WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AGRI วณะโรจน ทรพยสงสขก.เกษตรฯ เผยข้อมูลไม้ผลตะวันออก ปี 61 รอบแรก คาดผลผลิตรวม 8.02 แสนตัน เพิ่มขึ้น 1.37% จากปี 60

      ก.เกษตรฯ แจงข้อมูลไม้ผลเอกภาพรอบที่ 1 ปี 61 ของไม้ผล 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกองใน 3 จังหวัดตะวันออก จันทบุรี ระยอง และตราด คาด ผลผลิตรวม 802,973 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 60 ร้อยละ 1.37 เผย ผลผลิตรวมทั้ง 4 สินค้าเพิ่มขึ้นทุกชนิด โดยเฉพาะ เงาะ เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยปริมาณน้ำเพียงพอ พร้อมติดตามสถานการณ์อีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ศกหน้า

       นายวิณะโรจน์  ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการบูรณาการจัดทำข้อมูลปริมาณการผลิตไม้ผลเอกภาพรอบที่ 1 ปี 2561 ซึ่ง สศก. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี (สศท.6) และศูนย์สารสนเทศการเกษตร (ศสส.) ร่วมมือกับคณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก ประกอบด้วย สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 (สสก.3) จังหวัดระยอง และสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ซึ่งคณะทำงานฯ ได้พยากรณ์ผลผลิตไม้ผลภาคตะวันออก ครั้งที่ 1 ของสินค้า 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง และตราด เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนบริหารจัดการผลไม้ตั้งแต่ต้นฤดู

       สำหรับ ผลพยากรณ์ ปี 2561 ครั้งที่ 1 (ข้อมูล ณ 4 ธันวาคม 2560) พบว่า เนื้อที่ให้ผลของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 622,126 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีจำนวน 605,481 ไร่ (เพิ่มขึ้น 16,645 ไร่ หรือ ร้อยละ 2.75) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 5.42  มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76  และเงาะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 ส่วนลองกอง ลดลงร้อยละ 3.73

      ผลผลิตรวมทั้ง 4 สินค้า คาดว่าจะมีประมาณ 802,973 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีจำนวน 792,113 ตัน (เพิ่มขึ้น 10,860 ตัน หรือ ร้อยละ 1.37)  โดยผลผลิตจะออกมากช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ต่อเนื่องถึงกลางเดือนมิถุนายน คาดการณ์ว่าผลผลิตรวมของทั้ง 4 สินค้าจะเพิ่มขึ้นทุกชนิด โดยเงาะ จะเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 3.48 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยปริมาณน้ำเพียงพอ รองลงมาได้แก่ มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.23 ทุเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.54 และลองกอง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 

      ผลผลิตต่อไร่ เงาะ และ ลองกอง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับในปีที่ผ่านมาไม้ผลบางต้นไม่ติดผลหรือให้ผลผลิตน้อยทำให้มีเวลาในการพักต้นสะสมอาหารต้นสมบูรณ์ขึ้นส่วนหนึ่ง ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ทุเรียน และมังคุด มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากในปีที่ผ่านมาติดดอกออกผลมากจึงคาดว่าต้นมังคุดจะพักสะสมอาหาร อีกทั้งปีที่ผ่านมา  ต้นทุเรียนประสบปัญหาเชื้อราไฟทอปเธอราที่ระบาด ทำให้ทุเรียนรากโคนเน่ายืนต้นตาย ขยายเป็นพื้นที่กว้างทั้งจังหวัดจันทบุรีและตราด โดยเฉพาะแหล่งผลิตใหญ่ในจังหวัดจันทบุรีได้รับผลกระทบมากทำให้จำนวนต้นต่อไร่ที่ให้ผลผลิตได้ลดลง

     ด้านนายสุชัย กิตตินันทะศิลป์ ผู้อำนวยการ สศท.6 กล่าวเสริมถึงสถานการณ์ในขณะนี้ว่า ทุเรียน ออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 60 ผลผลิตที่ติดผลในช่วงแรกเป็นทุเรียนพันธุ์เบาและทุเรียนที่ใช้สารกระตุ้นการออกดอก โดยจะเป็นพันธุ์กระดุมและหมอนทองบางส่วน เงาะ ออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 2  ด้าน มังคุด ออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 3 ขณะที่ ลองกองยังไม่ออกดอก ซึ่งลองกองสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ถ้าหากสภาพต้นที่สลดขาดแคลนน้ำ เนื่องจากในช่วงปลายปี 2560 มีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ ต้นลองกองยังไม่สลดจึงยังไม่มีพัฒนาการการออกดอก

        สำหรับ แนวทางบริหารจัดการผลไม้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2561 ยังคงเน้นเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยให้จังหวัดคำนึงถึงการบริหารจัดการผลไม้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพซึ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลไม้ ควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลไม้ตลอดฤดูกาลผลิต ด้านเชิงคุณภาพ เช่น การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลผลิตสู่มาตรฐาน (GAP) และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยให้รวมกลุ่มเพื่อผลิตไม้ผลในลักษณะแปลงใหญ่ อบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิต เป็นต้น ส่วนในเชิงปริมาณ เช่น การเชื่อมโยงตลาดล่วงหน้า การจัดทำแผนบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกิน เป็นต้น ทั้งนี้จังหวัดจะจัดทำรายละเอียดของแผนบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ โดยมี คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.)  เป็นแกนหลักในการกลั่นกรอง เชื่อมโยง บูรณาการ แผนงานหรือโครงการต่อไป

     อย่างไรก็ตาม หากสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนอาจทำให้ปริมาณผลผลิตไม้ผลเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลง ได้อีก เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศในช่วงแรกของภาคตะวันออกมีฝนตกค่อนข้างมากในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ส่งผลต่อการติดดอกออกผลของผลไม้โดยเฉพาะมังคุด เงาะ และลองกองที่ออกดอกล่าช้า จึงยังไม่เห็นพัฒนาการที่ชัดเจน โดยดอกมังคุด และเงาะจะเห็นผลได้ชัดเจนอีกครั้งหลังกลางเดือนธันวาคมเป็นต้นไป ซึ่ง สศท.6 จะได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและลงพื้นที่สำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี โทร. 038 352 435 หรืออีเมล [email protected]

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ก.เกษตรฯ เผยดัชนีฯรายได้เกษตรกร 10 เดือนแรก แตะ 156.50 หลังมาตรการช่วยเหลือภาครัฐ สะท้อนรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น

      สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาด ดัชนีรายได้เกษตรกรทั้งปี 60 จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 59 ระบุ 10 เดือนแรกเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 156.50 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญและผลไม้ที่เพิ่มขึ้น มั่นใจ มาตรการช่วยเหลือภาครัฐ และแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ภาคเกษตรในปีหน้ายังคงขยายต่อเนื่อง

      นายวิณะโรจน์  ทรัพย์ส่งสุข  เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยถึงทิศทางรายได้เกษตรกรปี 2560 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากดัชนีรายได้เกษตรกร พบว่ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ขายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับประรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ต่าง ๆ และกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง โดยดัชนีรายได้เกษตรกรในช่วง 10 เดือนของปี 2560 (ม.ค.-ต.ค.) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 156.50 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 ถึงร้อยละ 7.98 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 9.69 จากแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลในช่วงปีที่ผ่านทำให้ทุกภูมิภาคของประเทศสามารถทำการเพาะปลูกได้เพิ่มขึ้น และยังมีน้ำต้นทุนเหลือเพียงพอสำหรับการทำการเกษตรฤดูแล้งปี 2561

   ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปี 2560 โดยพิจารณาจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้หดตัวเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.6 จากการที่รัฐบาลได้เข้าส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรในการทำการการผลิตโดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เน้นการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้างโพดเลี้ยงสัตว์) โครงการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร การขยับช่วงการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งโครงการและมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ได้เข้าไปมีส่วนช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำเหมือนที่ผ่านมาสำหรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ รัฐบาลได้เร่งรัดเข้าไปให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทั้งเป็นการเฉพาะหน้า การชดเชยความเสียหาย และการฟื้นฟูส่งเสริมอาชีพ ผ่านมาตรการต่าง ๆ อาทิ โครงการ 9101

   หากมองหนี้สินครัวเรือนเกษตรปี 2560 จากการสำรวจของ สศก. ในเบื้องต้น พบว่ามีแนวโน้มใกล้เคียงกับปี 2559 โดยหนี้สินครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 40 เป็นการกู้ยืมเงินระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตและเก็บรักษาผลผลิตเพื่อรอการจำหน่าย เช่น การซื้อวัสดุอุปกรณ์และปัจจัย การผลิต ค่าพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ ค่าซ่อมแซมยุ้งฉาง/โรงเรือนเลี้ยงพืชสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการขยายตัวของภาคเกษตรโดยรวมและสอดรับกับรายได้เงินสดทางการเกษตรของครัวเรือนปี 2560 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยังสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนเกษตรซึ่งสอดคล้องข้อมูลภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม ปี 2560 ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจภูมิภาคของไทยขยายตัวต่อเนื่องในหลายภูมิภาคเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และแนวโน้มหนี้ครัวเรือนไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

รมช.เกษตรฯ ลงพื้นที่จ.สุโขทัย หนุนเกษตรกรเลือกประกอบอาชีพด้วยตัวเอง

     นายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและพบปะเกษตรกร ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ต.ไกรนอก  อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบของจังหวัดสุโขทัย ที่มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความหลากหลายในการทำการเกษตร มีการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีหลักสูตรเรียนรู้ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ นอกจากนี้ยังมีฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด และการใช้สารชีวภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช การเพาะพันธุ์ปลาหมอชุมพรเพื่อจำหน่าย และการเพาะพันธุ์ลูกนกกระทาจำหน่าย จึงเป็นแหล่งให้ความรู้จากหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ แก่เกษตรกรที่เข้ามารับการอบรม

       ทั้งนี้ ในจังหวัดสุโขทัยมี ศพก.จำนวน 9 แห่ง รวมตัวเป็นเครือข่ายบริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการประเมินขีดความสามารถของ ศพก.เพื่อสนับสนุนให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น จึงต้องพัฒนาให้เป็นจุดที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกร จึงเป็นแนวทางให้หน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรและบริหารจัดการไปสู่เกษตรกรเพื่อสร้างความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน

       รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงฯ พร้อมที่จะสนับสนุนความคิดของเกษตรกร ลดการชี้นำให้น้อยลง โดยจะให้เกษตรกรได้เลือกการประกอบอาชีพทางการเกษตรด้วยตัวเอง โดยให้เรียนรู้จากกันและกัน และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งในบทบาทของกระทรวงเกษตรฯ จะเข้าไปสนับสนุนในการให้ความรู้ ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น กระทรวงพาณิชย์เข้ามาช่วยในเรื่องการตลาด เพื่อให้เกษตรกรมีการปรับปรุงสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นตลอดเวลา และมีโอกาสในการส่งออกไปต่างประเทศได้ แนวความคิดดังกล่าวจะสามารถสร้างความยั่งยืนและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่เกษตรกร จะมุ่งเน้นพัฒนาการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มคุณภาพ การเข้าถึงตลาด หรือแม้แต่การเข้าถึงทุนจากสถาบันการเงิน ก็จะทำให้พัฒนาไปสู่ความยั่งยืนต่อไป

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!