WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ปล่อยกู้กว่า 3 หมื่นล้านดอกเบี้ยพิเศษ-บรรเทาผลกระทบสินค้าเกษตรราคาตก สั่งแบงก์รัฐอุ้มเกษตรกร

       แนวหน้า : กระทรวงการคลัง สั่งแบงก์รัฐผนึกกำลังช่วยเกษตรกร ช่วงประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำธ.ก.ส. ออมสิน รับผิดชอบดูแลชาวสวนยาง สั่งปล่อยกู้สหกรณ์ โรงแปรรูปยาง วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ลูกหนี้จ่าย 1% อีก 3 % รัฐจ่ายให้  ส่วนชาวสวนลำไย กรุงไทย เอสเอ็มอีแบงก์ และ บสย. รับ ไปดูแล

     รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการช่วยเหลือยางที่กำลังมีราคาตกต่ำโดยจะให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน เตรียมให้ความช่วยเหลือด้วยการปล่อยสินเชื่อแก่สหกรณ์การเกษตร โรงงานแปรรูปยาง และอุตสาหกรรมที่ใช้ยางเป็นวัตถุดิบหลักวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย 4% หากเป็นสหกรณ์จะเสียดอกเบี้ยเพียง 1% ส่วนอีก 3% รัฐบาลช่วยจ่ายดอกเบี้ย โดยคาดว่าจะเริ่มปล่อยกู้ได้ในช่วงต้นเดือนกันนายน เพราะต้องรอนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่มี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน หลังจากนั้นเสนอเข้าสู่การพิจารณา คสช.อีกครั้งหนึ่ง

     ส่วนการช่วยเหลือลำไยนั้น ธ.ก.ส. ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบ สถาบันเกษตรกรและผู้ค้ารายย่อยวงเงิน 1,184 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย  4 % สำหรับผู้ประกอบการและผู้ค้ารายย่อย และอัตราดอกเบี้ย 2 % สำหรับสถาบันเกษตรกร เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องในการรวบรวมและแปรรูปเพื่อการส่งออก ได้แก่ การรวบรวมลำไยสด การแปรรูปลำไยอบแห้งทั้งเปลือกและลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง โดยได้เริ่มปล่อยมามาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ล่าสุดปล่อยกู้ไปแล้วประมาณ 400 ล้านบาท

      นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธนาคารเตรียมวงเงินเพื่อช่วยเหลือราคายางไว้ประมาณ 15,000 ล้านบาท แบ่งเป็นปล่อยกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับปล่อยกู้ให้สถาบันการเษตรนำไปรับซื้อยาง 10,000 ล้านบาท และอีก 5,000 ล้านบาทปล่อยกู้สำหรับการปรับปรุงโรงงานแปรรูปยางแท่ง และสนับสนุนการซื้อยางมาแปรรูป โดยเบื้องต้นธ.ก.ส.จะคิดดอกเบี้ยในอัตราพิเศษ 4%(จากปกติคิด5%) โดยรัฐจะช่วยสนับสนุน 3% ที่เหลือ 1% ผู้กู้เป็นคนจ่าย โดยต้องรอเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ กนย.ในเร็วๆ นี้ก่อนจึงจะปล่อยกู้ได้

     นายธัชพล กาญจนกูล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส กลุ่มบริหารงานและลงทุน ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการ กล่าวว่า ออมสินเตรียมวงเงินไว้ 15,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ให้กับโรงงานที่ใช้ยางเป็นวัตถุดิบ ในกลุ่มเอสเอ็มอีอี อาทิ โรงานถุงมือยาง ล้อรถยนต์ โดยโรงงานดังกล่าวสามารถมากู้เงินดังกล่าวขยายโรงงาน เพื่อผลิตสินค้าให้มากขึ้นในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เป็นเงินกู้ขั้นต่ำประเภทเงินกู้ที่มีระยะเวลา (MLR) -4% ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 6.875% ดังนั้นผู้มากู้จ่ายเพียง 2.875% เท่านั้น ที่เหลือ 4% รัฐออกให้ โดยคาดว่าจะเริ่มปล่อยกู้ได้ในช่วงเดือนกันยายน เพราะต้องเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมกรมการธนาคารก่อน

     นายชัยวัฒน์ ปกป้อง ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส.เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้ช่วยเหลือลูกค้าเงินกู้ที่มีปัญหาขายพืชผลเกษตรในช่วงที่ราคาตกต่ำ ทำให้ไม่มีเงินเพียงพอมาชำระหนี้ ด้วยการผ่อนปรนการชำระหนี้โดยจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป และหากลูกค้ารายได้ที่มีปัญหาสามารถเข้าไปพูดคุยขอคำปรึกษาที่สาขาของธ.ก.ส.ได้ ส่วนผู้ที่ต้องการกู้เงินมาช่วยซื้อลำไยนั้นเมื่อหมดวงเงิน 1,000 บาทแล้ว สามารถมากู้ในช่องทางปกติได้ ในอัตราดอกเบี้ย 5-7% ธนาคารพร้อมปล่อยกู้วงเงินไม่อั้น

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าคระรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  เป็นประธานในการประชุม คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (ซูเปอร์บอร์ด) โดยมีพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. ในฐานะรองหัวหน้า คสช. ฝ่ายเศรษฐกิจ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียง โดยพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจ มีความสำคัญ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพราะจะต้องสร้างความพึ่งพอใจให้กับประชาชน ผู้มีรายได้น้อย ที่ได้รับผลประโยชน์จากกิจการรัฐวิสาหกิจ ทั้งในส่วนข้าราชการ ประชาชน ผู้ถือหุ้น

     ทั้งนี้ประเด็นสำคัญคือ รัฐวิสาหกิจ ต้องมุ่งสู่การบริการอย่างแท้จริง โดยการจัดระเบียบ กลุ่ม รัฐวิสาหกิจ ที่มีกำไร เพื่อนำไปสนับสนุน งานด้านอื่นๆให้มากขึ้น เพื่อให้กลุ่มรัฐวิสาหกิจ ที่มีรายได้น้อย หรือขาดทุน สามารถเลี้ยงตัวเองได้ เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะ การหยุดชะงัก

      พล.อ.ประยุทธ์ กว่าอีกว่า การให้บริการประชาชนนั้น จะต้องทันเหตุการณ์ และสภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะ การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน  ในด้านเศรษฐกิจ ปลาบปีหน้าเพื่อเชื่อมต่อ กับการขนส่งการบริการสาธารณูปโภค ด้านพื้นฐาน พร้อมทั้งแผนการพัฒนาในทุกด้าน

    “ผมมุ่งหวังให้พวกเราเป็นหลัก ที่อยู่ในความหวังของประชาชนทั้งประเทศ เพราะคนทั้งประเทศจับตาดูอยู่ อยากให้ทุกคนทำตามเจตนารมณ์และนโยบายที่ผมได้วางไว้ ทั้งนี้คาดหวังว่า จะมีการขับเคลื่อนในทุกๆรัฐวิสาหกิจ เพื่อดำเนินการต่อไป” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!