WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CPF อากาศเปลยน

CPF อากาศเปลี่ยน...คนป่วย...ไก่ป่วน...ซีพีเอฟแนะเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างไรให้ผ่านพ้นวิกฤติ

   ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงประเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนตกหนัก ซักพักเริ่มเย็นจนถึงหนาว อากาศแบบนี้ขนาดคนยังอยู่ยากเล่นเอาเจ็บป่วยกันได้ง่ายๆ ไม่ต้องพูดถึงสัตว์เลี้ยงที่ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน ที่เห็นชัดๆ คือสัตว์ปีก ที่ไม่มีต่อมเหงื่อในขณะที่อากาศร้อนนั้นสัตว์ชนิดอื่นจะควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่และระบายความร้อนออกทางผิวหนังผ่านทางต่อมเหงื่อ ในทางกลับกันในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงสัตว์อื่นๆก็สามารถปรับตัวได้ดีกว่าสัตว์ปีก และยิ่งช่วงที่มีฝนตกชุกด้วยแล้วยิ่งทำให้ความชื้นในบรรยากาศสูงขึ้น ทำให้สัตว์ปีกเกิดความเครียดส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลงสัตว์อ่อนแอลง สัตว์อ่อนแอ มีโอกาสติดเชื้อโรคง่าย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดสัตว์ยิ่งขึ้น จึงไม่แปลกที่ในไก่จะพบปัญหาผลผลิตตกต่ำ หรือปริมาณไก่ขาดตลาดในช่วงนี้ เพราะไก่ไม่สามารถปรับตัวกับภาวะที่เป็นอยู่ได้ หากไม่มีการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดด้วยแล้ว ปัญหาก็จะยิ่งวิกฤติขึ้นไปอีก

  อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาวะอากาศที่แปรปรวนดังเช่นปัจจุบัน จะเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่พี่น้องเกษตรกรเองก็สามารถป้องกันและลดผลกระทบได้ ด้วยการเตรียมตัวและใส่ใจในการเลี้ยงสัตว์ให้มากกว่าปกติ โดยเฉพาะเน้นเรื่องการจัดการโรงเรือนที่ดี ที่ต้องสามารถป้องกันฝนและพาหะนำโรคระบาดสัตว์ได้เป็นอย่างดี เชื่อว่าจะสามารถผ่านพ้นวิกฤติต่างๆ ไปได้

    บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ พี่ใหญ่ในวงการเลี้ยงสัตว์ของบ้านเรา ที่มีทีมงาน ผู้ชำนาญการด้านการเลี้ยงสัตว์ที่มากประสบการอยู่มากมาย จึงมีคำแนะนำดีๆมาบอกกับพี่น้องเกษตรกรในหลายพื้นที่ ที่ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในแต่ละวันที่ไม่แน่นอน ทำให้เกิดภาวะไม่เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยง

    น.สพ.นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ ผู้ชำนาญการด้านสุขภาพสัตว์ แนะนำการเลี้ยงไก่ในช่วงนี้ว่า เกษตรกรควรให้ความสำคัญกับการดูแลสัตว์ให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง โดยต้องมีการปรับสภาพโรงเรือนที่ดี ภายในโรงเรือนสะอาด มีการระบายอากาศที่เหมาะสม ในกรณีอากาศร้อนโดยเฉพาะช่วงสายถึงบ่าย เกษตรกรควรปรับสภาพในโรงเรือนให้มีอากาศที่ดีขึ้น โดยใช้พัดลมช่วยระบายอากาศ หากอากาศร้อนจัดสามารถติดตั้งสปริงเกอร์บนหลังคา ซึ่งจะช่วยลดความร้อนได้ระดับหนึ่ง และอาจติดตั้งสเปรย์น้ำในโรงเรือนเป็นช่วงๆ เพื่อช่วยบรรเทาความร้อนลงได้ แต่ไม่ควรเปิดตลอดเวลา และต้องระวังไม่ให้บริเวณเลี้ยงเกิดความเปียกชื้น เพราะจะกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และก่อให้เกิดการหมักหมมจนเกิดแก๊สแอมโมเนีย ยิ่งจะทำให้สุขภาพสัตว์แย่ลง

   ฟากไก่เนื้อหรือไก่กระทงที่ใช้แกลบรองพื้นในการเลี้ยง ต้องหมั่นกลับแกลบอย่างน้อย 1-2 วันต่อครั้ง เพื่อป้องกันการเก็บความชื้น ส่วนไก่ไข่ต้องจัดการกับมูลไก่ใต้กรงอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดผลกระทบจากแก๊สแอมโมเนีย นอกจากนี้ ต้องเข้มงวดกับการทำวัคซีนป้องกันโรคตามระยะเวลาที่กำหนด จะช่วยให้สัตว์แข็งแรง ต้านทานโรคได้เป็นอย่างดี และอาจต้องให้วิตามินให้สัตว์กินเสริม

  ส่วนกรณีฝนตกต้องคอยดูความชื้นในโรงเรือนไม่ให้มากเกินไป เนื่องจากจะทำให้ไก่ป่วยได้ จึงต้องใส่ใจกับการระบายอากาศ อย่างไรก็ดีบางพื้นที่อาจมีปัญหาน้ำไม่สะอาด เนื่องจากมีการปนเปื้อนน้ำที่มีตะกอนสูงเกิดไป จึงแนะนำให้ใช้คลอรีน 2-3 ppm ผสมในน้ำ เพื่อให้น้ำสะอาดไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ช่วยป้องกันอาการท้องเสียที่อาจเกิดขึ้นกับสัตว์ได้ นอกจากนี้ สามารถเสริมวิตามินซีทางน้ำให้ไก่ได้ เพื่อลดความเครียดจากอากาศร้อนและเพิ่มความต้านทานโรค

   นอกจากนี้ เกษตรกรควรให้ความสำคัญกับการจัดพื้นที่สำหรับกำจัดสิ่งปฏิกูลต่างๆอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่หรือเพาะพันธุ์ของสัตว์พาหะ เช่น หนู แมลงวัน หรือสัตว์มีพิษอื่นๆ ในกรณีมีสัตว์ตายต้องจัดการการเผาหรือฝังซากอย่างถูกวิธี ห้ามทิ้งสัตว์ป่วยหรือตายไว้ตามแหล่งธรรมชาติ เพราะจะกลายเป็นแหล่งก่อโรคและดูแลเรื่องการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะ ต้องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง แต่ถ้ามีสัตว์ป่วยตายมากโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือสัตวแพทย์ประจำฟาร์มให้เข้าช่วยเหลือโดยเร็ว

  อย่างไรก็ดี เกษตรกรควรวางแผนการเลี้ยงโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัย หากมีความเสี่ยงสูงอาจต้องทิ้งระยะการเข้าเลี้ยงออกไป หรือเตรียมสถานที่อพยพสัตว์ พร้อมสำรองสิ่งจำเป็น อาทิ อาหารสัตว์ ยาและเวชภัณฑ์ วัคซีน และน้ำสะอาด รวมถึงจัดเตรียมสถานที่สำหรับอพยพสัตว์ขึ้นบนที่สูงที่น้ำท่วมไม่ถึง เพื่อป้องกันการสูญเสียและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดน้ำท่วม

   คำแนะนำในการเลี้ยงไก่ที่ซีพีเอฟนำมาบอกต่อให้กับพี่น้องเกษตรกรนี้ ด้วยหวังว่าจะช่วยลดผลกระทบจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน จากการนำเทคนิควิธีการเหล่านั้นไปปรับใช้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามการจะเลี้ยงสัตว์ให้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ของเกษตรกรเป็นสำคัญ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!