WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AGRIจนทรธดาเร่งคลอดยุทธศาสตร์เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสศก.ระดมสมองยกร่าง-ขับเคลื่อนภาคเกษตรสู่ความยั่งยืน

       แนวหน้า : นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก. ร่วมกับศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดสัมมนาการจัดทำยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ พ.ศ.2560-2564 ครั้งที่ 2 ที่โรงแรม รามาการ์เด้นส์ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม เพื่อร่วมกันวิเคราะห์และสังเคราะห์ในการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ หลังที่ได้ร่วมกันพิจารณาให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา

     ปัจจุบัน ความแปรปรวนด้าน ดินฟ้าอากาศมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งรายงานจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุว่า ภาคการเกษตรเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศรุนแรงที่สุด และแม้ที่ผ่านมา ทั่วโลกจะพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรอย่างต่อเนื่อง แต่การทำการเกษตร ส่วนใหญ่ซึ่งต้องพึ่งพาสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นหลัก ยังคงเกิดความสูญเสีย ในแต่ละปีที่คิดเป็นมูลค่ามหาศาล

     นอกจากนี้ รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2557 ระบุว่า หากภาคเกษตรไม่มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแล้ว ภายในปี 2593 หรือประมาณอีก 30 ปีข้างหน้า ผลผลิตเกษตรที่สำคัญ เช่น ข้าวสาลี ข้าว และข้าวโพด ในพื้นที่เขตร้อนและอบอุ่นจะมีปริมาณผลผลิตลดลงร้อยละ 25 และส่งผลต่อความมั่งคงอาหารของโลกในอนาคต ซึ่งกระทบต่อประเทศไทยที่มีพื้นที่อยู่ในเขตร้อน เป็นผู้ผลิตและ ส่งออกสินค้าอาหารย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

     จะเห็นได้ว่า การพัฒนาการเกษตรของไทยให้มีความยั่งยืนภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ นับเป็นเรื่องที่มีความท้าทายอย่างมาก การจัดทำยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร พ.ศ. 2560-2564 จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยให้ภาคเกษตรสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม บนพื้นฐานทรัพยากรและสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เหมาะสมของแต่ละพื้นที่

      ดังนั้น สศก. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร และคณะทำงานการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการจัดทำยุทธศาสตร์ วิชาการ และฐานข้อมูล เชื่อมั่นว่า ยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 จากการระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไปสู่ความยั่งยืน ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!