- Details
- Category: เกษตร
- Published: Monday, 22 February 2016 22:57
- Hits: 5104
ธ.ก.ส.อุ้มเกษตรกรช่วยภัยแล้ง ชงปล่อยกู้ดอกถูกปลูกพืชทดแทน
ไทยโพสต์ * ธ.ก.ส.เตรียมชง ครม.ไฟเขียว 3 มาตรการอุ้มภาคเกษตรรับปัญหาภัยแล้ง พร้อมเคาะเดินเครื่องโครงการ 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอีเกษตร
แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า กระ ทรวงการคลังเตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบโครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรและชุมชนหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนการปลูกข้าว เพื่อลดการใช้น้ำจากปัญหาภัยแล้ง วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท
โดยโครงการดังกล่าว จะเน้นไป 22 จังหวัดที่มาการ ประกาศภัยแล้ง เพื่อให้เกษตร กรและชุมชนยังมีรายได้จากการปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกข้าว เพื่อลดการใช้น้ำ ซึ่งจะคิดอัตราดอกเบี้ย 0.01% ระยะเวลา 12 เดือน แล้จะมีการขอรับการชดเชยอัตราดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตรา 3% โดยต้นทุนของธนาคารอยู่ที่ราว 2.9%
"โครงการนี้จะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของชุมชนและเกษตรกรจากปัญหาภัยแล้งได้ทางหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกข้าว เพื่อลดการใช้น้ำทำการเกษตร" แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้ จะเสนอให้ ครม.รับทราบมาตรการเพิ่มเติม ในการแก้ปัญหาภัยแล้งที่ได้เคยดำเนินการไปก่อนหน้านี้โดยการขยายวงเงินในการสนับ สนุนสินเชื่อให้เกษตรกรเพิ่มเติมวงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย 4% เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องให้เกษตรกร
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าจะเสนอให้ ครม.รับทราบโครงการ 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอีภาคเกษตร โดยจะเป็นการปล่อยสินเชื่อวงเงิน 7.2 หมื่นล้านบาท เงื่อน ไขปล่อยกู้รายละไม่เกิน 20 ล้าน บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 4% ในช่วงระยะเวลา 1-7 ปี ส่วนปีที่ 8 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR หรือ MLR ตามประเภทลูกค้า
อย่างไรก็ดี โครงการดังกล่าวจะมุ่งสนับสนุนสินเชื่อแก่ เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ การเกษตร วิสาหกิจชุมชน กอง ทุนหมู่บ้านฯ ที่มีศักยภาพ เพื่อยกระดับเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคเกษตร โดยเงื่อนไขที่จะได้รับพิจารณาต้องดำเนินธุรกิจไม่น้อยกว่า 1 ปี มีผลประ กอบการดี ประกอบธุรกิจเพื่อส่งเสริมสมาชิกในชุมชน และเป็นสถาบันการเงินชุมชนให้กู้เงินทุนหมุนเวียนแก่สมาชิก และส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร ผ่านการใช้ความรู้ นวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่
ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีรายงานว่าปรากฏการณ์เอลนีโญหรือภัย แล้ง ที่มีผลกระทบกับปริมาณฝนในไทยลดลงตั้งแต่ปี 2557 ถึงต้นปี 2558 ทำให้ชาวนาต้องเลื่อนการปลูกข้าวนาปีออก ไปและไม่สามารถปลูกข้าวได้ ในอีกหลายพื้นที่ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ถือว่าไทยได้รับผลกระ ทบจากภัยแล้งยาวนานต่อเนื่อง ถึง 3 ปี ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือชาวนา เนื่องจากภัยแล้งกระทบผลผลิตข้าวลดลงแล้ว 3 ฤดูกาล คือ นาปรัง 2557/2558 นาปี 2558 และนาปรัง 2558/2559 ประเมินผลผลิตลดลงรวม 10.02 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 84,228 หมื่นล้านบาท ซึ่งความเสียหาย กว่า 50% เกิดกับผลผลิตนา ปรังปี 2558/2559 ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2558 ถึงมีนาคม 2559.
ชงครม.อุ้มเกษตรกร/ผุด'เอสเอ็มอีตำบล'8.7หมื่นล.อัดเงินกระตุ้นศก.อีกลอต
แนวหน้า : ธ.ก.ส.เสนอครม.สัปดาห์นี้ ขออนุมัติมาตรการอุ้มเกษตรกรเพิ่ม รับพิษภัยแล้งคุกคาม พร้อมเคาะโครงการ'1 ตำบล 1 เอสเอ็มอี' โดยใช้สินเชื่อ เพื่อใช้ในการลงทุนวงเงิน 7.2 หมื่นล้านบาท
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 ก.พ. 2559 นี้ ธ.ก.ส.จะเสนอ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการเพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกร และโครงการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล โดยจะมีการเปิดเผยรายละเอียดหลังจาก มีมติครม.แล้วในวันที่ 24 ก.พ.นี้
ขณะที่ แหล่งข่าวจาก ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธ.ก.ส.จะเสนอมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับ ผลกระทบจากภัยแล้งให้ ครม.พิจารณาเห็นชอบ โดยจะต้องขอเงินชดเชยจากรัฐบาลในส่วนของอัตราดอกเบี้ยในโครงการให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ในแพ็กเกจจะยังมีอีก 2 โครงการ คือ โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รายเล็ก หรือระดับไมโคร และโครงการ 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอี
"โครงการนี้จะเน้นไป 22 จังหวัดที่มีการ ประกาศภัยแล้ง เพื่อให้เกษตรกรและชุมชนยังมีรายได้ จากการปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกข้าว เพื่อลดการ ใช้น้ำ ซึ่งจะคิดอัตราดอกเบี้ย 0.01% ระยะเวลา 12 เดือน และมีการขอรับการชดเชยอัตราดอกเบี้ย จากรัฐบาลในอัตรา 3% โดยต้นทุนของธนาคารอยู่ที่ราว 2.9%" แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าว กล่าวว่า ส่วนโครงการ 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอี จะเป็นการปล่อยสินเชื่อ วงเงิน 7.2 หมื่นล้านบาท เงื่อนไขปล่อยกู้รายละไม่เกิน 20 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 4% ในช่วงระยะเวลา 1-7 ปี ส่วนปีที่ 8 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR หรือ MLR ตามประเภทลูกค้าโดยทั้งสองโครงการจะมีการปล่อยสินเชื่อ รวมกับมาตรการของธ.ก.ส.รวม 87,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะมุ่งสนับสนุนสินเชื่อ แก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน กองทุนหมู่บ้านฯ ที่มีศักยภาพ เพื่อ ยกระดับเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคเกษตร โดยเงื่อนไขที่จะได้รับพิจารณาต้องดำเนินธุรกิจ ไม่น้อยกว่า 1 ปี มีผลประกอบการดี ประกอบธุรกิจ เพื่อส่งเสริมสมาชิกในชุมชน และเป็นสถาบัน การเงินชุมชนให้กู้เงินทุนหมุนเวียนแก่สมาชิก และ ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร ผ่านการใช้ความรู้ นวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่
นอกจากนี้ จะเสนอให้ ครม. รับทราบมาตรการเพิ่มเติมในการแก้ปัญหาภัยแล้งที่ได้เคยดำเนินการไปก่อนหน้านี้ โดยการขยายวงเงิน ในการสนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรเพิ่มเติม วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย 4% เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องให้เกษตรกร
ก่อนหน้านี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเช่นเดียวกันว่า ในสัปดาห์นี้ ที่ประชุมครม.พิจารณาอนุมัติ 2 โครงการ เพื่อปฏิรูปภาคการเกษตร 1.โครงการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง การผลิตสินค้าเกษตร เพื่อใช้เงินในการจ้างเกษตรกร ปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยใน 26 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง 2.โครงการยกระดับกระบวนการผลิต การแปรรูป การเพิ่มมูลค่าสินค้า และการจัดการให้เป็นผู้ประกอบการ 1 เอสเอ็มอี 1 ตำบลภาคเกษตร โดยรัฐจะเป็นผู้สนับสนุนด้านการให้ความรู้และหาตลาด เพื่อสร้างความเข้มแข็งกับเศรษฐกิจภายในประเทศ
ทั้งนี้ รัฐบาลจึงต้องเร่งสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากให้เป็นเกษตรกรที่เข้มแข็งสามารถยืนหยัดสู้กับคนอื่นได้ ด้วยการสนับสนุนเงินทุน ผ่านกองทุนหมู่บ้าน เชื่อว่าจะช่วยให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนไปใช้ในการประกอบอาชีพ เพื่อเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว นอกจากนี้ ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมกับให้ความรู้ ด้านการบริหารจัดการ สร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ถือเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญของการเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ประธานกรรมการ (บอร์ด) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บอร์ด กนอ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์วิกฤติภัยแล้ง ปี 2559 ส่งผลทำให้หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบ ขาดแคลนน้ำใช้ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เร่งรัดให้ กนอ. เตรียมพร้อมในการรับมือปัญหาภัยแล้ง เพื่อไม่ให้กระทบกับภาคอุตสาหกรรม และประชาชนทั่วประเทศ
"จากสถานการณ์วิกฤติภัยแล้งในครั้งนี้ มีแนวโน้มว่าปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนทั่วประเทศ ที่สามารถนำมาใช้งานได้ มีปริมาณต่ำกว่าปีที่ผ่านมา และอาจไม่เพียงพอต่อหลายภาคส่วน อาทิ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม เนื่องจาก ปีที่ผ่านมา ปริมาณน้ำฝนเกิดการทิ้งช่วงทำให้น้ำในแม่น้ำหลายสายที่เป็นแม่น้ำสายหลัก ป้อนน้ำเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณน้ำน้อยกว่าทุกปี" พล.อ.วรพงษ์ กล่าว