WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษสมคิด สั่งศึกษาความเป็นไปได้นำยางพาราเป็นสินค้าควบคุม หวังใช้กม.แก้ปัญหาราคาตกต่ำ

        นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการมอบนโยบายการทำงานให้กระทรวงพาณิชย์ว่า สินค้าเกษตรเป็นเรื่องสำคัญ จึงได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บริหารจัดการปริมาณผลผลิตและสต็อกสินค้าเกษตรให้ดี เพื่อไม่ให้ราคาตกต่ำ โดยเฉพาะยางพารา ซึ่งที่ผ่านมาปริมาณผลผลิตมีมากจนทำให้ราคาตกต่ำ โดยหากมีความจำเป็นก็ให้นำเข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการผลผลิต และสต็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        "สินค้าเกษตรส่วนใหญ่ที่ราคาตกต่ำ เพราะผลผลิต และสต็อกมีมาก ทั้งกระทรวงเกษตรฯ และพาณิชย์ ต้องช่วยกันบริหารจัดการให้ดี ไม่ใช้อยู่ๆ สต็อกล้นเหมือนปาล์มน้ำมัน ถ้าจำเป็นก็จับมาเป็นสินค้าควบคุม จะได้มีมาตรการทางกฎหมายบริหารจัดการได้" รองนายกรัฐมนตรีกล่าว

       ด้านนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงพาณิชย์ตั้งคณะทำงานศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำสินค้ายางพาราคาเข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าควบคุม ภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 เพื่อนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้แก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งจะกำหนดให้ผู้มียางพาราในครอบครองต้องแจ้งปริมาณสต็อกสินค้า และกำหนดมาตรการในการดูแล และหากจำเป็นต้องกำหนดราคาแนะนำในการขายก็จะดำเนินการ

        "เรื่องการใช้มาตรการทางกฎหมาย หลังจากสินค้ายางพาราเป็นสินค้าควบคุม จะดูตามความเหมาะสมและความจำเป็น ซึ่งในวันที่ 22 ธ.ค.นี้จะหารือกับ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในการปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรทั้งระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ถือเป็นการบูรณาการทำงานทั้งระบบ และเป็นไปตามนโยบายของรองนายกฯ สมคิด ที่ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นตัวกลางประสานกับหลายกระทรวงฯ เพื่อดูแลราคาสินค้าเกษตรให้ราคามีเสถียรภาพ" นายสนธิรัตน์ กล่าว

รมว.เกษตรฯ เร่งเดินหน้า 6 มาตรการแก้ราคายางทั้งระบบ หลังครม.อนุมัติ

    นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความก้าวหน้ามาตรการแก้ไขปัญหายางพาราว่า จะเร่งเดินหน้ามาตรการแก้ราคายาง ตามที่คณะรับมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 60 ได้มีมติเห็นชอบ 6 โครงการ เพื่อแก้ปัญหายางพาราทั้งระบบ ตามแนวนโยบายดูดซับปริมาณยาง เพิ่มปริมาณการใช้ และลดปริมาณผลผลิต เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคาและความยั่งยืนในการประกอบอาชีพการทำสวนยาง ประกอบด้วย 1) โครงการชดเชยดอกเบี้ย 3% เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เพื่อใช้ในการเก็บรวมรวมยาง ในวงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อดูดซับปริมาณยางออกจากระบบประมาณร้อยละ 11 ของผลผลิตยางแห้ง 350,000 ตันจากผลผลิตทั้งปี โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี (ไม่เกิน 600 ล้านบาท) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ถึงเดือนธันวาคม 2562 และมีระยะเวลาการชำระเงินคืนเงินกู้ไม่เกิน 1 ปีนับจากวันทำสัญญาต่อปี

      2) โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา (วงเงิน 5,000 ล้านบาท) ซึ่งรัฐบาลเห็นชอบแนวทางปฏิบัติการสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ในอัตราร้อยละ 0.49 ต่อปี โดยยอดประมาณการตลอดระยะเวลาโครงการฯ 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2558-2567) รวมเป็นเงินประมาณการทั้งสิ้น 3,868,000 บาท แบ่งเป็นกลุ่มเกษตรกร 3,564,000 บาท วิสาหกิจชุมชน จำนวน 304,000 บาท

      3) โครงการชดเชยดอกเบี้ย 3% เพื่อสนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางพารา (วงเงิน 10,000 ล้านบาท)โดยรัฐบาลจะสนับสนุนเงินชดเชยค่าเบี้ยประกันแก่สถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และค่าบริหารโครงการฯ

     4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงิน 15,000 ล้านบาทเพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบตามกรอบวงเงิน 15,000 ล้านบาท และหลักเกณฑ์ เงื่อนไขเดิม ปัจจุบันมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพียงจำนวน 29 ราย และได้รับอนุมัติสินเชื่อเข้าร่วมโครงการฯ 16 ราย วงเงินประมาณ 8.887 พันล้านบาท ปริมาณการใช้ยางเพิ่มขึ้น 35,550 ตัน/ปี ขณะนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอีกหลายราย ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น

     5) โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ โดยรัฐบาลได้สั่งการให้หน่วยงานภาครัฐใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยให้ กยท. รับซื้อผลผลิตยางพารา ได้แก่ ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 น้ำยางสด ยางก้อนถ้วย หรือยางชนิดอื่นๆ ผ่านทางสถาบันเกษตรกร และเครือข่ายตลาด ของ กยท. ทั่วประเทศ เป้าหมาย 200,000 ตัน ในช่วงเดือนธันวาคม 2560 – 30 เมษายน 2561

    6) โครงการควบคุมปริมาณผลผลิต โดยมีเป้าในการลดปริมาณผลผลิตจากทั้งภาคเกษตรกร และหน่วยงานรัฐโดยในส่วนของเกษตรกร ได้กำหนดให้มีแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ด้วยการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้ชาวสวนยางรายละ 4,000 บาท เพื่อโค่นยางและปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นชนิดอื่น เช่น ไม้ผล ไม้เพื่อการแปรรูป และอื่นๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ จำนวน 2 แสนไร่ ภายในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2561 นี้ ซึ่งจะเป็นการลดพื้นที่ปลูกยางแบบถาวร

     สำหรับ หน่วยงานภาครัฐที่มีสวนยาง ประมาณ 1 แสนไร่ ทั้งการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กรมวิชาการเกษตร และ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) จะร่วมกันหยุดกรีดยาง ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งเพื่อลดปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดได้ไม่น้อยกว่า 6.78 พันตันในระยะเวลา 3 เดือนนี้

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!