WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cฉตรชย สารกลยะ'บิ๊กฉัตร'เร่งแผนปฏิรูปภาคเกษตรเรียกถก'ซิงเกิลคอมมานด์'77จังหวัด/ย้ำเห็นผลใน 6 เดือน

     แนวหน้า : พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้แก่ผู้บริหารระดับสูง และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แบบเบ็ดเสร็จ หรือซิงเกิลคอมมานด์ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั่วประเทศ ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารฝึกอบรมส่วนกลาง สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่า การประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อน 6 นโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ศูนย์เรียนรู้ การเกษตรรูปแบบแปลงใหญ่ การทำเกษตรในพื้นที่เหมาะสม (โซนนิ่ง) เกษตรอินทรีย์ และธนาคารสินค้าเกษตร หลังจากได้เคยได้มอบนโยบายให้แก่ Single Command ไปครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 ซึ่งหากประเมินผลการดำเนินการในภาพรวม ของทั้ง 77 จังหวัด ที่นำเสนอผ่านนิทรรศการในวันนี้และการรายงานผลการดำเนินงานของแต่ละจังหวัด พบว่า มีความเข้าใจ และนำไปสู่การปฏิบัติได้กว่า 60%

       แต่หลังจากนี้ซิงเกิลคอมมานด์ทุกจังหวัด ต้องเร่งผลักดันแนวนโยบายต่างๆ ให้เห็นเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น เพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรของไทย ภายใน 6 เดือนหลังจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศูนย์เรียนรู้ ศพก. 882 ศูนย์ เพื่อใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยให้กรมต่างๆ ร่วมบูรณาการในศูนย์ การใช้แผนที่การเกษตร (Agri Map) เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกของทุกจังหวัด เน้นสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกร นำไป สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการเกษตร สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดการลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การเพิ่มอำนาจในการต่อรอง และการเชื่อมโยงตลาด โดยอาศัยความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ ได้แก่ เกษตรกรมีการปรับตัว ภาครัฐสนับสนุนองค์ความรู้ นวัตกรรม และงบประมาณที่จำเป็น โดยมีภาคเอกชน ช่วยเหลือในการเสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการและด้านการตลาด ดังนั้น ทุกภาคส่วนจะมีส่วนสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด ยกระดับสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก

     "ทั้งหมดข้างต้นถือเป็นการปฏิรูปภาคการเกษตร ที่นอกจากกระทรวงเกษตรฯ จะกำหนดให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรและเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ขณะเดียวกัน การปฏิรูปภาคเกษตร ผนวกกับการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรผสมผสานมาใช้ จะทำให้เกษตรกรมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว

     อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าการปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติของ ซิงเกิลคอมมานด์ จะยังพบ ปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง เพราะต้องปรับการทำงานจากลักษณะที่ต่างหน่วยงานต่างทำตามภารกิจมาบูรณาการในพื้นที่เดียวกันเพื่อ พัฒนาอย่างครบวงจร เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯในระดับจังหวัดทั้งหมด ต้องให้ความร่วมมือกับซิงเกิลคอมมานด์ ในการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน ในการแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกร และสร้างรากฐานการพัฒนาการเกษตรของประเทศให้เกิดขึ้นโดยเร็วและทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

   พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยได้มอบเงินโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้งปี 2558/59 (มาตรการที่ 4) จำนวน 86 โครงการ วงเงิน 58.58 ล้านบาท แก่ผู้แทนเกษตรกรจำนวน 14 คน (14 อำเภอ) จากนั้นในเวลาประมาณ 14.40 น. คณะได้เดินทางไปยังบ้านลิ่มทอง อ.นางรอง เพื่อตรวจเยี่ยมการนดำเนินงาน และการขยายผลการจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ และการใช้เทคโนโลยีใหม่บริหารจัดการน้ำชุมชนจำนวน 6 จุด ได้แก่ สระแก้มลิงรับน้ำจากถนนน้ำเดิน คลอง 80 พรรษาส่งน้ำถึงนา สถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ แปลงทฤษฏีใหม่ ป่าป้าปลูก สระดักตะกอน ก่อนจะเดินทางต่อไปยังหนองทะลอก อ.นางรอง เพื่อตรวจสภาพปัญหา และกำหนดแนวทางแก้ไขหนองทะลอก

    พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า สถานการณ์น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ยังไม่ประสบปัญหาแต่อย่างใด ทางผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากมูลนิธิอุทกภัยในการนำเทคโนโลยีการจัดการน้ำแนวใหม่มาช่วยในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และไม่มีพื้นทีสาธารณะไว้กักเก็บน้ำและน้ำสำรอง โดยประชาชนในพื้นที่บ้านลิ่มทอง อ.นางรองเข้ามามีส่วนร่วม และจำขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นในอนาคตด้วย ขณะที่การจัดการน้ำเพื่อการเกษตรก็มีบ้างในบางพื้นที่ที่ประสบปัญหา ซึ่งจาก 17 มาตรการของรัฐบาลพบว่ามีความความหน้าเป็นลำดับ โดยเฉพาะ 8 มาตรการของกระทรวงเกษตรฯ ได้เข้าสู่หลายพื้นที่แล้วเช่นกัน

      สำหรับ แนวทางการเพิ่มศักยภาพการเก็บกักน้ำหนองทะลอกเพื่อเก็บกักน้ำไว้เพื่อการผลิตน้ำประปาในหลายพื้นที่ของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่สามารถรองรับการผันน้ำจากลำปลายมาศในฤดูน้ำหลากเข้ามาเก็บกักไว้ได้โดยการปรับปรุงทางน้ำเดิมให้น้ำไหนได้สะดวกมากขึ้น ที่สามารถเก็บน้ำได้ปีละ 2-7 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนางรอวมีน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคตลอดปี พื้นที่การเกษตรของอ่างเก็บน้ำหนองทะลอกประมาณ 3,000 ไร่สามารถเพาะปลูกได้ในฤดูฝนและฤดูแล้ง ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะจัดนำไปพิจารณาจัดทำแผนและงบประมาณในปี 2560 ต่อไป

        อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!