WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AGRI วณะโรจน ทรพยสงสขก.เกษตรฯ โชว์ผลวิเคราะห์ 3 มิติโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกุ้ง ชี้ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน - เวลา และเพิ่มความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม

      สศก. เปิดผลการศึกษาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกุ้ง เจาะพื้นที่จันทบุรีและตราด แหล่งผลิตกุ้งสำคัญของประเทศ โชว์ผลศึกษา ครบ 3 มิติ ได้แก่ ต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ เผย เกษตรกรยังขาดทักษะและความเชี่ยวชาญในการเลี้ยงและจับกุ้ง แนะดึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพมาปรับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์

  นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข  เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกุ้ง ใน 3 มิติ คือ มิติต้นทุน มิติเวลา และมิติความน่าเชื่อถือ โดยมีพื้นที่เป้าหมาย คือ จังหวัดจันทบุรีและตราด ที่มีผลผลิตกุ้งมากเป็นอันดับ 2 และ 3 ของประเทศและถือเป็นพื้นที่สำคัญตามโครงการระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ประชารัฐสมัยใหม่ (กุ้ง) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง สถาบันเกษตรกร  และหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานประมงจังหวัด

  สำหรับ ผลการประเมินตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์กุ้ง 3 มิติ พบว่า มิติต้นทุน ต้นทุนโลจิสติกส์รวมต่อยอดขายของเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 4.84 และสถาบันเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 5.37 ตามลำดับ โดยเกษตรกรมีต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขายที่สูงที่สุด คือ ต้นทุนการจับกุ้ง คิดเป็นร้อยละ 2.14 หรือประมาณครึ่งหนึ่งของต้นทุน โลจิสติกส์ที่เกษตรกรรับผิดชอบ ซึ่งเกิดจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ยังไม่มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการเลี้ยงและจับกุ้งที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับในส่วนสถาบันเกษตรกร มีต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขาย สูงที่สุด คือ ต้นทุนการเก็บรักษาอาหารกุ้ง ร้อยละ 2.12 เนื่องจากต้องสำรองอาหารกุ้งให้กับเกษตรกรสมาชิก

  มิติเวลา พบว่า การจัดหาลูกกุ้ง มีต้นทุนมิติเวลามากที่สุด คือ เกษตรกรจะสั่งล่วงหน้า 15 วัน สถาบันเกษตรกรสั่งล่วงหน้า 20 วัน เนื่องจากลูกกุ้งมีผู้จำหน่ายน้อยรายและขาดแคลนลูกกุ้งต้านทานโรค และ มิติความน่าเชื่อถือ พบว่า อัตราความสามารถในการจัดส่งปัจจัยการผลิตครบตามจำนวนและตรงเวลาของเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 98.05 สถาบันเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 95.75 และสำหรับอัตราความสามารถในการจัดส่งครบตามจำนวนและตรงเวลานัดหมาย คิดเป็นร้อยละ 99.75 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

  ทั้งนี้ ผลจากการศึกษาข้างต้น สศก. ได้เสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องสำคัญ ดังนี้ เนื่องจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ยังขาดทักษะและความเชี่ยวชาญในการเลี้ยงและจับกุ้งที่มีประสิทธิภาพ จึงควรเน้นถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงและจับกุ้ง รวมทั้งสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมาใช้ในการเลี้ยงกุ้ง จับกุ้ง และรวบรวมกุ้ง เป็นต้น

  ลูกกุ้ง ซึ่งยังมีผู้จำหน่ายน้อยรายและขาดแคลนลูกกุ้งต้านทานโรค ควรมีการเร่งพัฒนาพันธุ์กุ้งที่มีความต้านทานโรคและมีคุณลักษณะกุ้งที่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร ควบคุมกำกับดูแลให้มีการจำหน่ายอาหารกุ้งแบบเสรี เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพและราคาอาหารกุ้งที่เป็นธรรม และสนับสนุนให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรรวมกันซื้อลูกกุ้งและอาหารกุ้ง เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและสามารถซื้อได้ในราคาที่ถูกลง และเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการตรวจสอบย้อนกลับ โดยใช้โปรแกรมประยุกต์หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ ให้ครอบคลุมเกษตรกร และสถาบันเกษตรกร รวมทั้งผู้ประกอบการในทุกพื้นที่ ที่มีการเลี้ยงกุ้งเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในมิติความน่าเชื่อถือให้กับโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกุ้งของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  สำหรับ เกษตรกรและท่านที่สนใจข้อมูลผลการศึกษา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร โทร. 0 2579 1751 ในวันและเวลาราชการ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!