- Details
- Category: เกษตร
- Published: Monday, 07 March 2016 23:52
- Hits: 3299
ก.เกษตรฯ เซ็น MOU ด้านประมง-ข้อตกลงความร่วมมือกับ 7 ประเทศ แก้ปัญหา IUU
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิด เผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการด้านความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการจัดทำ บันทึกความเข้าใจฯ (MOU) ตามข้อกำหนด ในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายที่ต้องปฏิบัติ ตามเงื่อนไขของ EU ล่าสุดมีการดำเนินการแล้วใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน สาธารณรัฐเกาหลี สเปน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิจิ จีน โดยมีการยกร่างบันทึกความเข้าใจที่เกี่ยวข้อง (MOU) และ จัดทำข้อตกลงการปฏิบัติความร่วมมือเฉพาะด้าน (AI) ซึ่งโดยรวมมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและ แก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUUF) ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ การถ่ายทอด เทคโนโลยี และส่งเสริมการค้าสินค้าประมงระหว่างกัน
ล่าสุดทางสเปนมีความประสงค์จะมีความร่วมมือด้านประมงกับไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิด กฎหมาย และยินดีให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบการติดตามตำแหน่งเรือประมง (VMS) ของไทย ซึ่งกรมประมงได้ยกร่าง MOU ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อมของสเปน และกรมประมงสเปนได้รับร่าง MOU แล้ว รวมทั้งยินดีให้ความร่วมมือโดย ขอให้มีผู้แทนไทยเดินทางไปหารือรายละเอียด ทั้งนี้ กรมประมงได้ส่งร่างให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยพิจารณาถ้อยคำและข้อกฎหมาย จากนั้นคาดว่าจะเดินทางไปหารือและดูงานระบบ VMS ที่สเปน ได้ในเดือน มี.ค. นี้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ก.เกษตรฯ MOU ด้านประมง-ข้อตกลงความร่วมมือเฉพาะด้าน 7 ปท.แก้ปัญหา IUU
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการด้านความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ (MOU) ตามข้อกำหนด ในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ EU ล่าสุดมีการดำเนินการแล้วใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน สาธารณรัฐเกาหลี สเปน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิจิ จีน โดยมีการยกร่างบันทึกความเข้าใจที่เกี่ยวข้อง (MOU) และจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติความร่วมมือเฉพาะด้าน (AI) ซึ่งโดยรวมมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUUF) ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และส่งเสริมการค้าสินค้าประมงระหว่างกัน
ล่าสุด ทางสเปนมีความประสงค์จะมีความร่วมมือด้านประมงกับไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และยินดีให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบการติดตามตำแหน่งเรือประมง (VMS) ของไทย ซึ่งกรมประมงได้ยกร่าง MOU ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อมของสเปน และกรมประมงสเปนได้รับร่าง MOU แล้ว รวมทั้งยินดีให้ความร่วมมือโดยขอให้มีผู้แทนไทยเดินทางไปหารือรายละเอียด ทั้งนี้ กรมประมงได้ส่งร่างให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยพิจารณาถ้อยคำและข้อกฎหมาย จากนั้นคาดว่าจะเดินทางไปหารือและดูงานระบบ VMS ที่สเปนได้ในเดือน มี.ค. นี้
ก่อนหน้านี้ กระทรวงเกษตรฯ นำโดยอธิบดีกรมประมง และตัวแทนจากศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เดินทางไปหารือกับประเทศไต้หวัน ระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2559 ซึ่งเดิมเคยมี Agreement ระหว่างสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ณ กรุงไทเป และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ณ ประเทศไทย ด้านเกษตร ลงนามเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2546 และในปัจจุบันกำลังจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติความร่วมมือเฉพาะด้าน (IA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจับสัตว์น้ำ การขนถ่ายสัตว์น้ำ การนำสัตว์น้ำขึ้นท่า สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาได้ และการออกเอกสารใบรับรองฯ กำกับ รวมทั้งส่งเสริมการค้า การวิจัยร่วมกัน ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์ด้านข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามข้อเท็จจริงในการดำเนินการแก้ไขปัญหา IUU ในอนาคต และจะช่วยสร้างบรรทัดฐานในการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน สร้างมาตรการ/กฎระเบียบใหม่เทียบเท่าสากลอีกด้วย
อินโฟเควสท์
ก.เกษตรฯ ตั้งเป้าปี 59 เป็นปีแห่งการลดต้นทุนผลิตภาคเกษตรภายใต้ Single Command
นายศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดนโยบายให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตรและเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน โดยมีแนวทางการขับเคลื่อน 4 ด้าน คือ การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต การบริหารจัดการ และการตลาด เพื่อดำเนินสู่เป้าหมายที่สำคัญ คือ ต้นทุนการผลิตในภาคเกษตรลดลง ผลผลิตมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ผลผลิตมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีตลาดรองรับสินค้า และรายได้ของเกษตรกรดีขึ้น
คณะทำงานลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสินค้าเกษตร ได้มีการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) โดยให้แต่ละหน่วยงานนำผลการดำเนินงานบูรณาการเข้าสู่ระบบเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อการปฏิรูปภาคเกษตรของไทยสู่ความมั่นคงและยั่งยืนในรูปแบบประชารัฐ
นายศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดทำคู่มือการดำเนินการเกษตรกรรมแปลงใหญ่ เพื่อให้ทุกแปลงใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานและได้เผยแพร่ไปให้ผู้จัดการแปลงแล้ว โดยแปลงใหญ่ที่ดำเนินการใน 76 จังหวัด มีจำนวนทั้งสิ้น 268 แปลง พื้นที่รวม 662,669 ไร่ มีเกษตรกรในโครงการ 29,169 ครัวเรือน เป็นแปลงที่เริ่มดำเนินการในปี 2559 จำนวน 31 แปลง โดยแปลงใหญ่ทั้งหมดมีสินค้า 31 สินค้า แบ่งเป็น ข้าว 142 แปลง, พืชไร่ 38 แปลง, ปาล์มน้ำมัน/ยางพารา 15 แปลง, ไม้ผล 37 แปลง, ปศุสัตว์ 12 แปลง, ประมง 9 แปลง ที่เหลือเป็นพืชผัก สมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับและหม่อนไหม มีการคัดเลือกเป็นแปลงใหญ่ต้นแบบ จังหวัดละ 1 แปลง รวม 76 แปลง จึงเหลือแปลงที่ไม่ได้คัดเลือกเข้ามาเป็นแปลงใหญ่ต้นแบบอยู่ 192 แปลง
สำหรับ สภาพความพร้อมของแปลงต้นแบบในขณะนี้ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ A มีแผนและได้ดำเนินการตามแผนแล้ว มีจำนวนร้อยละ 53 ระดับ B มีแผนแล้วแต่ยังขาดการปฏิบัติ ร้อยละ 39 และระดับ C มีการเตรียมการด้านการจัดการกลุ่ม ทีมบริหารจัดการ และทำข้อมูลรายแปลงมาแล้ว ร้อยละ 8 สำหรับแผนการดำเนินการในช่วงเดือน มี.ค. – ก.ค.59 จะเน้นการดำเนินการไปที่ 76 แปลงต้นแบบให้มีความพร้อมในระดับ B เป็นอย่างน้อย โดยมีเป้าหมายและแผนปฏิบัติงานให้พร้อมภายในเดือน เม.ย. และให้แปลงต้นแบบสามารถปฏิบัติตามแผนได้ภายในเดือน พ.ค.59 ซึ่งคาดว่าจะสามารถ Kick off แปลงใหญ่ประชารัฐต้นแบบ 76 แปลง 76 จังหวัด ได้ในช่วงปลายเดือน พ.ค.นี้
ขณะที่ความคืบหน้าการดำเนินงานด้านการลดต้นทุนปัจจัยการผลิตนั้น รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน อาทิ กรมการค้าภายใน ให้ความร่วมมือในการควบคุมราคาปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร และกระทรวงมหาดไทย ดูแลเรื่องการลดราคาค่าเช่าที่ดินทำการเกษตรที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ และกรมการข้าวและกรมปศุสัตว์ ดูแลเกี่ยวกับค่าพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ เป็นต้น
ทั้งนี้ คณะทำงานลดต้นทุนฯ ได้นำเสนอโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งสามารถช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้เฉลี่ยร้อยละ 26.7 และเพิ่มผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.48 และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในภาคการเกษตร และสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน โดยเน้นเป็นพิเศษสำหรับระบบการเกษตรแปลงใหญ่
สำหรับ การส่งเสริมเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยนั้น กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการวิเคราะห์และปรับปรุงดินในพื้นที่การเกษตร และส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพในพื้นที่ที่มีความพร้อม ตลอดทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ดีให้แก่เกษตรกร และส่งเสริมการผลิตเข้าสู่มาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค รวมทั้งสร้างโอกาสทางการตลาดให้มากขึ้นโดยมีผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง
อินโฟเควสท์