WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aShrim

นายก ส.กุ้งไทยคาดจะผลิตกุ้งปีหน้าได้ถึง 350,000 ตัน  

   สมาคมกุ้งไทยจัดงานพบปะสื่อมวลชน โดยมีนายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย เป็นประธาน พร้อมเสวนา ‘ภาพรวมสถานการณ์การเพาะเลี้ยงกุ้งไทยปี 2559 และแนวโน้มในอนาคต’นายบรรจง นิสภวาณิชย์ อุปนายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า ช่วงปี 2556-2557 ผู้เลี้ยงกุ้งประสบปัญหาโรคตายด่วน หรือ อีเอ็มเอส แต่ปี 2558 ผู้เลี้ยงกุ้งเริ่มเห็นแนวทางแก้ปัญหาสามารถผลิตกุ้งป้อนตลาดได้ 260,000 ตัน และปี 2559 ผลิตกุ้งได้ 300,000 ตัน

   ส่วนปี 2560 คาดการณ์ว่าจะผลิตกุ้งได้ถึง 350,000 ตัน ซึ่งปี 2559 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยผลิตกุ้งได้มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35 จากทั้งหมด โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นแชมป์ผลิตกุ้งมากที่สุดของประเทศถึง 110,000 ตัน ส่วนภาคตะวันออกผลิตกุ้งได้ร้อยละ 25 ภาคกลางร้อยละ 19 และภาคใต้ฝั่งอันดามันร้อยละ 18

     นายบรรจง กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยที่จะทำให้การผลิตปี 2560 เพิ่มขึ้นมาจากการปรับปรุงพันธุ์ และได้พันธุ์กุ้งขาวที่มีการเจริญเติบโตดีที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก รวมทั้งมีการอนุบาล ระมัดระวังเรื่องการผลิตมากขึ้น และที่สำคัญคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทยมีการรวมตัวเพื่อศึกษาหาข้อมูลและนำมาประยุกต์ใช้จนได้วิธีการเลี้ยงกุ้งดีที่สุด ซึ่งในอนาคตจะเน้นไปที่ระบบ 3 สะอาดคือ พื้นบ่อสะอาด น้ำสะอาด และลูกกุ้งสะอาด สำหรับราคากุ้งขาวปัจจุบัน 120-140 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ผู้เลี้ยงกุ้งมีกำลังใจในการประกอบอาชีพนี้มากขึ้น

นายก ส.กุ้งไทยชี้ ปี 59  การเลี้ยงกุ้งไทยฟื้นตัว คาดเพิ่มผลผลิตได้ 10%  ขณะที่ประเทศคู่แข่งมีแนวโน้มผลผลิตลด เป็นโอกาสกุ้งไทย

   ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ  ประกอบด้วย ท.พ.สุรพล  ประเทืองธรรม นายกกิตติมศักดิ์สมาคมกุ้งไทย และนายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย นายบรรจง  นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย นายสมชาย ฤกษ์โภคี กรรมการบริหารสมาคม และ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี นายชัยพร  เอ้งฉ้วน กรรมการบริหารสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์กุ้งของไทย ปี 2558 ว่า ผลผลิตกุ้งปี 2558 โดยรวมประมาณ 260,000  ตัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 13 ถือเป็นสัญญาณที่ดี ชี้ให้เห็นว่าเราสามารถรับมือ-แก้ปัญหาโรคตายด่วน หรืออีเอ็มเอส (EMS) ได้ดีขึ้น และปีหน้าผลผลิตกุ้งจะดีขึ้นเป็นลำดับ ในขณะที่ผลผลิตกุ้งโลกมีแนวโน้มลดลง ปี 59 จึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมกุ้งไทย อย่างไรก็ตาม ภาครัฐต้องเร่งแก้ปัญหาการกีดกันการค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องแรงงาน/แรงงานทาสเพราะจะเป็นประเด็นที่ถูกกดดันจากประเทศคู่ค้า

     “ประมาณการผลผลิตปี2558 ผลผลิตกุ้งไทยอยู่ที่ประมาณ 260,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่ผลิตกุ้งได้ 230,000 ตัน หรือร้อยละ 13 ทั้งนี้จากการที่ผู้เลี้ยงปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยง ทำให้สามารถแก้ปัญหาโรคระบาด EMS ได้สำเร็จ  ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 2.04 ล้านตัน ลดลงจากปี 2557 ประมาณร้อยละ 8 โดยประเทศคู่แข่งหลักมีปริมาณผลผลิตลดลง โดยเฉพาะ จีน เวียดนาม และอินเดีย

    ด้านการส่งออก จากข้อมูลการส่งออกกุ้ง เดือน ม.ค.-ต.ค. ปีนี้อยู่ที่ 127,871 ตัน มูลค่า 44,256 ล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 ปริมาณ ลดลงร้อยละ 1.21 มูลค่าลดลงร้อยละ 14.43” นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าว

  นายบรรจง นิสภวาณิชย์  ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย กล่าวถึง การเลี้ยงกุ้งภาคตะวันออกว่า “ภาคตะวันออกในปี 2558 ผลิตกุ้งได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10  มีการชะลอตัวบ้างในช่วงปลายปีเนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม ลูกกุ้งในปี 2558 มีคุณภาพดีขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งมีความมั่นใจลงกุ้งมากขึ้น และปีหน้าผลผลิตเพิ่มขึ้นเพราะเกษตรกรเตรียมลงกุ้งเลี้ยงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี และจะมีการเพิ่มการจัดการการเลี้ยงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”

     นายสมชาย ฤกษ์โภคี กรรมการบริหารสมาคมฯ และ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า “สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งประสบปัญหาโรค EMS มาเป็นเวลา 3 ปีเต็ม ได้มีการปรับปรุงและหาวิธีการเลี้ยง โดยปรับโครงสร้างฟาร์มและวิธีการจัดการ จนได้วิธีการเลี้ยงที่สามารถเลี้ยงได้ประสบผลสำเร็จ ทำให้มีผลผลิตถึงเดือนพฤศจิกายน ประมาณ 80,700 ตัน คิดเป็นประมาณ 38% ของประเทศ และด้วยแนวทางการเลี้ยงรูปแบบใหม่นี้ จะทำให้ผลผลิตกุ้งในปี 2559 เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน”

  นายชัยพร เอ้งฉ้วน กรรมการบริหารสมาคมฯ กล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภาคใต้ในฝั่งอันดามันว่า “ปัญหา EMS ในภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีแนวโน้มดีขึ้น จาก 2 ปัจจัยคือ สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และเกษตรกรมีการปรับปรุงวิธีการเลี้ยง ทำให้ผลผลิตกุ้งภาคใต้ฝั่งอันดามันเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 15 โดยมีการผลิตทั้งกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ สำหรับพื้นที่อันดามันถือเป็นแหล่งผลิตกุ้งกุลาดำที่มีศักยภาพ แต่เนื่องจากตลาดหลักของกุ้งกุลาดำคือการส่งกุ้งมีชีวิตไปจีน ทำให้บางพื้นที่มีศักยภาพแต่ไม่สามารถเลี้ยงได้ เนื่องจากไม่สามารถส่งออกได้”

    ท.พ.สุรพล  ประเทืองธรรม นายกกิตติมศักดิ์สมาคมกุ้งไทย และนายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กล่าวว่า “ตลอด 3 ปี ที่อุตสาหกรรมกุ้งไทยเผชิญ ปัญหาโรค EMS แต่ภาคผ้เลี้ยงไม่เคยถอดใจ และพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่จนปัจจุบันเราสามารถแก้ปัญหาการผลิตได้อย่างมั่นใจ และปี 59 จะเป็นโอกาสพลิกฟื้น ของอุตสาหกรรมกุ้งไทย เพราะจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ปริมาณ และคุณภาพ จากปัจจัยหลักทั้งเรื่องคุณภาพลูกกุ้ง และการปรับวิธีการเลี้ยง ในขณะที่ประเทศค่แข่งจะผลิตได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม ห้องเย็น และผู้เลี้ยง จะต้องมีการประสานข้อมูลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาราคาตกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกัน”

    “ปี 2559 จะเป็นปีที่การเลี้ยง/อุตสาหกรรม กุ้งไทยฟื้นตัว ผลผลิตกุ้งไทยจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตกุ้งโลกมีแนวโน้มลดลง เช่น อินเดีย ที่ถือเป็นประเทศที่ผลิตกุ้งได้มากที่สุด 380,000 ตัน ในปี 2558  ปีหน้าคาดว่าจะผลิตกุ้งลดลงมาก เนื่องจากประสบปัญหาโรคไมโครสปอริเดีย ที่อินเดียยังไม่รู้วิธีป้องกันจัดการฯ ขณะที่ประเทศไทยมีบริษัทที่มีความมั่นใจ ที่จะสามารถป้องกัน-แก้ไขปัญหานี้ได้ โดยสามารถเพาะลูกกุ้งที่ไม่ติดเชื้อนี้ ซึ่งเมื่อเกษตรกรนำไปเลี้ยง จะเลี้ยงได้ เป็นต้น  การที่ผลผลิตกุ้งของโลกจะลดลงนี้ ทำให้ราคากุ้งของโลกน่าจะสูงขึ้น นอกจากนี้ ผู้นำเข้าจะหันกลับมาซื้อกุ้งจากประเทศไทย เพราะยอมรับ-เชื่อมั่นในความสม่ำเสมอของคุณภาพกุ้งไทย หลังจากที่หายไปเนื่องจากไทยมีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นเรื่องปริมาณ และความสม่ำเสมอของวัตถุดิบในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังคือ ประเด็นแรงงาน/แรงงานทาส ที่จะถูกนำมาเป็นประเด็นสำคัญ กดดันประเทศไทยต่อไป จากประเทศสหรัฐ และอียู” นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวทิ้งท้าย

สมาคมกุ้งไทยเชื่อแนวโน้มปี 60 ดีขึ้นหลังฟื้นจากปัญหาโรค EMS คาดส่งออกโต 10-15%

      นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์กุ้งของไทยปี 59 ว่า มีผลผลิตกุ้งโดยรวมประมาณ 3 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 15% หลังจากที่การเลี้ยงเริ่มฟื้นตัวจากการแก้ไขปัญหาโรคตายด่วน (EMS) ได้สำเร็จ โดยการปรับปรุงฟาร์มและการจัดการการเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเชื่อว่าในปี 60 จะเป็นปีที่ดีสำหรับเกษตรกร ทั้งราคาและผลผลิตที่น่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี

    "ประมาณการผลผลิตปี 59 ผลผลิตกุ้งไทยอยู่ที่ประมาณ 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 58 ที่ผลผลิตกุ้งได้ 260,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 15% ทั้งนี้จากการที่ผู้เลี้ยงปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยง ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาโรคระบาด EMS ได้สำเร็จ รวมถึงการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 2.363 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยที่ 1%"นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าว

      สำหรับปริมาณการส่งออกกุ้งในเดือน ม.ค.-ต.ค.59 อยู่ที่ 160,935 ตัน คิดเป็นมูลค่า 54,483 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จะพบว่าปริมาณเพิ่มขึ้น 25.86% ส่วนมูลค่าเพิ่มขึ้น 23.11%

     นายสมศักดิ์ คาดว่าทั้งปี 59 จะสามารถส่งออกกุ้งได้ 2 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 25% คิดเป็นมูลค่าราว 6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% ขณะที่ในปี 60 คาดว่าจะสามารถส่งออกกุ้งได้ 2.3-2.5 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปีนี้ 10-15%

    "อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ทั้งนี้เพราะเกษตรกรมีความชัดเจนในแนวทางการเลี้ยงมากขึ้น โดยเฉพาะแนวทาง 3 สะอาด คือ พื้นบ่อต้องสะอาด น้ำต้องสะอาด และลูกกุ้งต้องสะอาด ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะทำให้ลูกกุ้งเลี้ยงโตได้ แต่ยังไม่พอ หากต้องการทำกำไรต้องหาลูกกุ้งที่โตเร็วที่สุด" นายสมศักดิ์ กล่าว

     แนวโน้มราคากุ้งยังมีเสถียรภาพ ด้านมูลค่าการส่งออกกุ้งในปีหน้าขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน แต่มองว่าแนวโน้มความต้องการอาหารทะเลทั่วโลกยังมีมีอยู่สูง โดยตลาดส่งออกหลักคือ สหรัฐอเมริกา 40% ญี่ปุ่น 20-30% จีนเกือบ 10% ซึ่งอนาคตเป็นตลาดที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 10% ได้ ส่วนยุโรปเรามองว่าเป็นตลาดที่ยังต้องจับตาดูเนื่องจากมีปัญหาเศรษฐกิจหมักหมม มีเพียงเยอรมนีเพียงประเทศเดียวที่พอจะค้ำจุนประเทศสมาชิกอยู่ได้

     สำหรับการเปลี่ยนประธานาธิบดีของสหรัฐฯจากพรรคเดโมแครตมาเป็นพรรครีพับลิกัน มองว่าถึงจะเปลี่ยนผู้นำเปลี่ยนนโยบายการค้าค้าอย่างไรพฤติกรรมการบริโภคก็คงไม่เปลี่ยน

    นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ด้านการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมกุ้งไทยน่าจะส่งออกมีแนวโน้มสดใสขึ้นจากหลายๆปัจจัย คือ การเพาะเลี้ยงกลับมาสู่ปกติหลังแก้ปัญหาโรค EMS ได้ มีการพัฒนาคุณภาพการเลี้ยง ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรลดลง และจากข่าวที่เม็กซิโกได้อนุญาตให้นำเข้ากุ้งจากไทยแล้ว หลังจากที่ได้มีการสั่งระงับการนำเข้า ตั้งแต่ปี 2556 เนื่องจากเกิดการระบาดของโรคตายด่วน (EMS) ในประเทศไทย ถือเป็นข่าวที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กุ้งไทย

     ส่วนสถานการณ์ของประเทศอื่นๆ นั้น จีน ซึ่งเคยผลิตได้มากที่สุด แต่มาปี 59 ผลิตลดลง 8% เหลือ 550,000 ตัน แต่การบริโภคดีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศโตวันโตคืน แต่ยังคงประสบปัญหาโรค EMS ทำให้ต้องหยุดลงกุ้งหรือเลิกเลี้ยงไป โดยเฉพาะมณฑลที่อยู่ทางภาคใต้ เช่น กวางตุ้ง กวางสี ไหหนาน ส่วนภาคกลางขึ้นไปทางเหนือที่เลี้ยงแบบโรงเรือนปิดยังทำได้ดี แนวโน้มผลผลิตปีหน้าน่าจะใกล้เคียงกับปีนี้ แต่ส่วนใหญ่เลี้ยงเพื่อบริโภคภายในประเทศ

     อินเดีย ปัจจุบันเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ผลผลิตปีนี้อยู่ที่ประมาณ 4 แสนตัน เพิ่มขึ้น 5% เนื่องจากมีการขยายพื้นที่เลี้ยง แต่มีปัญหาเรื่องโรคตัวแดงดวงขาว โรคขี้ขาวจากการจัดการฟาร์มที่ไม่ดีพอ แนวโน้มผลผลิตปีหน้าน่าจะยังทรงตัว แต่ขนาดตัวน่าจะเล็กลงอยู่ที่ประมาณ 50 ตัว/กก. และมีปัญหาสารตกค้างทำให้สินค้าถูกตีกลับบ้าง เผาทำลายบ้าง

              เวียดนาม ผลผลิตปีนี้เพิ่มขึ้นมา 5% อยู่ที่ 220,000 ตัน ราคากุ้งปรับตัวลดลง เกษตรกรลงกุ้งช้า ฝนมาเร็วกว่าปกติ สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน บางบ่อยังเผชิญโรคเลี้ยงแต่ไม่โต แต่ก็ไม่ตายทำให้ต้นทุนเกษตรกรสูงขึ้น โรคระบาดรุมเร้าทั้งขี้ขาว EMS ตัวแดงดวงขาว ซึ่งเวียดนามถึงจะโปรโมทการเลี้ยงกุ้งแข่งกับประเทศไทย แต่ผลผลิตก็ยังย่ำอยู่ที่ 2 แสนตันไม่เกิน 3 แสนตัน

     นายสมศักิด์ กล่าวต่อว่า ถึงแม้ปีหน้าก็ยังเป็นปีที่ดีสำหรับกุ้งไทย แต่ก็มีข้อเรียกร้องให้ภาครัฐประชาสัมพันธ์มาตรฐานแรงงานในอุตสาหกรรมกุ้งตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในการปรับปรุงแก้ไขเรื่องแรงงานที่ไม่เป็นธรรม เช่น มาตรฐาน GLP หรือ มาตรฐาน TLS 8000

     พร้อมกันนั้น ควรจะเจรจากับประเทศจีนเรื่องภาษี VATซึ่งจะถูกเรียกเก็บประมาณ 13% หากเป็นการนำเข้าผ่านด่านประเทศจีนโดยตรง ที่ผ่านมาผู้นำเข้าไปนำเข้าผ่านประเทศเวียดนาม ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษไม่เสียภาษี VAT และเจรจากับรัฐบาลออสเตรเลียให้สิทธิพิเศษในการนำเข้ากุ้งดิบกับประเทศไทย

      ด้านนายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย กล่าวถึงภาพรวมการเลี้ยงกุ้งไทยในปีนี้ว่า ผลผลิตกุ้งไทยปีนี้เพิ่มขึ้น 15% โดยภาคที่มีผลผลิตมากที่สุด ได้แก่ ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยเพิ่มขึ้น 38% ภาคตะวันออก 25% ภาคกลาง 19% และภาคใต้ฝั่งอันดามัน 18% ทั้งนี้ ลูกกุ้งในปีนี้มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มีคุณภาพและการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น รวมทั้งการตรวจคุณภาพการผลิตและตรวจโรคที่เป็นอันตรายให้ลูกกุ้งมีความแข็งแรง นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงกุ้งยังมีการร่วมกันศึกษาข้อมูลและประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงวิธีการเลี้ยงที่เหมาะสม โดยเฉพาะระบบการเลี้ยงแบบ 3 สะอาด ซึ่งเป็นการเลี้ยงที่เลียนแบบการอนุบาลลูกกุ้งที่ต้องมีความสะอาดของบ่อ น้ำ และลูกกุ้ง

    ขณะที่ท.พ.สุรพล ประเทืองธรรม นายกกิตติมศักดิ์สมาคมกุ้งไทย และนายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กล่าวว่า คุณภาพของสินค้ากุ้งเป็นสิ่งสำคัญที่จะเอาชนะคู่แข่ง โดยคุณภาพของสินค้านอกจากเรื่องของความปลอดภัยอาหาร สวย สด สะอาด รสชาติดีแล้ว ปัจจุบันผู้บริโภคยังต้องการคุณภาพด้านอื่นๆ เช่น การตรวจสอบย้อนกลับ วัตถุดิบที่นำมาทำอาหารกุ้ง สวัสดิภาพแรงงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมกุ้งไทย โดยเฉพาะการปลอดจากยาและสารตกค้าง ซึ่งยังเป็นจุดเด่นของกุ้งไทยที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชีย

    นายสมชาย ฤกษ์โภคี เลขาธิการสมาคมกุ้งไทย และประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี ตัวแทนผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย กล่าวว่า ข้อจำกัดของอุตสาหกรรมกุ้งไทยคือพื้นที่ทั่วประเทศมีจำกัดคือ 3 แสนไร่ และไม่สามารถเพิ่มได้มากไปกว่านี้ ทำให้เกษตรกรต้องปรับตัวอย่างมากกว่าทำอย่างไรเราจึ้งจะแข่งขันได้ ได้กุ้งที่มีคุณภาพ ทำให้ต้องมอง 3 เรื่องคือ 1.การเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ 2. เพิ่มขนาดกุ้ง 3. ระยะเวลาการเพาะเลี้ยงสั้นลง

     ในเรื่องเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่นั้น ในส่วนของการเลี้ยงกุ้งที่สุราฎร์ธานี ซึ่งมีพื้นที่การเลี้ยง 70,000 ไร่ และมีการจัดการปัญหาของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่การเลี้ยง เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างของระบบเลี้ยงมาใช้น้ำสะอาดมาก ทำให้ต้องตัดส่วนที่เป็นบ่อเลี้ยงมาเป็นบ่อพักน้ำเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลผลิตกลับมาเท่าเดิม ผู้เลี้ยงที่สุราษฎร์ธานีจึงหันมาเน้นเรื่อง 3 เรื่องคือเพิ่มปริมาณต่อไร่จาก 150,000 ตัวต่อไร่ เป็น 2-3 แสนตัวต่อไร่ ซึ่งทดลองแล้วจึงตอบโจทย์ว่าพื้นที่เลี้ยงลดลงแต่ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น

     ส่วนการเพิ่มขนาดกุ้ง จากขนาดปกติ 40 ตัว/กก. ราคาอยู่ที่ประมาณ 270 บาท เพิ่มเป็น 30 ตัว/กก. ราคาประมาณ 300 บาท ขนาด 20 ตัว/กก.ราคาอยู่ที่ 340 บาท และ ลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลง จากเดิมที่ขนาด 40 ตัว/กก.ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 120 วัน แต่ปัจจุบันใช้เวลาเลี้ยงแค่ 90 วัน ขนาด 20 ตัวใช้เวลา 120-130 วันก็จับขายได้แล้ว ตรงนี้คือการลดต้นทุนของเกษตรกรได้โดยอัตโนมัติ

      อินโฟเควสท์

นายก ส.กุ้งไทย มองแนวโน้มกุ้งปี 60 ดีขึ้น หลังฟื้นตัวจากโรค EMS-ผลผลิตกุ้งโลกไม่เพิ่มตามที่คาด

            นายก ส.กุ้งไทยเผยแนวโน้มสถานการณ์กุ้งไทยปี 60 มีแนวโน้มสดใส ทั้งราคาและผลิตผลิต หลังปีนี้ ผลผลิตคาดอยู่ที่ 3 แสนตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15 หลังฟื้นตัวจากปัญหาโรคอีเอ็มเอส ด้านผลผลิตกุ้งโลกไม่เพิ่มตามที่คาด

    นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์กุ้งของไทย ปี 2559 ว่า ผลผลิตกุ้งปี 2559 โดยรวมประมาณ 300,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 15 หลังจากที่การเลี้ยงเริ่มฟื้นตัว จากการประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาโรคตายด่วน หรืออีเอ็มเอส (EMS) ได้สำเร็จโดยการปรับปรุงฟาร์มและการจัดการการเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ ปี 2560 จะเป็นปีที่ดีสำหรับเกษตรกร ทั้งราคา และผลผลิตน่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี

      “ประมาณการผลผลิตปี 2559 ผลผลิตกุ้งไทยอยู่ที่ประมาณ 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ผลิตกุ้งได้ 260,000 ตัน หรือร้อยละ 15 ทั้งนี้จากการที่ผู้เลี้ยงปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยง ทำให้สามารถแก้ปัญหาโรคระบาด EMS ได้สำเร็จ รวมถึงการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.363 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อยร้อยละ 1”

      ด้านการส่งออก จากข้อมูลการส่งออกกุ้ง เดือน ม.ค. -ต.ค. ปีนี้อยู่ที่ 160,935 ตัน มูลค่า 54,483 ล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 ปริมาณ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.86 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.11” นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าว

   นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย กล่าวถึง ภาพรวมการเลี้ยงกุ้งไทยปี 2559 ว่า ผลผลิตกุ้งไทยปี 2559 ผลิตกุ้งได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 โดยภาคที่มีผลผลิตมากที่สุดได้แก่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประมาณร้อยละ 38 และภาคตะวันออกร้อยละ 25 ภาคกลางร้อยละ 19 และภาคใต้ฝั่งอันดามันร้อยละ 18 ทั้งนี้ ลูกกุ้งในปี 2559 มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มีคุณภาพและการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น รวมถึงการตรวจคุณภาพการผลิตและตรวจโรคที่เป็นอันตราย ให้ลูกกุ้งมีความแข็งแรง นอกจากนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีการร่วมกันศึกษาข้อมูลและประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงวิธีการเลี้ยงที่เหมาะสม โดยเฉพาะระบบการเลี้ยงแบบ 3 สะอาด ซึ่งเป็นการเลี้ยงที่เลียนแบบการอนุบาลลูกกุ้ง ที่ต้องมีความสะอาดของ บ่อ น้ำ และลูกกุ้ง

    นายปกครอง เกิดสุข อุปนายกสมาคมกุ้งไทย และประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ กล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภาคใต้ในฝั่งอันดามันว่า  ปรับตัวดีขึ้น ทั้งการลงกุ้งและอัตรารอดดีขึ้น โดยใช้พื้นที่เลี้ยงเท่าเดิม แต่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ประมาณร้อยละ 30 นอกจากนี้ ยังมีการควบคุมไม่ให้ผลผลิตออกมามากเกินกำลังการผลิตของโรงงานแปรรูป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพราคา

     นายสมชาย ฤกษ์โภคี เลขาธิการสมาคมฯ และประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งประสบปัญหาโรค EMS มาเป็นเวลา 4 ปีเต็ม และได้มีการปรับปรุงและหาวิธีการเลี้ยงจนประสบผลสำเร็จมาเป็นลำดับ โยเฉพาะภาคใต้ตอนบน ที่มีการนำเอาระบบน้ำโปร่งมาใช้และเลี้ยงโดยเน้นเรื่องความสะอาดเป็นหลัก โดยผลผลิตปี 2559 คาดว่าอยู่ที่ 110,000 ตันหรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25 คาดว่าในปี 2560 จะสามารถพัฒนาระบบการเลี้ยงแบบบริหารความเสี่ยงเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมกุ้งต่อไป

    นายโสภณ เอ็งสุวรรณ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย และกรรมการบริหารสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภาคตะวันออก มีผลผลิตเพิ่มจากปี 2558 เล็กน้อย เนื่องจากปัญหาสภาพอากาศในบางช่วงและปัญหาโรคระบาด อย่างไรก็ตาม ถือเป็นโชคดีที่กระทรวงเกษตรฯ ผลักดันโครงการประชารัฐ เกษตรแปลงใหญ่ให้กับสหกรณ์ และกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งภาคตะวันออก ซึ่งจะทำให้มีการพัฒนาปรับปรุงบ่อและวิธีการเลี้ยงให้กับเกษตรกรในพื้นที่ต่อไ

     ท.พ.สุรพล ประเทืองธรรม นายกกิตติมศักดิ์สมาคมกุ้งไทย และนายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กล่าวว่า คุณภาพของสินค้ากุ้งเป็นสิ่งสำคัญที่จะเอาชนะคู่แข่ง โดยคุณภาพของสินค้านอกจากเรื่องของความปลอดภัยอาหาร สวย สด สะอาด รสชาติดีแล้ว ปัจจุบันผู้บริโภคยังต้องการคุณภาพด้านอื่นๆ เช่น การตรวจสอบย้อนกลับ วัตถุดิบที่นำมาทำอาหารกุ้ง สวัสดิภาพแรงงาน และเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมกุ้งไทย โดยเฉพาะการปลอดจากยาและสารตกค้างซึ่งยังเป็นจุดเด่นของกุ้งไทยที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆในเอเชี

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!