- Details
- Category: เกษตร
- Published: Monday, 02 May 2016 18:03
- Hits: 9693
กรมประมง แจ้งให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ ยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายใน 27 เม.ย.- 11 พ.ค.59
นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 เม.ย.59 นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ได้ลงนามในประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ.2559 โดยให้ผู้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ก่อน วันที่ 14 พ.ย.58 (วันที่พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 มีผลบังคับ) มาติดต่อสำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพฯ กรมประมง, สำนักงานประมงจังหวัด, สำนักงานประมงอำเภอ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง, ศูนย์หรือหน่วยบริหารจัดการด้านการประมง ในเขตพื้นที่ที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อยื่นคำขอตามแบบแสดงความประสงค์ขอรับใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และหน่วยงานกรมประมงจะออกใบรับคำขอให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใช้ เพื่อเป็นหลักฐานเบื้องต้นในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำสาธารณสมบัติจนกว่าจะได้รับใบอนุญาต
ทั้งนี้ ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ สามารถมายื่นคำขอรับใบอนุญาต ได้ระหว่างวันที่ 27 เม.ย. ถึง 11 พ.ค.59 ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต มีบทลงโทษ คือ ปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และปรับวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่มีการฝ่าฝืน
โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การออกประกาศครั้งนี้ เป็นมาตรการเบื้องต้น เพื่อไม่ให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ มีความผิดในระหว่างที่กรมประมงกำลังเร่งดำเนินการตามบทบัญญัติของพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ที่มีเป้าหมายให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้ง การเพาะเลี้ยงฯ ในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติฯ ซึ่งหมายถึงที่จับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล
นอกจากนี้ พระราชกำหนดยังมีเจตนารมณ์ให้ประชาชนหรือชุมชนประมงท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการด้วย ดังนั้น คำขอรับใบอนุญาตที่ผู้เพาะเลี้ยงฯ มายื่นไว้ จะนำไปพิจารณาร่วมกับคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด เพื่อดำเนินการกำหนดพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดต่อไป โดยระหว่างการพิจารณานี้ ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติฯ ที่มายื่นคำขอรับใบอนุญาตไว้ในช่วงเวลาที่กำหนดจะยังคงได้รับอนุญาตเบื้องต้นให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไปจนกว่าผลการพิจารณาจะเสร็จสิ้น โดยไม่มีความผิด
โฆษกกระทรวงเกษตรฯ ย้ำว่า ใบรับคำขอแบบแสดงความประสงค์ขอรับใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ ที่หน่วยงานกรมประมงออกให้ชั่วคราวนี้ ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตดังกล่าวได้รับการอนุญาตตามกฎหมายแล้ว เพราะยังต้องมีการพิจารณากำหนดพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดต่อไป และเมื่อมีการกำหนดพื้นที่และแนวทางสำหรับการขอรับใบอนุญาตและการพิจารณาอนุญาตเพื่อให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว กรมประมงจะประกาศขอให้มายื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบและขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดต่อไปอีกครั้งหนึ่ง
อินโฟเควสท์
กรมประมงเปิดให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ ยื่นคำขอรับใบอนุญาตระหว่าง 27 เม.ย.- 11 พ.ค.59 ไม่มีเว้นวันหยุดราชการ
นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 เม.ย.59 นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ได้ลงนามใน ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่น ดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ.2559 โดยให้ผู้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำในที่จับสัตว์ น้ำซึ่งเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ก่อน วันที่ 14 พ.ย.58 (วันที่พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 มีผลบังคับ) มาติดต่อสำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพฯ กรมประมง, สำนักงานประมง จังหวัด, สำนักงานประมงอำเภอ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชาย ฝั่ง, ศูนย์หรือหน่วยบริหารจัดการด้านการประมง ในเขตพื้นที่ที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อยื่นคำ ขอตามแบบแสดงความประสงค์ขอรับใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และหน่วยงานกรมประมงจะออกใบรับคำขอให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใช้ เพื่อ เป็นหลักฐานเบื้องต้นในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำสาธารณ สมบัติจนกว่าจะได้รับใบอนุญาต
ทั้งนี้ ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ สามารถมายื่นคำขอรับใบอนุญาต ได้ระหว่างวันที่ 27 เม.ย. ถึง 11 พ.ค.59 ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 การเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต มีบทลงโทษ คือ ปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่ง แสนบาท และปรับวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่มีการฝ่าฝืน
การออกประกาศครั้งนี้ เป็นมาตรการเบื้องต้น เพื่อไม่ ให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ มีความผิดในระหว่างที่กรมประมงกำลังเร่งดำเนินการตามบทบัญญัติของพระ ราช กำหนดการประมง พ.ศ.2558 ที่มีเป้าหมายให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำอย่าง สมดุลและยั่งยืน รวมทั้ง การเพาะเลี้ยงฯ ในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติฯ ซึ่งหมายถึงที่จับสัตว์ น้ำที่ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล
นอกจากนี้ พระราชกำหนดยังมีเจตนารมณ์ให้ประชาชนหรือชุมชนประมงท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมใน การจัดการด้วย ดังนั้น คำขอรับใบอนุญาตที่ผู้เพาะเลี้ยงฯ มายื่นไว้ จะนำไปพิจารณาร่วมกับคณะ กรรมการประมงประจำจังหวัด เพื่อดำเนินการกำหนดพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและหลักเกณฑ์ใน การ พิจารณาอนุญาตตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดต่อไป โดยระหว่างการพิจารณานี้ ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำในที่สาธารณสมบัติฯ ที่มายื่นคำขอรับใบอนุญาตไว้ในช่วงเวลาที่กำหนดจะยังคงได้รับอนุญาตเบื้อง ต้นให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไปจนกว่าผลการพิจารณาจะเสร็จสิ้น โดยไม่มีความผิด
นายสุรพล กล่าวว่า ใบรับคำขอแบบแสดงความประสงค์ขอรับใบอนุญาตให้ทำการเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำในที่ จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ ที่หน่วยงานกรมประมงออกให้ชั่วคราวนี้ ไม่ได้ หมายความว่าผู้ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตดังกล่าวได้รับการอนุญาตตาม กฎหมายแล้ว เพราะยังต้องมี การพิจารณากำหนดพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาอนุญาตตามขั้นตอนที่ กฎหมายกำหนดต่อไป และเมื่อมีการกำหนดพื้นที่และแนวทางสำหรับการขอรับใบอนุญาตและการ พิจารณา อนุญาตเพื่อให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณ สมบัติของแผ่นดิน เรียบร้อยแล้ว กรมประมงจะประกาศขอให้มายื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบและขั้นตอนที่กฎหมาย กำหนด ต่อไปอีกครั้งหนึ่ง
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
'บัณฑูร' ห่วงอุตฯ ประมงไม่หลุดใบแดง
บ้านเมือง : นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การที่ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งรายใหญ่และรายย่อย เพื่อเป็นการต่อลมหายใจให้ผู้ประกอบการและช่วยลดต้นทุนโดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ไม่ได้เป็นการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าแม้ดอกเบี้ยต่ำจนติดลบก็ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ โดยยอมรับว่าตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น และต้องปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกค้า เพื่อช่วยเหลือในภาวะปัจจุบัน
เศรษฐกิจขณะนี้กระเตื้องขึ้นบ้าง เห็นได้จากการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมที่ผ่านมาขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน แต่ก็มาจากฐานต่ำปีก่อน การที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้จริงคือผู้ประกอบการต้องขายสินค้าได้
แต่ขณะนี้ ยังมีความเสี่ยงจากกรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) อาจจะให้ใบแดงแก่ภาคอุตสาหกรรมประมงไทย หากยังแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายไมสำเร็จ ซึ่งจะมีผลกระทบหนักต่อประเทศไทย เพราะอุตสาหกรรมประมงเป็นอุตสาหกรรมใหญ่และเกี่ยวข้องกับแรงงานจำนวนมาก รวมทั้งจะกระทบไปถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาการเมืองที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งเป็นการบั่นทอนเศรษฐกิจทางอ้อม
นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารลดดอกเบี้ยเงินกู้ว่าเป็นการลดภาระให้ผู้ประกอบการรายย่อยและเอสเอ็มอีให้มีความคล่องตัวในการทำธุรกิจมากขึ้น เนื่องจาก ขณะนี้เศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ และยังกดดันการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้นไตรมาส 3 ปีนี้เป็นต้นไป
ซึ่งสถานการณ์การชำระหนี้ของลูกค้าเอสเอ็มอี ยอมรับว่า มีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่สูงจนน่ากังวล เพราะอุตสาหกรรมธนาคารยังมีรายได้และกำไรเพียงพอในการดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารได้เพิ่มการสำรองหนี้สงสัยจะสูญจากปีที่แล้ว เนื่องจากเอ็นพีแอลสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3