคอาเซียน (รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย) ในปี 2560 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 513 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 8.7 การส่งออกไทยไปศรีลังกามีมูลค่า 442 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีสินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ ปลาแห้ง ผ้าผืน น้ำตาลทราย รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ปูนซิเมนต์ และเหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น การนำเข้าของไทยจากศรีลังกามีมูลค่า 71 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สัตว์น้ำ เครื่องจักรไฟฟ้า ผ้าผืน และเครื่องประดับอัญมณี เป็นต้น

            อินโฟเควสท์

ก.พาณิชย์ หารือศรีลังกายกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ มุ่งขยายมูลค่าการค้าสู่ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 63

    ก.พาณิชย์เผย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาประจำประเทศไทย (นางกเษณุกา ธิเรนี เสเนาวิรัตนะ) ได้เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561 หารือยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งแนวทางการเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกัน

    นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เอกอัครราชทูตศรีลังกาได้แสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือเรื่องการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและศรีลังกา โดยจะจัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจร่วม (MOU) เพื่อการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ ในสาขาที่ไทยและศรีลังกามีศักยภาพและเอื้อประโยชน์ต่อกันจำนวน 9 สาขา ได้แก่ ความร่วมมือด้านการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร การประมง อัญมณีและเครื่องประดับ การท่องเที่ยว SMEs ความร่วมมือด้านการเงิน และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ ซึ่ง MOU ดังกล่าว จะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ศรีลังกายังได้เชิญชวนนักลงทุนไทยลงทุนในศรีลังกาโดยเฉพาะในเขตอุตสาหกรรม (Industrial Park) โดยปัจจุบันมีนักลงทุนรายใหญ่ของไทยได้เข้าไปดำเนินธุรกิจในศรีลังกาหลายสาขา เช่น ธุรกิจโรงแรมและบริการที่เกี่ยวข้อง (ดุสิตธานี ไมเนอร์กรุ๊ป และเซนทารา) อาหารแปรรูป (บริษัท ซีพี) และปูนซิเมนต์ (บริษัท สยามซิตี้ซิเมนต์) เป็นต้น และยังมีนักลงทุนอีกหลายรายที่แสดงความสนใจเข้าไปลงทุนในศรีลังกาด้วย โดยปัจจุบันไทยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ

      ทั้งสองฝ่ายยังได้มีการหารือเรื่องความเป็นไปได้ในการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยและศรีลังกา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและผลักดันมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศให้บรรลุเป้าหมายที่ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2563 โดยศรีลังกาแจ้งว่ามีแผนที่จะเชิญรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการในปี 2561 และหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถลงนาม MOU การพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ

     และเปิดการเจรจา FTA ระหว่างกันในไม่ช้า โดยปัจจุบันศรีลังกาได้จัดทำ FTA กับอินเดียและปากีสถาน โดยเพิ่งสรุปผลการเจรจา FTA กับ สิงคโปร์เมื่อปลายปี 2560 และอยู่ระหว่างการเจรจากับจีน นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตศรีลังกายังได้กล่าวชื่นชมโครงการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของไทย และแสดงความสนใจที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากไทยในการพัฒนาสินค้าท้องถิ่น โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เช่น การถนอมอาหารและการแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เพื่อนำไปพัฒนาโครงการ One Village One Product (OVOP) ในศรีลังกาด้วย

     ทั้งนี้ ศรีลังกาเป็นตลาดใหม่และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ โดยในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2555 – 2559) มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี และมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอัญมณี และประมง ในปี 2560 ศรีลังกาเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 4 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของศรีลังกาในภูมิภาคอาเซียน (รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย) ในปี 2560 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 513 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 8.7 การส่งออกไทยไปศรีลังกามีมูลค่า 442 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีสินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ ปลาแห้ง ผ้าผืน น้ำตาลทราย รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ปูนซิเมนต์ และเหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น การนำเข้าของไทยจากศรีลังกามีมูลค่า 71 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สัตว์น้ำ เครื่องจักรไฟฟ้า ผ้าผืน และเครื่องประดับอัญมณี เป็นต้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!