WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กรมส่งเสริมการเกษตรจับมือวิทยาลัยเกษตรโคอิบูจิ ส่ง 5 ยุวเกษตรกรไทย ฝึกงานฟาร์มญี่ปุ่น

    ไทยโพสต์ : กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือ วิทยาลัยเกษตรกรรมโคอิบูจิของญี่ปุ่น จัดโครงการแลกเปลี่ยนยุวเกษตรกรประจำปี 2557 โดยคัดเลือก 5 เยาวชนไทยส่งไปฝึกงานและเรียนรู้ด้านการเกษตร-การใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 30 กรกฎาคม 2557 หวังเจียรไนเพชรเม็ดงามเพื่อกลับมาเป็นกำลังสำคัญให้กับภาคการเกษตรปไทยต่อไปในอนาคต

    นายสุรพล จารุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรและวิทยาลัยเกษตรกรรมโคอิบูจิ (Koibuchi College of Agriculture) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้านการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตรชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมกันดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนยุวเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบยุวเกษตรกรประจำปี 2557 เพื่อพัฒนาเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ให้แก่เยาวชนเกษตรกรของทั้ง 2 ประเทศ และนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของตัวเองและชุมชนให้ดีขึ้น

    โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2549 หรือรวมเป็นระยะเวลา 8 ปีแล้ว โดยแต่ละกรมสง่เสริมการเกษตรจะทำการคัดเลือกยุวเกษตรกรจำนวน 5 ราย ซึ่งในปีนี้ ได้แก่ นายนครินทร์ วงษ์จิตตะ นางสาวกาญจนา แก้วศรีงาม จังหวัดสุพรรณบุรี นายณัฐพล พิทักษ์คีรี จังหวัดระยองและนายมาโนช เจนจัดการ จังหวัด จันทบุรี พร้อมด้วย ที่ปรึกษายุวเกษตรกร ได้แก่ นางพัชรีย์ โชติรัตน์ จังหวัดปัตตานี และว่าที่ ร.ต. วงศ์สถิต เพ็ชรแก้ว จังหวัดกระบี่ และเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะพี่เลี้ยง เดินทางไปศึกษาดูงานและฝึกงานด้านการเกษตรกับครองครัวเกษตรกรญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 เดือน

   นายสุรพล กล่าวอีกว่า ยุวเกษตรกรแต่ละคน จะถูกแยกส่งไปฝึกงานตามฟาร์มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร เช่น ฟาร์ม ปศุสัตว์ สวนดอกไม้ สวนไม้ผลเมื่องหนาว ไร้องุ่น สตอบอรี่ นาข้าว ตามที่วิทยาลัยเกษตรกรรมโคอิบูจิเป็นผู้จัดหาให้ โดยยุวเกษตรกร 1 คน จะได้ไปพักอยู่กับครอบครัวเกษตรกรชาวญี่ปุ่น 1 ครอบครัว ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งของทุก ๆ คน ที่จะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่แปลกใหม่หลากหลาย เพื่อทำให้ยุวเกษตรกรไทยมีโลกทัศน์กว้างขึ้น เพราะประเทศญี่ปุ่นนอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีการเกษตรที่ก้าวหน้าประเทศหนึ่งแล้ว เกษตรกรของญี่ปุ่นยังได้ชื่อว่า มีความขยันขันแข็ง มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ และมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกค่อนข้างกว้างขวาง ขณะที่ระบบสหกรณ์ของญี่ปุ่น ก็มีชื่อเสียงทั้งด้านการวางระบบ การบริหารจัดการ และการตลาด

  ทางด้านนายสงกรานต์ ภักดีคง ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ยุสเกษตรกร จะได้รับ ก็คือการได้ฝึกปฏิบัติงานในฟาร์ม การเรียนรู้การบริหารจัดการ และการใช้เทคโนโลยีการเกษตร เพราะแม้พันธุ์พืชในประเทศจะถือเป็นพืชเมื่องร้อง ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นพืชเมืองหนาว แต่พื้นฐานต่างๆ เช่น การเพาะปลูก การดูแลรักษา การบำรุงดิน การป้องกันศัตรูพืช จะอาศัยหลักการคล้าย ๆ กันซึ่งคาดว่ายุวเกษตรกรสามารถนำความรู้เหล่านี้กลับมาประยุกต์ใช้ได้ โดยเฉพาะการนำเครื่องจักรกลมาใช้ในการเกษตรกรรม เช่น การนำเครื่องบินเล็กมาฉีดพ่นปุ๋ยให้กับพืชผลในฟาร์มการใช้เครื่องมือตรวจวัดระดับความชื้นในอากาศ ซึ่งเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ ประเทศญี่ปุ่นก็พยายามจะขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรของไทยนำมาใช้ในอนาคต เพราะเขามองว่า ประเทศไทยมีศักยภาพมากพอในด้านการผลิตพืชผลทางการเกษตร

   และเมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้มีโอกาสการเดินทางไปเยี่ยมเยียนและติดตามยุวเกษตรกรทั้ง 5 คน ซึ่งพบว่ายุวเกษตรกรสามารถเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการเกษตร วัฒนธรรม และวิถีชีวิต จากเกษตรกรญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี นายสงกรานต์ กล่าวทิ้งท้าย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!