WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AGRIสมชาย ชาญณรงคกล49 ปี กรมส่งเสริมการเกษตรกับความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาภาคเกษตรไทย

      แนวหน้า : นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า เนื่องในวาระครบรอบ 49 ปี ของการสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตร ในวันที่ 21 ตุลาคม นี้ ถือเป็นโอกาสดีในการประกาศนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตรช่วงต่อไป ที่จะมุ่งปฏิรูปภาคการเกษตร ก้าวสู่ SMART AGRICULTURE ภายใต้ความเชื่อว่า "การเกษตรไทยมีศักยภาพ ภายใต้จุดแข็ง มีกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรชัดเจน พัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร" ผ่านการปรับระบบการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตรทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เรามีสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอทั่วประเทศ มีศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร ที่เป็นหน่วยบริการในพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศ ที่สำคัญกรมส่งเสริมการเกษตร จะต้องมีฐานข้อมูลที่ทันสมัย รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้บริการฉับไวและมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล ทั้งต่อตัวเกษตรกร และต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและต้องยึดหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีผลงานเป็นที่ตั้ง ส่งเสริมแบบใช้ตลาดนำการผลิต และตอบสนองความต้องการของตลาด มุ่งเพิ่มผลผลิตคุณภาพ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน พัฒนาเกษตรกรให้เป็น Smart farmer

นอกจากนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลงานที่ผ่านมาถือเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึง การพัฒนาบุคลากร, การสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร, การช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ รวมทั้ง การดำเนินโครงการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล เป็นต้น และที่สุดของความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของนักส่งเสริมการเกษตร คือการได้สนองงานโครงการพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ได้พระราชทานแนวทางการดำเนินงาน ให้หน่วยงานต่างๆ นำไปปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือให้ราษฎรผู้ประสบความทุกข์ยาก ด้อยโอกาสและยากจน ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาอาชีพเกษตรกรบนพื้นที่สูง เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนแล้วแต่ยึดหลักตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรให้พออยู่พอกิน สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว นอกจากการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

การดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล(ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ศพก.)

เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชน โดยมีเกษตรกรเจ้าของแปลงเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เกษตรกรสามารถเรียนรู้ตลอดฤดูกาลผลิต ตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกรและนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตเพิ่ม

ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตในไร่นาของตนเอง ในปี 2559 มี ศพก. จำนวน 882 ศูนย์ มีเกษตรกรกว่า จำนวน 176,400 ราย

ได้รับประโยชน์

ส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่

มีเป้าหมายในการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยให้เกิดการรวมกลุ่ม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันจัดหาปัจจัยการผลิต และ ร่วมจัดการการตลาด เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต มีการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตร ภายใต้การสนับสนุนและบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคีต่างๆโดยในปี 2559 กรมส่งเสริมการเกษตร มีจำนวน 600 แปลง พื้นที่ 1.524 ล้านไร่

เกษตรกร 96,001 ราย โดยแบ่งเป็น แปลงใหญ่ต้นแบบ 76 แปลง, แปลงใหญ่ทั่วไป 466 แปลง, แปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ 58 แปลง ประกอบด้วย 9 กลุ่ม 32 ชนิดสินค้าได้แก่ ข้าว พืชไร่ ไม้ยืนต้น ผัก/สมุนไพร ไม้ผล หม่อนไหม กล้วยไม้ ปศุสัตว์ และ ประมง

งานช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยและปัญหาทางด้านราคาผลผลิตตกต่ำ

โครงการบูรณาการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59

              ดำเนินการในมาตรการที่ 1 สามารถสร้างรายได้จากการส่งเสริมปลูกพืชในฤดูแล้ง ใน 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา เกษตรกร

ได้รับประโยชน์กว่า 385,958 ราย เข้าร่วมกิจกรรมการสร้างรายได้จากพืชทดแทนนาปรัง (พืชใช้น้ำน้อย : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชตระกูลถั่ว พืชผัก เห็ด สมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชอายุสั้น) เกิดพื้นที่ปลูกพืชใช้น้ำน้อยดังกล่าว 0.298 ล้านไร่ มูลค่าผลผลิต 1,689 ล้านบาท และ มาตรการที่ 4 โครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี 2558/59 มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 8,060 โครงการ เกษตรกรได้รับประโยชน์ สร้างรายได้จากการจ้างแรงงาน

ไม่น้อยกว่า 1,356.28 ล้านบาท การอบรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/2559 และจากปัญหาราคาสินค้าเกษตร

เป็นการดำเนินการในรูปแบบของการถ่ายทอดความรู้ด้านต่างๆ อบรมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ให้เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริมได้ในช่วงที่ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยใช้พื้นที่ของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก. 882 ศูนย์)เป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตสินค้าการเกษตรที่ถูกต้องเหมาะสมใน

แต่ละพื้นที่ และเป็นสถานที่หลักในการอบรมให้แก่เกษตรกร จำนวน 5 รุ่น มีเกษตรกรได้รับการอบรม จำนวน 220,500 ราย

สนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางพารารายย่อย เพื่อประกอบอาชีพเสริม

              ที่ผ่านมาเกษตรกรผู้ปลูกยางจะมีรายได้จากยางพาราอย่างเดียว เมื่อราคายางตกต่ำทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ รัฐบาลจึงได้ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย เพื่อการประกอบอาชีพเสริม โดยกรมส่งเสริมการเกษตรรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการประกอบอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการ พื้นที่ 64 จังหวัด 196,820 ครัวเรือน วงเงินสินเชื่อ 18,169 ล้านบาท และธ.ก.ส. พิจารณาอนุมัติสินเชื่อแล้ว 192,830 ครัวเรือน วงเงิน 17,803 ล้านบาท

การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช

            ในช่วงที่ผ่านมาได้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ จำนวน 5 ภัย ได้แก่ อุทกภัย ภัยแล้ง วาตภัยและพายุลูกเห็บ อัคคีภัย และช้างป่าทำลายพืชผลทางการเกษตร ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกร 42,430 ราย พื้นที่ทำการเกษตรได้รับความเสียหาย 227,831 ไร่ วงเงินให้ความช่วยเหลือ 280,422,623 บาท กรมส่งเสริมการเกษตรได้เร่งรัดการสำรวจ และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 และตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

สานงานสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่เกษตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

              เกษตรกรมีความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช ในด้านการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การพัฒนาคุณภาพผลผลิต และการปรับเปลี่ยนกิจกรรมในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวดำเนินการในพืช 3 ชนิด ดังนี้

มันสำปะหลัง พัฒนาเป็นต้นแบบการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่นาไม่เหมาะสม ส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ จัดทำแปลงเรียนรู้และสาธิตระบบน้ำหยด พร้อมทั้งอบรมเกษตรกร จำนวน 14,512 ราย ปาล์มน้ำมัน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันคุณภาพดี ในรูปแบบแปลงใหญ่ โดยจัดทำแปลงเรียนรู้การลดต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมัน เน้นการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และอบรมเกษตรกรเรื่องการดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมัน จำนวน 1,760 ราย อ้อย ผลิตขยายต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรค โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ จำนวน 100,000 ต้น จัดทำแปลงพันธุ์ขยายในรูปแบบแปลงใหญ่ จำนวน 500 ไร่ และจัดทำแปลงหลัก 50 ไร่ พร้อมทั้งอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร จำนวน 5,019 ราย

การบริหารจัดการผลไม้

ปี 2559 ได้มุ่งเน้นการปรับสมดุลระหว่างปริมาณผลผลิตและตลาดให้สอดคล้องกันสำหรับไม้ผลเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ลำไย มังคุด มะม่วง เงาะ ทุเรียน ลองกอง โดยใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ และวางแผนการผลิตและการตลาด และส่งเสริมให้เกษตรกรผลผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพดี รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มในลักษณะแปลงใหญ่ ส่งเสริมการแปรรูป และเพิ่มช่องทางการตลาด ทั้งภายในและต่างประเทศ

การลดความเสี่ยงเกษตรกรจากการระบาดศัตรูพืช

พัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) รวม 1,764 แห่ง ให้มีความรู้ด้านอารักขาพืช การติดตาม สถานการณ์ศัตรูพืช สามารถผลิตขยายศัตรูธรรมชาติใช้ในพื้นที่ของตน ทั้งเชื้อจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ควบคุมศัตรูพืช ในพื้นที่ได้ไม่น้อยกว่า 150,000 ไร่ และขยายแมลงศัตรูธรรมชาติ (แตนเบียนบราคอน แตนเบียนอะนาไกรัส แตนเบียนแมลงดำหนาม และแมลงช้างปีกใส) รวมจำนวน 54,951,208 ตัว สามารถใช้ควบคุมศัตรูพืชในมันสำปะหลัง และมะพร้าวได้ไม่น้อยกว่า 54,000 ไร่ นอกจากนี้ยังสานงานสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร

ส่งเสริมการใช้ปุ+ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต

สามารถยกระดับความรู้ด้านดินและปุ๋ย แก่เกษตรกรจำนวน 15,882 ราย ไปปฏิบัติ และเกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้เฉลี่ย ร้อยละ 26.7 และส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ จำนวน 881,187.75 ตัน

เกษตรกรเข้มแข็ง สู่ความเป็น Smart Farmer

สามารถพัฒนาเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรต่างๆ ให้เป็น Smart Farmer ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร และเกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้และช่วยพัฒนาเกษตรกรรายอื่นๆ ต่อไป ปัจจุบัน มีเกษตรกร ที่เป็น Smart Farmer แล้ว 961,836 ราย และสามารถพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่แปลงใหญ่ เป็น Smart Farmer 17,500 ราย พัฒนาเกษตรกรเจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็น Smart Farmer ต้นแบบ 882 ราย และสร้างเครือข่าย Smart Farmer ต้นแบบ ระดับจังหวัด เพื่อเป็นเครือข่ายในการเชื่อมโยงสื่อสารและยังสามารถพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer 2,310 ราย สร้างเครือข่ายSmart Farmer ต้นแบบ และ Young Smart Farmer ระดับเขต 9 เครือข่าย และระดับประเทศ 1 เครือข่าย

อาสาสมัครเกษตร

ปัจจุบันมีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ประกอบด้วย อาสาสมัครเกษตร 13 สาขา เกษตรกรผู้นำ และผู้นำท้องถิ่นอย่างเป็นระบบในพื้นที่ อัตราส่วน 1 คนต่อเกษตรกรอย่างน้อย 10 ครัวเรือน ดำเนินการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครเกษตร ระดับอำเภอ จำนวน 882 อำเภอ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน จำนวน 14,250 ราย และเครือข่ายจังหวัด 77 จังหวัด

งานพัฒนาและสร้างฐานข้อมูลเกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตร ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยจัดเก็บข้อมูลจำนวน 9 ด้าน คือ ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร ข้อมูลสมาชิกในครัวเรือนและการเป็นสมาชิกองค์กร ข้อมูลการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร ข้อมูลประกอบกิจกรรมการ เกษตร และข้อมูลแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยได้สังเคราะห์ข้อมูลจากการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และจัดทำ Farmer Map แสดงสถานภาพด้านต่างๆ ของในพื้นที่ระดับจังหวัดและอำเภอในมุมมองเชิงลึก แผนที่ขึ้น เพื่อใช้เป็น เครื่องมือในการบริหารจัดการพื้นที่การเกษตรของเจ้าหน้าที่เกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วน

งานสร้างและพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ

บุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับการพัฒนาให้เป็นนักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ โดยได้รับการอบรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เกิดความรู้ ทักษะ รวมทั้งจัดให้มีการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) และสถานีเรียนรู้เพื่องานส่งเสริมการเกษตร (DOAE K-Station) ทั้งทางด้านวิชาการ เทคโนโลยีการเกษตร กระบวนการทำงานเพื่อให้บุคลากรมีความพร้อมในการขับเคลื่อนงานตามนโยบายสำคัญต่างๆ ของรัฐบาล และพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรให้มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืนต่อไป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!