- Details
- Category: เกษตร
- Published: Saturday, 12 July 2014 08:21
- Hits: 3043
เตรียมแผนรุกล้างบาง 'โรคตายด่วน'ทั่วประเทศ หลัง คสช.อนุมัติงบประมาณ 96.095 ล้านบาท หวัง..ฟื้นอุตสาหกรรมกุ้งไทยทั้งระบบ
นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากปัญหาการระบาดของโรคตายด่วน (EMS) ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งของไทยทั้งระบบ โดยทำให้ผลผลิตกุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงลดลงอย่างมาก จากปริมาณ 480,000 ตัน ในปี 2555 ลดเหลือเพียง 256,000 ตัน ในปี 2556 แม้ที่ผ่านมากรมประมงได้ดำเนินการติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างใกล้ชิด แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากยังขาดงบประมาณในการดำเนินการ ทั้งการจัดหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการตรวจวินิจฉัยโรค พ่อแม่พันธุ์กุ้งสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ในการให้บริการเกษตรกรเพื่อตรวจคัดกรองโรคดังกล่าวออกจาก ระบบการผลิตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น กรมประมงจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อควบคุมและลดความสูญเสีย ของสินค้ากุ้งทะเลจากกลุ่มอาการตายด่วน EMS ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของกลุ่มอาการตายด่วนให้หมดไป รวมทั้งรักษาระดับการผลิต และการส่งออกกุ้งทะเลของไทยให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ โดยได้ขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 ในวงเงิน 200 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการระบาดของ EMS ทั้งระบบ
ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติอนุมัติในหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อควบคุมและลดความสูญเสีย ของสินค้ากุ้งทะเลจากกลุ่มอาการตายด่วน EMS ภายในกรอบวงเงิน 16.095 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากการปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ภายใต้มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2557 มาดำเนินการก่อน หากไม่เพียงพอให้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับงบประมาณส่วนที่เหลือจากการอนุมัติให้จัดตั้งคำของบประมาณในปี 2558
ทั้งนี้ กรมประมงได้ดำเนินการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ปี 2557 เพื่อมาดำเนินโครงการเร่งด่วน ในวงเงิน 16.095 ล้านบาทแล้ว และจะขอสนับสนุนรายจ่ายจากงบกลาง วงเงินอีก 80 ล้านบาท เพื่อดำเนินการใน 3 กิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย
กิจกรรมที่ 1 การนำเข้าพ่อแม่พันธุ์และผลิตลูกพันธ์กุ้งคุณภาพ โดยจะนำเข้าพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวจากต่างประเทศ ได้แก่ เอสไอเอส กวม และไซปัน จำนวน 1,500 คู่ พร้อมเร่งซ่อมแซมโรงเพาะฟักของกรมประมง 10 แห่ง เพื่อเลี้ยงขุนพ่อแม่พันธุ์และผลิตลูกพันธุ์กุ้งขาวคุณภาพให้แก่เกษตรกร ตลอดจนมุ่งหวังที่จะผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้ง 100,000 ตัว ในอนาคต
กิจกรรมที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพระบบคัดกรอง ป้องกัน เฝ้าระวังโรคกุ้งเพื่อยับยั้ง EMS ด้วยการเพิ่มศักยภาพห้องปฏิบัติการในการคัดกรอง ป้องกัน เฝ้าระวังโรคกุ้งทะเล เพื่อให้บริการตรวจคัดกรองโรคกุ้งทะเลแก่เกษตรกร และเพิ่มศักยภาพบุคลากรเพื่อให้บรกรมประมง เตรียมแผนรุกล้างบาง “โรคตายด่วน” ทั่วประเทศ
หลัง คสช. อนุมัติงบประมาณ 96.095 ล้านบาท หวัง..ฟื้นอุตสาหกรรมกุ้งไทยทั้งระบบ
นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากปัญหาการระบาดของโรคตายด่วน (EMS) ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งของไทยทั้งระบบ โดยทำให้ผลผลิตกุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงลดลงอย่างมาก จากปริมาณ 480,000 ตัน ในปี 2555 ลดเหลือเพียง 256,000 ตัน ในปี 2556 แม้ที่ผ่านมากรมประมงได้ดำเนินการติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างใกล้ชิด แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากยังขาดงบประมาณในการดำเนินการ ทั้งการจัดหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการตรวจวินิจฉัยโรค พ่อแม่พันธุ์กุ้งสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ในการให้บริการเกษตรกรเพื่อตรวจคัดกรองโรคดังกล่าวออกจาก ระบบการผลิตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น กรมประมงจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อควบคุมและลดความสูญเสีย ของสินค้ากุ้งทะเลจากกลุ่มอาการตายด่วน EMS ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของกลุ่มอาการตายด่วนให้หมดไป รวมทั้งรักษาระดับการผลิต และการส่งออกกุ้งทะเลของไทยให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ โดยได้ขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 ในวงเงิน 200 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการระบาดของ EMS ทั้งระบบ
ล่าสุด เมื่อวันที่ 24ิการตรวจวิเคราะห์และวินิจฉัยโรค EMS
กิจกรรมที่ 3 เพิ่มกำลังการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม. 1 เพื่อฟื้นฟูแหล่งเลี้ยงกุ้งทะเล โดยเพิ่มกำลังการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม. 1 สูตรผง สำหรับแจกจ่ายให้เกษตรกรทั่วประเทศ จำนวน 100,000 ซอง และจัดตั้งหน่วยผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 สูตรน้ำ ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในตอนท้ายว่า กรมประมงเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า มาตรการต่าง ๆ ที่กรมฯ ได้วางไว้และจะเร่งดำเนินการต่อจากนี้ไป จะทำให้ปัญหาการระบาดของโรคตายด่วนในกุ้งทะเลของไทยคลี่คลายไปในแนวทางที่ดี ขึ้น และจะสามารถช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรอดพ้นจากวิกฤต EMS ได้ในเร็ววัน พร้อมสร้างความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมกุ้งของไทยเพื่อครองความเป็นผู้นำใน ตลาดการส่งออกกุ้งทะเลของโลกอีกครั้ง
ที่มา ประชาสัมพันธ์กรมประมง