WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AGสรพงษ เจยสกลไทยเตรียมพร้อมประชุมการค้าและเศรษฐกิจ ไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 3 รุกผลักดันความร่วมมือเกษตร มีนาคมนี้

    สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เดินหน้าเตรียมการฝ่ายไทย ก่อนร่วมประชุมว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ ระหว่างไทย - รัสเซีย ที่จะเกิดขึ้นเดือนมีนาคมนี้ รุกติดตามความคืบหน้าความร่วมมือด้านการเกษตรทั้ง 3 ฉบับ ระบุ ปัจจุบันไทยได้ดุลการค้าสินค้าเกษตรกับรัสเซีย คิดเป็นมูลค่า 1,103 ล้านบาท

      นายสุรพงษ์ เจียสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าร่วมประชุมเตรียมการฝ่ายไทย สำหรับการประชุมคณะ อนุกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ (Sub-Commission on Trade and Economic Cooperation) ครั้งที่ 3 ระหว่างไทยกับรัสเซีย ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม 2559 โดยกระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพ

       สำหรับ การดำเนินงานในส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นการติดตามความคืบหน้าในด้านความร่วมมือด้านการเกษตรที่มีการผลักดันให้มีการลงนามความตกลงระหว่างกัน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยกับกระทรวงเกษตรของรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการเกษตร  2) บันทึกความเข้าใจระหว่างกรมประมงของไทยกับสำนักงานเฝ้าระวังสุขอนามัยพืชและสัตว์ของรัสเซียในการตรวจสอบและรับรองสัตว์น้ำ และ 3) พิธีสารระหว่างสำนักเฝ้าระวังสุขอนามัยพืชและสัตว์ของรัสเซียกับกรมวิชาการเกษตรของไทยเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือในการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย ในการนำเข้าและส่งออกธัญพืชและผลิตภัณฑ์ธัญพืช ซึ่งความตกลงทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายรัสเซีย

    นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ ในการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (Eurasian Economic Union: EEU) ประกอบด้วยสมาชิกรวม 5 ประเทศ คือ รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และอาร์มีเนีย ซึ่งปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการตรวจรับรายงานการศึกษาดังกล่าว

      ทั้งนี้ ประเทศรัสเซีย เป็นประเทศที่พึ่งพิงการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร และยังเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบสินค้าเกษตรเพื่อนำมาผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปเพื่อการส่งออกของไทย โดยปัจจุบันไทยได้ดุลการค้าสินค้าเกษตรกับรัสเซีย คิดเป็นมูลค่า 1,103 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีทางการค้าในอนาคตจำเป็นต้องศึกษาถึงกฎระเบียบและมาตรการกีดกันทางการค้าของรัสเซียที่ค่อนข้างเข้มงวด เพื่อเพิ่มโอกาสการส่งออกของไทยไปรัสเซียต่อไป เลขาธิการ กล่าวทิ้งท้าย

        ข่าว  :  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ข้อมูล : กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

 

เร่งเดินหน้าศักยภาพโลจิสติกส์เกษตรไทย สศก. เปิดเวที ระดมสมองครั้งใหญ่ 4 มีนาคมนี้

    สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จัดรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาและวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรที่สำคัญ เปิดเวทีระดมความเห็นทุกฝ่าย 4 มีนาคมนี้ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ หวังพัฒนาฐานข้อมูลระบบการประเมินประสิทธิภาพต้นทุนโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานภาคการเกษตรของประเทศ

     นายสุรพงษ์ เจียสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยถึงโครงการศึกษาและวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรที่สำคัญ ซึ่ง สศก.โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ได้ดำเนินโครงการ เพื่อศึกษาถึงการจัดทำฐานข้อมูลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ตามกิจกรรมในโซ่อุปทานสินค้าเกษตรและหน่วยธุรกิจการเกษตร ประกอบด้วย สินค้าเกษตรสำคัญ 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ผัก (หน่อไม้ฝรั่ง) และผลไม้ (ทุเรียน) เพื่อให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง  มีฐานข้อมูลระบบการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร (Logistics Performance Index : LPI) ที่สามารถสะท้อนกิจกรรมที่แท้จริง รวมทั้งมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่คำนวณได้อย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การกำหนดนโยบาย แนวทาง และแผนงาน โครงการ เพื่อยกระดับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานภาคการเกษตรของประเทศ

     สำหรับ การศึกษาและวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรที่สำคัญนั้น เป็นการรวบรวมหรือจัดทำข้อมูลเพื่อการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้านการเกษตร ทั้งระดับมหภาคและจุลภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ยังมีอยู่จำกัด ไม่ครอบคลุม โดยส่วนใหญ่ยังคงเน้นการจัดเก็บข้อมูลในมิติต้นทุนโลจิสติกส์เป็นสำคัญ จึงทำให้การจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตรในช่วงที่ผ่านมา ยังคงเน้นการขับเคลื่อนเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ ขณะที่หน่วยธุรกิจเกษตรอื่นๆ โดยเฉพาะผู้รวบรวม ผู้ประกอบการ โรงงานรับซื้อผลผลิต โรงงานแปรรูป และผู้ส่งออก ได้ให้ความสำคัญในการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ครอบคลุมในมิติต่างๆ ทั้งมิติการจัดการด้านต้นทุน (Cost Management)  มิติด้านเวลา (Lead Time) มิติด้านความน่าเชื่อถือ (Reliability) และมิติอื่นๆ ไปพร้อมกัน

   ดังนั้น เพื่อให้รายงานผลการศึกษาโครงการการศึกษาและวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรที่สำคัญข้างต้นมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  สศก.จึงได้เตรียมจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เอกชน หรือผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ ในวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2559 เวลา 08.0013.00 น. ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซี่งการสัมมนาดังกล่าว จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการนำไปปรับปรุงรายงานผลการศึกษาโครงการการศึกษาและวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรที่สำคัญให้มีความสมบูรณ์ ทั้งนี้ สศก.จะได้ประมวลผลการศึกษา และผลการสัมมนาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์การเกษตร ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เลขาธิการ สศก. กล่าว

       ข่าว  :  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ข้อมูล : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!