WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AGRIจนทรธดา มเดชก.เกษตรฯ ติดตามการผลิตกระเทียม 59/60 มาตรการรัฐจับกุมลักลอบนำเข้า ดันราคาดี คาดผลผลิตเพิ่ม 7.1 หมื่นตัน

     สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ติดตามสถานการณ์การผลิตกระเทียม ปี 2559/60 คาด เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดี เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก และมีการวางมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้ากระเทียมจากต่างประเทศ เผย ขณะนี้ผลผลิตกระเทียมออกสู่ตลาดแล้ว และจะออกมมากในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมนี้

 นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตกระเทียม ปี 2559/60 โดยคาดว่าจะมีผลผลิต 71,184 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 5 เนื่องจากราคากระเทียมที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี จึงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น

   สำหรับ ราคากระเทียมสดคละ และกระเทียมแห้งใหญ่คละที่เกษตรกรขายได้ ปี 2559 เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 14.59 บาท และ77.18 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตามลำดับ ประกอบกับกรมศุลกากรได้วางมาตรการเข้มงวดในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้ากระเทียมจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาถูกกว่าเข้ามาจำหน่ายในประเทศ โดยปี 2559 สามารถจับกุมผู้ที่ลักลอบนำเข้ากระเทียมได้ประมาณ 170 ราย คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 12 ล้านบาท ส่งผลให้พ่อค้ามีความมั่นใจในการรับซื้อผลผลิตกระเทียมจากเกษตรกร ในราคาที่สูงขึ้น

     ด้านการส่งออกกระเทียมและผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะส่งออกไปจำหน่ายให้แก่ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และยุโรป โดยปี 2559 มีการส่งออกกระเทียมและผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศ ปริมาณกว่า 1,300 ตัน มูลค่าประมาณ 60 ล้านบาท

 รองเลขาธิการ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ผลผลิตกระเทียมฤดูกาลใหม่เริ่มทยอยออกสู่ตลาดแล้วตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2559 และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม 2560 โดยส่วนใหญ่เป็นผลผลิตของอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย อำเภอฝาง อำเภอเวียงแหง และอำเภอเชียงดาว ของจังหวัดเชียงใหม่

     อย่างไรก็ตามในปีนี้ คาดว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องราคากระเทียมตกต่ำ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะได้มีการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ ท่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของการผลิตและการตลาดกระเทียม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจพืชสวน สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร  โทร. 0 2561 4737 หรือ 0 2579 0612 ในวันและเวลาราชการ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!