- Details
- Category: เกษตร
- Published: Saturday, 28 May 2016 07:46
- Hits: 5813
อุบลโมเดล สร้างเกษตรกรต้นแบบ ขับเคลื่อนประชารัฐ พัฒนาฐานเศรษฐกิจพลังงานทดแทน
กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล ชูอุบลโมเดล สร้างเกษตรกรต้นแบบมาแล้ว 130 ราย พร้อมขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐ ตั้งเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมมันสำปะหลังสู่ฐานเศรษฐกิจด้านพลังงานทดแทน (ไบโออีโคโนมี่) สนับสนุนการใช้เอทานอล เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งภายในประเทศ และการส่งออกพร้อมส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน มุ่งมั่นสร้างสังคมมีสุขอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร่วมจัดกิจกรรม งานประชารัฐ พัฒนาชาวไร่มันฯ ขยันแบบอุบลโมเดล ภายใต้โครงการพัฒนาการส่งเสริมการเกษตรการปลูกมันสำปะหลัง (อุบลโมเดล) ปี 2559 / 2560 นี้ โดยมี นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานเปิดงาน พร้อมคณะกรรมการบริหารวิชาการกรมวิชาการเกษตร นายคันฉัตร ตันเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมต้อนรับ พร้อมคณะหัวหน้าส่วนราชการ และนายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ ผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล เข้าร่วมภายในงานฯ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 500 ราย จากพื้นที่นำร่อง 4 อำเภอรอบโรงงาน ได้แก่ อ.นาเยีย อ.สว่างวีระวงศ์ อ.พิบูลมังสาหาร และอ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เข้าร่วมกิจกรรม ณ สนามกีฬา กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล ต.นาดี อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ภาคการเกษตรของประเทศไทย เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ปัจจุบันเกษตรกรยังคงประสบปัญหาด้านต้นทุน ที่เพิ่มสูงขึ้น และปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำทั่วโลก ประเด็นสำคัญในการช่วยเกษตรกรลดต้นทุนและมีรายได้เพิ่มขึ้นได้นั้น คือ ความรู้ ในการเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตภายใต้ ความสามัคคี รวมพลังกันช่วยเหลือเกษตรกรทุกภาคส่วน
“โครงการพัฒนาการส่งเสริมการเกษตรการปลูกมันสำปะหลังหรืออุบลโมเดล ซึ่งเป็นรูปแบบประชารัฐอย่างแท้จริง เป็นคำตอบที่ปลุกความหวังให้เกษตรกรและชุมชนในพื้นที่มีทางเลือก และแนวทางการทำมันอินทรีย์ต่อไปในอนาคต สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความสามัคคีจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่ร่วมคิดค้น วิจัยพัฒนาพันธุ์ ส่งเสริมถ่ายทอดความรู้ การเข้าใจสถานประกอบการเรื่องต้นทุนการรับซื้อ การแปรรูปต่างๆ ทำให้เส้นทางของทุกส่วนพึ่งพากันไปในมิติที่เป็นมิตร คือ เกษตรกรใส่ใจ เตรียมวัตถุดิบ รู้จักการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต โดยมีภาครัฐและเอกชนเข้ามาดูแลร่วมกันจนถึงเก็บเกี่ยว ผลที่ตามมา คือเกษตรกรมีความยั่งยืนบนพื้นฐานของความรู้ ภาครัฐได้นำผลงานมาถ่ายทอด และเพิ่มผลผลิต ภาคเอกชนก็มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพ กระบวนการแบบนี้จะเกิดความยั่งยืนเป็นวัฎจักรแบบนี้ต่อไปประเทศไทยก็จะเป็นผู้นำในเรื่องเกษตรกรรมสร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับประเทศต่อไป”อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว
นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ ผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล กล่าวว่า กลุ่มบริษัทฯ ได้ดำเนินการส่งเสริมชาวไร่มันฯ ผ่านโครงการอุบลโมเดล ที่เป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ มาตั้งแต่ปี 2557 โดยได้รับความร่วมมือจากกรมวิชาการเกษตร ให้ความรู้เพื่อพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังด้วยเทคโนโลยีของกรมฯ ที่จะส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และลดต้นทุนต่อหน่วยการผลิตให้ต่ำลง โดยได้กำหนดเป้าหมายเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ จากเดิม 3 ตันต่อไร่ เป็น 6 ตันต่อไร่ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยผลผลิตในพื้นที่ของจังหวัด
ขณะเดียวกัน เนื่องจากมันสำปะหลังที่ผลิตด้วยกระบวนการอินทรีย์เป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดต่างประเทศ จึงได้มีการรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในวิถีอินทรีย์ ที่สามารถตอบโจทย์ด้านต้นทุนการผลิตได้อย่างยั่งยืน ส่งผลดี 3 ด้านแก่ผู้เกี่ยวข้องตามสโลแกนของงานในวันนี้ คือ "ดินดี รายได้ดี สุขภาพดี" นั่นคือ ดินดี เพราะเกษตรกรไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหากมีการใช้แนวทางอินทรีย์ สภาพดินในพื้นที่จะกลับมาอุดมสมบูรณ์ ส่งผลต่อคุณภาพผลผลิต รายได้ดี คือ กลุ่มบริษัทมีการประกันราคาสำหรับอินทรีย์ในราคา 2.60 บาทต่อ 25 เปอร์เซนต์แป้ง แก่เกษตรกรรุ่นแรกที่ผ่านการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ประเทศไทยก่อน ทั้งนี้ จะมีการรับซื้อมันสำปะหลังในปี 2561 ปัจจุบัน มีเกษตรกร 27 รายให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการในปีแรกนี้ เพื่อเริ่มขั้นตอนการปรับเปลี่ยนแปลงปลูกตามมาตรฐานอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตกร สุขภาพดี คือ ผู้ผลิตและผู้บริโภคจะได้คุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง จากวิถีการผลิตแนวอินทรีย์
ปัจจุบัน โรงงานของกลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอลมีความพร้อมด้านเครื่องจักร ทั้งในส่วนของโรงงานเอทานอล และโรงแป้งมันสำปะหลัง โดยได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลประเภทอาหาร ทั้ง GMP HACCP HALAL และ KOCHER
“กลุ่มบริษัทอุบลฯ จึงภูมิใจ ที่อุบลโมเดลมีส่วนช่วยต่อยอดอาชีพแก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ทำให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง ลดปัญหาการทิ้งถิ่นฐาน สนับสนุนอาชีพการปลูกมันสำปะหลัง ณ บ้านเกิดของตนเอง สร้างสังคมมีสุข พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ควบคู่กับการสร้างฐานเศรษฐกิจด้านพลังงานทดแทนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน” นายเดชพนต์กล่าว
อุบลโมเดลถือเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนฐานเศรษฐกิจพลังงานทดแทน (ไบโออีโคโนมี่) ตามที่คณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิของประเทศ (คณะกรรมการสานพลังประชารัฐ) ได้เร่งผลักดันให้เป็นคลื่นลูกใหม่ทางเศรษฐกิจไทย เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าการเกษตร โดยมีมันสำปะหลังเป็นพืชนำร่องโครงการไบโออีโคโนมี่ ซึ่งเป็นการขานรับโรดแมปด้านการส่งเสริมพลังงานทดแทนของภาครัฐ ทั้งในแง่การส่งเสริมการใช้เอทานอลในประเทศ และเพิ่มโอกาสการส่งออกด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ทั้งนี้ รัฐบาลกำหนดเป้าหมายการใช้มันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอล เพิ่มจาก 320 ล้านลิตรต่อปี เป็น 506 ล้านลิตรต่อปี ในกรอบเวลาการดำเนินงาน 10 ปีนับจากนี้ (พ.ศ.2559-2568) พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็น 2 เท่าตัว ผ่านการสร้างมูลค่าเพิ่มจากมันสำปะหลังกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร เป็น 6.5-8.5 หมื่นบาทต่อปีต่อราย ส่งผลให้มีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นประมาณ 3-5 แสนครัวเรือน และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในระยะเวลา 20 ปีให้มากกว่า 30 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ
กิจกรรม 'งานประชารัฐ พัฒนาชาวไร่มันฯ ขยันแบบอุบลโมเดล' จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 อันเป็นการรวมตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดอุบลราชธานี ที่นอกจากจะได้มาร่วมเรียนรู้ "ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต" ตามหลักของกรมวิชาการเกษตรแล้ว เกษตรกร ยังได้เดินตามแนวทาง "ขยันแบบอุบลโมเดล" ชักจูง แนะนำเพื่อนมาร่วมขยายผล ผ่านกระบวนการ ‘พี่สอนน้อง น้องสอนพี่’ พัฒนาไปด้วยกัน ยกระดับทั้งจังหวัด ส่งผลพัฒนาทั้งประเทศ โดยมีฐานกิจกรรมการเรียนรู้ให้เข้าร่วม 6 ฐานจากวิทยากรต่างๆ ดังนี้ 1 นิทรรศการ Smart Farmer วิทยากรจากคณะกรรมการอุบลโมเดล ได้แก่ สำนักวิจัย และพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 / ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี / สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 / สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดฯ / สำนักงานเกษตรจังหวัดฯ และกลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล 2 ฐานดิน โดยสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 3 ฐานปุ๋ย โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 4 ฐานอารักขาพืช โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดฯ 5 ฐานเครื่องจักรกลการเกษตร โดยสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร จ.นครสวรรค์ และ 6 ฐานปุ๋ยหมัก โดยสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี
ทางด้านตลาดมันสำปะหลังแปรรูป นับว่า ชาวไร่ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง มีโอกาสอันดีในการสร้างรายได้อย่างมั่นคงจากแหล่งรับซื้อที่แน่นอน ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล มีกำลังการผลิตเอทานอลวันละ 4 แสนลิตรต่อวัน และมีกำลังการผลิตแป้งมันสำปะหลัง 700 ตันแป้งต่อวัน โดยมีความต้องการมันสด 4,000 ตันต่อวัน และมันเส้น 1,200 ตันต่อวัน หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านตันต่อปี
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล ยังมีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ โดยมีการจัดเตรียมเทคโนโลยีการผลิตที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งได้ลงทุนเทคโนโลยีด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร เป็นการดำเนินธุรกิจภายใต้นโยบายรับผิดชอบต่อสังคม และมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมมันสำปะหลังเป็นฐานการสร้างเศรษฐกิจด้านพลังงานทดแทนที่มั่นคง และนำความสุขมาสู่สังคมอย่างยั่งยืน
อุบลโมเดล สร้างเกษตรกรต้นแบบ
ขับเคลื่อนประชารัฐ พัฒนาฐานเศรษฐกิจพลังงานทดแทน
สมชาย ชาญณรงค์กุลอธิบดีกรมวิ
------------------------------
รายนามบุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา)
1. พ.ต.ท. สงวนศักดิ์ พุทธิผล สารวัตรป้องกันปราบปราม
2. นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ ผู้จัดการใหญ่
3. นายคันฉัตร ตันเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุ
4. นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
5. นางวราภรณ์ พรหมพจน์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
6. นายอุดม คำชา ผอ.สำนักวิจัยและพั
7. ร.อ.ศักดิ์ศรี บุญห่อ ตัวแทนจากผบ.มณฑลทหารบกที่ 22
…………………………………………………………
ภาพข่าวประชาสัมพันธ์ (2)
รัฐ - เอกชน และเกษตรกร ผนึกกำลังสานพลังประชารัฐ
สมชาย ชาญณรงค์กุลอธิบดีกรมวิ
------------------------------
รายนามบุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา)
1. นายถาวร มีชัย ผอ.สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4
2. นายชูศักดิ์ สร้างคำ เกษตรกรต้นแบบปุ๋ยตามค่าวิ
3. นางแสงจันทร์ ประดา เกษตรกรต้นแบบปุ๋ยตามค่าวิ
4. นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ ผู้จัดการใหญ่
5. นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
6. นายคันฉัตร ตันเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุ
7. นายสอน สำราญ เกษตรกรต้นแบบปุ๋ยตามค่าวิ
8. นายไพโรจน์ ศรีทานันท์ นักวิชาการส่งเสริ
หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพั