WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCฉตรชย สารกลยก.เกษตรฯ คาด GDP เกษตรไทยปีนี้โต 2.5-3.5% หวังนโยบายรัฐหนุนครึ่งปีหลังโตต่อเนื่อง จับตาราคาสินค้าเกษตรแนวโน้มลดลง

       พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปี 2560 คาดว่า GDP ภาคเกษตร จะขยายตัวได้อยู่ในช่วงร้อยละ 2.5–3.5 (มูลค่า 639,000–645,000 ล้านบาท) และหากพิจารณารายได้เงินสดทางการเกษตรของครัวเรือนเกษตร ทั้งปี 2560 จะอยู่ที่ 160,835 บาทต่อครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปี 2559

 โดยมีสัดส่วนรายได้ส่วนใหญ่มาจากผลผลิตพืช ร้อยละ 70.98 รองลงมาคือ ผลผลิตสัตว์ ร้อยละ 25.43 และรายได้ทางการเกษตรอื่น ร้อยละ 3.59 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มสินค้าเกษตรหลัก ซึ่งเป็นที่มาของรายได้ในภาพรวมของประเทศ เช่น ข้าว ไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ ปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามลำดับ

 อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 จำเป็นต้องมีการติดตามสถานการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เช่น ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่มีแนวโน้มลดลง ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ สภาพการใช้จ่ายของครัวเรือนเกษตรที่มีภาระหนี้สิ้นสะสมอยู่ รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญที่อาจมีอุปสงค์ชะลอตัวลง เป็นต้น

 จากที่กระทรวงเกษตรฯ โดย สศก. ได้เผยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรหรือ GDP เกษตร ในไตรมาส 2 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11.5 โดยทุกสาขาการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสาขาพืชที่โตถึงร้อยละ 15.5 สะท้อนจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.8 ถึงแม้ว่าดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้แผ่วลง ติดลบ ร้อยละ 1.9 แต่ดัชนีรายได้เกษตรกรยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6

 สอดคล้องกับการแถลงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.7 โดยภาคเกษตรมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15.8 ขณะที่ภาคนอกเกษตร ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.7 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า GDP ภาคเกษตร ที่แถลงโดย สศก. เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการแถลงเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2560 ของ สศช. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการจัดทำบัญชีรายได้ประชาติของประเทศ

  การที่ GDP ภาคเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2560 มีการเติบโตได้ในระดับสูง เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญในไตรมาส 2 ทั้งสาขาพืช ปศุสัตว์ และประมง ได้แก่ ข้าวนาปรัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด เงาะ ไก่เนื้อ สุกรมีชีวิต ไข่ไก่ น้ำนมดิบ และกุ้งเพาะเลี้ยง มีปริมาณเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่ยังคงประสบภัยแล้งต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2558 ส่งผลอย่างรุนแรงต่อการผลิตข้าวนาปรังในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง นอกจากนี้ สภาพอากาศที่แปรปรวนยังส่งผลกระทบต่อการติดดอกออกผลของผลไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออกอีกด้วย ทำให้ในไตรมาส 2 ปี 2559 เป็นช่วงที่สถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรสำคัญหลายชนิดต่ำกว่าระดับที่เคยผลิตได้ในปีปกติ

  นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเชิงบวกจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางดีขึ้น รวมทั้งแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นอาหารและวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ประกอบกับการดำเนินนโยบายและมาตรการด้านการเกษตรต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนและปฏิรูปภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง อาทิ นโยบายส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ศูนย์เรียนรู้ ศพก. 882 ศูนย์ Agri-Map ระบบส่งน้ำและกระจายน้ำ ระบบเกษตรปลอดภัยและอินทรีย์ การสร้าง Smart /Young Smart Farmer และยกระดับความเข้มแข็งสหกรณ์ รวมทั้งการดำเนินงานโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ ทำให้เศรษฐกิจการเกษตรระดับภูมิภาคเติบโตได้อย่างชัดเจนและมั่นคง ผลักดันให้ GDP ภาคเกษตรของประเทศในครึ่งปีหลัง (ก.ค.-ธ.ค.60) ขยายตัวต่อเนื่อง

 ในส่วนของโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ ถือเป็นโครงการสำคัญโครงการหนึ่งที่ช่วยผลักดันการเติบโตของภาคเกษตร โดยชุมชนทั้ง 9,101 ชุมชน ได้เสนอโครงการจำนวน 24,760 โครงการ วงเงิน 20,054.62 ล้านบาท (ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2560) ซึ่งทางคณะกรรมการฯ ระดับอำเภอ ได้พิจารณาและอนุมัติโครงการแล้ว จำนวน 24,168 โครงการ คิดเป็นวงเงิน 19,867.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 99.07 จากวงเงินที่ชุมชนเสนอ ชุมชนได้เบิกจ่ายงบประมาณแล้ว จำนวน 18,924.98 ล้านบาทหรือร้อยละ 95.26 ของวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ แบ่งเป็นค่าวัสดุและอุปกรณ์ 9,793.93 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.16 ของงบประมาณค่าวัสดุและอุปกรณ์ทั้งหมด (9,877.24 ล้านบาท) และค่าจ้างแรงงาน 9,131.05 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.40 ของงบประมาณค่าจ้างแรงงานทั้งหมด (9,989.96 ล้านบาท) เฉลี่ยค่าจ้างที่ได้รับ 2,650 บาท/คน ซึ่งคาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนในชุมชนทั่วประเทศ ประมาณ 17,000 ล้านบาท และต่อยอดในกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป ซึ่งขณะนี้ มีกองทุนที่เกิดขึ้นอย่างน้อยใน 8,828 ชุมชน (ร้อยละ 97 ที่จะบริหารโครงการให้เกิดรายได้หมุนเวียน) จากโครงการนี้แล้ว

 ทั้งนี้ การขับเคลื่อนโครงการสำคัญของ กษ. ข้างต้น ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2560 ทั้งสิ้น 90,050.07 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายแล้ว 72,100.90 ล้านบาท หรือร้อยละ 80.07 ของงบประมาณที่ได้รับ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2560) และหากพิจารณาผลการเบิกจ่ายงบประมาณ เมื่อแยกตามประเภทหมวดรายจ่ายงบประมาณ พบว่า รายจ่ายลงทุน กระทรวงเกษตรฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 46,057.22 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 33,864.08 ล้านบาท (ร้อยละ 73.53) รายจ่ายประจำในส่วนของงบสำหรับดำเนินงาน (ไม่รวมบุคลากร) จำนวน 18,684.37 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 15,242.75 ล้านบาท (ร้อยละ 81.58 ของงบดำเนินงาน)

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!