- Details
- Category: เกษตร
- Published: Tuesday, 05 December 2017 10:34
- Hits: 4090
ก.เกษตรฯ โชว์ผล ศพก. ปี 60 ฐานเรียนรู้ช่วยพัฒนา เกษตรกรทำจริง ได้ผลจริง ระบุลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนต่อเดือนเฉลี่ย 894 บาท
ก.เกษตรฯ แจงผลประเมิน ศพก. ปี 60 เจาะพื้นที่ 27 จังหวัดทั่วประเทศ เผย เกษตรกรตอบรับเป็นอย่างดี กว่าร้อยละ 90 นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้ผลจริง สามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีได้เฉลี่ยไร่ละ 722 บาท/ปี ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้เฉลี่ย 894 บาท/เดือน ช่วยกระตุ้นเกษตรกรเกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการประเมินโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ปีงบประมาณ 2560 โดยสำรวจลงพื้นที่สำรวจเกษตรกรต้นแบบ เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมจาก ศพก. และเกษตรกรเจ้าของศูนย์เครือข่าย ศพก. ในพื้นที่ 27 จังหวัด รวม 854 ราย พบว่า
ศพก. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีสำหรับเกษตรกร อย่างรอบด้าน เช่น การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงการแปรรูปผลผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกร เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรที่เข้ารับบริการมีอายุเฉลี่ย 53 ปี ประสบการณ์ในการทำเกษตรเฉลี่ย 28 ปี โดยเกษตรกรร้อยละ 95 นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต การปรับปรุงบำรุงดิน การใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี
นอกจากนี้ เกษตรกรที่นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ถึงร้อยละ 90 เห็นผลแล้ว โดยสามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตได้เฉลี่ยไร่ละ 722 บาท/ปี มีการปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่เพาะปลูกของตนเองให้มีความสมบูรณ์ ดูแลและรักษาป้องกันโรค และแมลงศัตรูพืชได้ ยังสามารถแปรรูปผลผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน และจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้เฉลี่ย 894 บาท/เดือน
สำหรับ ฐานเรียนรู้ ศพก. แต่ละแห่งมีฐานเรียนรู้เฉลี่ย 6 ฐาน โดยฐานเรียนรู้ที่มีเหมือนกันมากที่สุดใน ศพก. คือ ฐานเรียนรู้ด้านการลดต้นทุนการผลิต เช่น ฐานเรียนรู้ด้านปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก ฐานเรียนรู้ด้านสารชีวภัณฑ์ ฐานเรียนรู้ด้านการลดต้นทุนข้าว ฐานเรียนรู้ด้านปศุสัตว์ ฐานเรียนรู้ด้านประมง ฐานเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และฐานเรียนรู้ด้านบัญชี เป็นต้น
ผลสำรวจยังพบว่า ศพก. สามารถกระตุ้นให้เกษตรกรมีความต้องการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 28 ต้องการความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับการผลิต ร้อยละ 21 ต้องการความรู้ด้านการลดต้นทุนการผลิตเพิ่มเติม ส่วนร้อยละ 11 ต้องการความรู้ด้านการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้ง ศพก. ในระดับชุมชนอำเภอละ 1 ศูนย์ รวม 882 ศูนย์ ภายใต้หลักคิด “เกษตรกรพัฒนาเกษตรกรด้วยกันเอง จึงจะเกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน” ซึ่งภาคราชการจะต้องเข้าไปร่วมดำเนินการในลักษณะการขับเคลื่อน และสนับสนุนให้ ศพก. สามารถปฏิบัติงานได้ ดังนั้น เพื่อให้ ศพก. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับเกษตรกรมากยิ่งขึ้น จึงควรส่งเสริม และสนับสนุนในด้านต่างๆ ให้ ศพก.มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เช่น การพัฒนาฐานเรียนรู้ พัฒนาแปลงเรียนรู้ เพิ่มเติมเนื้อหาหรือหลักสูตรในการอบรมให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งให้กับ ศพก. และเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ภายใต้การบูรณาการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
สศก. แจงผลประเมิน ศพก. ปี 60 ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี-ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยผลการประเมินโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ปีงบประมาณ 2560 โดยสำรวจลงพื้นที่สำรวจเกษตรกรต้นแบบ เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมจาก ศพก. และเกษตรกรเจ้าของศูนย์เครือข่าย ศพก.ในพื้นที่ 27 จังหวัด รวม 854 ราย พบว่า ศพก.เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีสำหรับเกษตรกรอย่างรอบด้าน เช่น การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงการแปรรูปผลผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกร เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรที่เข้ารับบริการมีอายุเฉลี่ย 53 ปี ประสบการณ์ในการทำเกษตรเฉลี่ย 28 ปี โดยเกษตรกรร้อยละ 95 นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต การปรับปรุงบำรุงดิน การใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี
นอกจากนี้ เกษตรกรที่นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ถึงร้อยละ 90 เห็นผลแล้ว โดยสามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตได้เฉลี่ยไร่ละ 722 บาท/ปี มีการปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่เพาะปลูกของตนเองให้มีความสมบูรณ์ ดูแลและรักษาป้องกันโรค และแมลงศัตรูพืชได้ ยังสามารถแปรรูปผลผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน และจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้เฉลี่ย 894 บาท/เดือน
สำหรับฐานเรียนรู้ ศพก.แต่ละแห่งมีฐานเรียนรู้เฉลี่ย 6 ฐาน โดยฐานเรียนรู้ที่มีเหมือนกันมากที่สุดใน ศพก. คือ ฐานเรียนรู้ด้านการลดต้นทุนการผลิต เช่น ฐานเรียนรู้ด้านปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก ฐานเรียนรู้ด้านสารชีวภัณฑ์ ฐานเรียนรู้ด้านการลดต้นทุนข้าว ฐานเรียนรู้ด้านปศุสัตว์ ฐานเรียนรู้ด้านประมง ฐานเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และฐานเรียนรู้ด้านบัญชี เป็นต้น
ผลสำรวจยังพบว่า ศพก.สามารถกระตุ้นให้เกษตรกรมีความต้องการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 28 ต้องการความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับการผลิตร้อยละ 21 ต้องการความรู้ด้านการลดต้นทุนการผลิตเพิ่มเติม ส่วนร้อยละ 11 ต้องการความรู้ด้านการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้ง ศพก.ในระดับชุมชนอำเภอละ 1 ศูนย์ รวม 882 ศูนย์ ภายใต้หลักคิด “เกษตรกรพัฒนาเกษตรกรด้วยกันเอง จึงจะเกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน" ซึ่งภาคราชการจะต้องเข้าไปร่วมดำเนินการในลักษณะการขับเคลื่อน และสนับสนุนให้ ศพก. สามารถปฏิบัติงานได้ ดังนั้น เพื่อให้ ศพก. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับเกษตรกรมากยิ่งขึ้น จึงควรส่งเสริม และสนับสนุนในด้านต่างๆ ให้ ศพก.มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เช่น การพัฒนาฐานเรียนรู้ พัฒนาแปลงเรียนรู้ เพิ่มเติมเนื้อหาหรือหลักสูตรในการอบรมให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งให้กับ ศพก. และเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ภายใต้การบูรณาการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อินโฟเควสท์
ก.เกษตรฯ เผยดัชนีฯรายได้เกษตรกร 10 เดือนแรก แตะ 156.50 หลังมาตรการช่วยเหลือภาครัฐ สะท้อนรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาด ดัชนีรายได้เกษตรกรทั้งปี 60 จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 59 ระบุ 10 เดือนแรกเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 156.50 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญและผลไม้ที่เพิ่มขึ้น มั่นใจ มาตรการช่วยเหลือภาครัฐ และแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ภาคเกษตรในปีหน้ายังคงขยายต่อเนื่อง
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงทิศทางรายได้เกษตรกรปี 2560 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากดัชนีรายได้เกษตรกร พบว่ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ขายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับประรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ต่าง ๆ และกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง โดยดัชนีรายได้เกษตรกรในช่วง 10 เดือนของปี 2560 (ม.ค.-ต.ค.) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 156.50 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 ถึงร้อยละ 7.98 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 9.69 จากแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลในช่วงปีที่ผ่านทำให้ทุกภูมิภาคของประเทศสามารถทำการเพาะปลูกได้เพิ่มขึ้น และยังมีน้ำต้นทุนเหลือเพียงพอสำหรับการทำการเกษตรฤดูแล้งปี 2561
ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปี 2560 โดยพิจารณาจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้หดตัวเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.6 จากการที่รัฐบาลได้เข้าส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรในการทำการการผลิตโดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เน้นการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้างโพดเลี้ยงสัตว์) โครงการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร การขยับช่วงการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งโครงการและมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ได้เข้าไปมีส่วนช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำเหมือนที่ผ่านมาสำหรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ รัฐบาลได้เร่งรัดเข้าไปให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทั้งเป็นการเฉพาะหน้า การชดเชยความเสียหาย และการฟื้นฟูส่งเสริมอาชีพ ผ่านมาตรการต่าง ๆ อาทิ โครงการ 9101
หากมองหนี้สินครัวเรือนเกษตรปี 2560 จากการสำรวจของ สศก. ในเบื้องต้น พบว่ามีแนวโน้มใกล้เคียงกับปี 2559 โดยหนี้สินครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 40 เป็นการกู้ยืมเงินระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตและเก็บรักษาผลผลิตเพื่อรอการจำหน่าย เช่น การซื้อวัสดุอุปกรณ์และปัจจัย การผลิต ค่าพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ ค่าซ่อมแซมยุ้งฉาง/โรงเรือนเลี้ยงพืชสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการขยายตัวของภาคเกษตรโดยรวมและสอดรับกับรายได้เงินสดทางการเกษตรของครัวเรือนปี 2560 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยังสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนเกษตรซึ่งสอดคล้องข้อมูลภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม ปี 2560 ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจภูมิภาคของไทยขยายตัวต่อเนื่องในหลายภูมิภาคเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และแนวโน้มหนี้ครัวเรือนไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย