WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1pIG CHIC

สัตวแพทยจุฬาฯย้ำหมู ไก่ไทยปลอดภัยต่อการบริโภค

    สัตวแพทย์จุฬาฯย้ำการใช้ยาในการเลี้ยงทั้งหมู-ไก่ของไทย ระบุโดยภาพรวมทำถูกต้อง ระบุหลักการใช้ยาเฉพาะที่จำเป็น ยืนยันหมู-ไก่ไทยปลอดภัยต่อการบริโภค

   ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์  รศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ จุฬาฯ และรศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์ จุฬาฯ แถลงข่าวเรื่องเชื้อดื้อยากับการใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ ณ อาคาร60ปี สัตวแพทยศาสตร์จุฬาฯ

     ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวถึงความจำเป็นในการใช้ยาปกติชีวนะในสุกรการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากปศุสัตว์ในฟาร์มอยู่ร่วมกันเป็นฝูงต่างจากคนและสัตว์เลี้ยง จึงมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม หากภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรค โดยมีสัตวแพทย์เป็นผู้ควบคุมการใช้ยาในฟาร์ม ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม มีระยะเวลาในการหยุดยา และมีการพักเล้าเพื่อให้ปลอดเชื้อ ก่อนจะนำสัตว์รุ่นใหม่เข้าเลี้ยง โดยภาพรวมทำได้ถูกต้อง

    รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ว่าเป็นการ ศึกษาย้อนหลังเชื้อแช่แข็งจาก 6พื้นที่ใน 28ฟาร์ม รวม 337ตัวอย่าง พบเชื้ออีโคไลย์ที่มียีนดื้อยา mcr-1 เพียง 6.8% โดยพบในสุกรขุนระยะแรก และลดลงเรื่อยๆเมื่อเข้าสู่ระยะหยุดยาก่อนส่งโรงฆ่าสัตว์ ส่วนตัวอย่างที่ได้จากเนื้อสุกรไม่พบอีโคไลย์ที่มี mcr-1 ทั้งนี้ในประเทศไทยพบเชื้อดังกล่าวในเวลา ใกล้เคียงกันในปี 2555 แต่ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกันและยังไม่พบหลักฐานความเชื่อมโยงระหว่างสัตว์สู่คนในประเทศไทย

   รศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น ผอ.ศูนย์ติดตามการดื้อยาของโรคอาหารเป็นพิษ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เนื้อสุกรที่มีจำหน่ายภายใต้การดูแลของกรมปศุสัตว์ปลอดภัยต่อการบริโภค เพราะโดยปกติสุกรที่เข้าสู่กระบวนการเชือดชำแหละเป็นสุกรที่มีสุขภาพดี ผ่านกระบวนการในโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน และนำมาปรุงให้สุกก่อนบริโภค

    "การหยุดใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดชนิดหนึ่งอาจไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาเพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดเชื้อดื้อยาไม่ได้จำกัดที่ยาปฏิชีวนะ การลดการใช้ยาคอลิสตินอาจลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ระดับหนึ่งซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะลดได้แค่ไหน และยังมียาปฏิชีวนะอื่นๆที่ทำให้เกิดการคัดเลือกร่วมหรือดื้อข้ามได้ จุดสำคัญอยู่ที่การควบคุมการใช้ยาให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งมีความจำเป็นทั้งในยาคนและยาสัตว์" รศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!