WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCกลณ อศดศยพาณิชย์ เผยยอดจดทะเบียนธุรกิจใหม่ปี 60 อยู่ที่ 7.4 หมื่นราย สูงสุดรอบ 5 ปี, ตั้งเป้าปีนี้กว่า 7.5 หมื่นราย

      นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจและการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมปี 2560 ว่า มีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท จำนวน 74,517 ราย ซึ่งเป็นสถิติการจดทะเบียนที่สูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นจำนวน 10,229 ราย คิดเป็น 16% เมื่อเทียบกับปี 2559 จำนวน 64,288 ราย

     โดยเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 70,000 ราย เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล จึงทำให้มีจำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่เพิ่มสูงในปีนี้ โดยเฉพาะธุรกิจร้านค้าทอง ธุรกิจร้านขายยา และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลให้ธุรกิจได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการจัดตั้งธุรกิจใหม่ภายใน 31 ธันวาคม 2560 เช่น มาตรการยกเว้นเงินภาษีในการโอนทรัพย์สินจากบุคคลธรรมดาให้นิติบุคคลจัดตั้งใหม่ และมาตรการที่ให้ SMEs นำค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งธุรกิจ ค่าทำบัญชีและค่าสอบบัญชี ไปหักเป็นรายจ่ายเพิ่มได้อีก 1 เท่า ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการลงทุนภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ส่งผลให้ภาคเอกชน มีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา

      สำหรับ การจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการในปี 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 21,444 ราย เมื่อเทียบกับปี 2559 จำนวน 20,938 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 506 ราย คิดเป็น 2% ซึ่งน้อยกว่าสถิติการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้นถึง 16%

      ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2560 มีจำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ จำนวน 6,305 ราย เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2560 จำนวน 6,597 ราย ลดลงจำนวน 292 ราย คิดเป็น 4% และเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2559 จำนวน 4,410 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 1,895 ราย คิดเป็น 43%

     ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,261 ราย คิดเป็น 20% รองลงมาคือธุรกิจร้านขายปลีกเครื่องประดับ (ร้านขายทอง) จำนวน 467 ราย คิดเป็น 7% และธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 388 ราย คิดเป็น 6% ตามลำดับ

     มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ ในเดือนธันวาคม 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 146,984 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2560 จำนวน 68,462 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 78,522 ล้านบาท คิดเป็น 115% และเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2559 จำนวน 22,252 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 124,732 ล้านบาท คิดเป็น 561%

     ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีจำนวน 5,018 ราย คิดเป็น 79% รองลงมา คือทุน 5-100 ล้านบาท  มีจำนวน 991 ราย คิดเป็น 16% และทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 296 ราย คิดเป็น 5% โดยมีธุรกิจที่ทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท มีจำนวน 14 ราย ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 7 ราย ธุรกิจโฮลดิ้ง จำนวน 6 ราย และตัวแทนและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1 ราย

    ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ธ.ค. 60) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ 680,269 ราย มูลค่าทุน 16.27 ล้านล้านบาท  จำแนกเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 181,017 ราย คิดเป็น 26.61 % บริษัทจำกัด 498,074 ราย คิดเป็น 73.22% และบริษัทมหาชนจำกัด 1,178 ราย คิดเป็น 0.17%

     ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน  ธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่มีจำนวนทั้งสิ้น 680,269 ราย มูลค่าทุน 16.27 ล้านล้านบาท โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายมากที่สุด ได้แก่ ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีจำนวน 599,672 ราย คิดเป็น 88% มูลค่าทุน 0.97 ล้านล้านบาท คิดเป็น 6% รองลงมา คือทุน 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 66,432 ราย คิดเป็น 10% มูลค่าทุน 1.78 ล้านล้านบาท  คิดเป็น 11% และทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 14,165 ราย คิดเป็น 2% มูลค่าทุน 13.51 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83% ตามลำดับ

     ธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 5,762 ราย เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2560 จำนวน 2,306 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน  3,456 ราย คิดเป็น 150% และเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2559 จำนวน 5,118 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 644 ราย คิดเป็น 13%

      ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 524 ราย คิดเป็น 9% รองลงมาคือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 303 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจค้าสลาก จำนวน 188 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ

      มูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ในเดือนธันวาคม 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 28,366 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2560 จำนวน 7,518 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 20,848 ล้านบาท คิดเป็น 277% และเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2559 จำนวน 24,373 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,993 ล้านบาท คิดเป็น 16%

     ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีจำนวน 5,456 ราย คิดเป็น 94.7% รองลงมา คือทุน 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 281 ราย คิดเป็น 4.9% และทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 25 ราย คิดเป็น 0.4% โดยมีธุรกิจที่ทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 5 ราย ได้แก่ธุรกิจการค้าและติดตั้งระบบวิทยุ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจโรงแรม /ภัตตาคาร ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการผลิตน้ำยางข้น อย่างละ 1 ราย

     นางกุลณี คาดการณ์แนวโน้มการจัดตั้งธุรกิจใหม่ปี 2561 โดยพิจารณาค่าเฉลี่ยของอัตราการเติบโตของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ และสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2560 เติบโตได้ราว 4% และขยายตัวต่อเนื่องในปี 2561 อยู่ที่ 3.6 - 4.6% ดังนั้นคาดว่า ปี 2561 จะมีการจัดตั้งธุรกิจใหม่ไม่น้อยกว่า 75,000 ราย และประเภทธุรกิจที่มีการจัดตั้งสูง ยังคงอยู่ในกลุ่มก่อสร้างอาคารทั่วไปและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน

       อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามการออกมาตรการของภาครัฐในปี 2561 ว่าจะมีมาตรการที่กระตุ้นให้ผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาเข้าสู่ระบบในรูปแบบของนิติบุคคล ต่อเนื่องจากปี 2560 อย่างไร ส่วนมาตรการที่มีความชัดเจนอย่างมาก คือ กระตุ้นเศรษฐกิจให้กระจายตัวออกสู่ภูมิภาคและฐานรากมากขึ้น เช่น โครงการพัฒนาอีอีซี โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรอง ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อการลงทุนและเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของการจัดตั้งธุรกิจ

                อินโฟเควสท์

พาณิชย์ เผยปี 60 มีบริษัท ยื่นจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน 74,517 ราย สูงสุดในรอบ 5 ปี คาดปี 61 ทะลุ 7.5 หมื่นราย

     พาณิชย์ เผย ปี 60 มีธุรกิจจดทะเบียนใหม่ 74,517 ราย สูงสุดในรอบ 5 ปี อานิสงส์มาตรการรัฐสนับสนุน   คาดปี 61 ธุรกิจจดทะเบียนใหม่มีมากกว่า 7.5 หมื่นราย ชี้กลุ่ม ก่อสร้าง อาหารทั่วไป และอสังหาริมทรัพย์ ยังโดดเด่น 

นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปี 2561 กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า จะมีการจัดตั้งธุรกิจใหม่ไม่น้อยกว่า 75,000 ราย โดยประเภทธุรกิจที่มีการจัดตั้งสูง คือ กลุ่มก่อสร้างอาคารทั่วไป อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ขณะที่ปี 2560 ที่ผ่านมา มีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทั 74,517 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 5 ปี โดยเพิ่มขึ้น 10,229 ราย หรือคิดเป็น 16% จากปี 2559 เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล จึงทำให้จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่เพิ่มสูงขึ้น  โดยเฉพาะธุรกิจร้านค้าทอง ธุรกิจร้านขายยา และอสังหาริมทรัพย์ 

  อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 นี้ ยังคงต้องติดตามการออกมาตรการของภาครัฐ ว่าจะมีมาตรการที่จะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาเข้าสู่ระบบในรูปแบบของนิติบุคคลต่อเนื่องจากปี 2560 หรือไม่ ส่วนมาตรการที่มีความชัดเจน คือ กระตุ้นการกระจายตัวออกสู่ภูมิภาคและฐานรากมาขึ้น เช่น โครงการพัฒนาอีอีซี โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรอง จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อการลงทุน และเป็นปัจจัยบวกต่อการขายยตัวของการจัดตั้งธุรกิจ 

  ทั้งนี้ ในปี 2560 พบว่า มีจำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั้งสิ้น 5,762 ราย เพิ่มขึ้น 3,456 ราย จากเดือนก่อนหน้า โดยประเภทธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการ คือ ก่อสร้างอาคารทั่วไป อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจค้าสลาก

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!