WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AGRIคมสน จำรญพงษสศก.เผย 5 ปัจจัยสู่ความสำเร็จเกษตรแปลงใหญ่ เตรียมขยายผลสู่ความสำเร็จของแปลงใหญ่แห่งอื่น

      นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการศึกษาแนวทางการพัฒนาแปลงใหญ่ตามระบบส่งเสริมการเกษตรสู่การขยายผล โดยคณะนักวิจัยของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 - 12 ได้ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จากแปลงใหญ่ที่ชนะเลิศดีเด่น ระดับประเทศในปีนี้ ทั้ง 4 ภาค ได้แก่

       ภาคกลาง : แปลงต้นแบบโคนม ตำบลลำพญากลาง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี, ภาคใต้ : แปลงต้นแบบปาล์มน้ำมัน ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : แปลงต้นแบบข้าว ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ และภาคเหนือ : แปลงต้นแบบลำไย ตำบลพญาแก้ว อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน

      อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ หน่วยงานภาคีทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถือเป็นกลไกที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อผลผลิต ผลลัพธ์ และความยั่งยืน เป็นการยกระดับของการทำการเกษตร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรในอนาคต

      ด้านนายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา (สศท.9) กล่าวว่า จากการถอดบทเรียนพบว่ามีปัจจัยสู่ความสำเร็จ 5 ด้าน คือ 1.ด้านการลดต้นทุน เน้นการสนับสนุนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ตลอดกระบวนการผลิต ตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในทุกแปลง การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภัณฑ์ ฮอร์โมนต่างๆ เพื่อทดแทนสารเคมีให้มากขึ้น การทำบัญชีครัวเรือน บัญชีฟาร์มและบัญชีต้นทุนอาชีพ พร้อมทั้งวิเคราะห์ทางบัญชีเพื่อนำมาปรับปรุงการผลิต รวมทั้งสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษา วิจัย คิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการลดต้นทุนการผลิต และผลักดันให้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง

      2.ด้านการเพิ่มผลผลิต เน้นการนำองค์ความรู้ ผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการผลิตตลอดกระบวนการผลิต ตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรในโครงการอย่างต่อเนื่อง

      3.ด้านการพัฒนาคุณภาพผลผลิต เน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้เกษตรกรในโครงการอย่างต่อเนื่องตลอดกระบวนการผลิต ตั้งแต่เพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ภาคเอกชนมีการสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าสู่สากล

      4.ด้านการตลาด มีการวางแผนการตลาดร่วมกันในทุกภาคส่วน ตั้งแต่เริ่มต้นขบวนการผลิต การประเมินผลผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้า ด้วยการศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดสินค้าทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาสินค้าและรักษาคุณภาพสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด รวมทั้งส่งเสริมให้ผลิตสินค้าในรูปแบบตลาดพันธะสัญญา (Contract Farming) เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา

        5.ด้านการบริหารจัดการ เน้นกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบ Zero Waste ผลักดันเกษตรกรที่มีความสนใจและต้องการพัฒนาตนเองเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ Young Smart Farmer เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อสืบทอดการบริหารจัดการให้มีความยั่งยืน รวมทั้งเชื่อมโยงศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ภายในพื้นที่แปลงใหญ่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ

      ทั้งนี้ สศก. จะได้นำผลการศึกษาดังกล่าวขยายผลไปสู่ความสำเร็จของแปลงใหญ่แห่งอื่นๆ ต่อไป

               อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!