- Details
- Category: เกษตร
- Published: Monday, 22 February 2016 22:45
- Hits: 4387
ฉัตรชัย จ่อเรียกคกก.แก้วิกฤติแล้งหารือสัปดาห์หน้า คาดมี.ค.-เม.ย.แล้งหนัก
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อรับฟังบรรยายสรุปผลการศึกษาดูงาน และแผนการขับเคลื่อนนโยบายการปฏิรูปการเกษตรสู่การปฏิบัติ หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ดูสภาพปัญหาจริงในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ประสบวิกฤติภัยแล้งหนักใน 4 จังหวัด คือสิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี และลพบุรี ว่า ได้สั่งการให้ทุกกรมลงไปดูแลช่วยเหลือเกษตรกร บรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรับทราบประชาชนส่วนใหญ่พอใจมาตรการการช่วยเหลือภาครัฐกว่า 80% และเกษตรกร ให้ความร่วมมืออย่างดี น่าพึ่งพอใจในการลดการทำนาปรังกว่าครึ่งจากปี 58
อย่างไรก็ตาม ปัญหาภัยแล้งน่าเป็นห่วงมีพื้นที่กระทบภัยแล้งทั่วประเทศ ซึ่งการบริหารจัดการน้ำไม่สามารถดูแลพื้นที่เพาะปลูกได้ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้นำมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลลงพื้นที่และเดินหน้าเต็มที่ภายในเดือนนี้ ทั้งในส่วนกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงมหาดไทย กองทุนหมู่บ้านๆ 5 ล้านบาท ให้เกษตรกรผ่านภัยแล้งไปได้
ล่าสุด ทั่วประเทศประกาศพื้นที่ภัยพิบัติแล้งแล้ว 11 จังหวัด 40 อำเภอ นายกฯ ได้สั่งการให้กองทัพภาคที่ 1 ดูแลช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำกินน้ำใช้ ในพื้นที่ภาคกลางอย่างเต็มที่ และกองทัพภาคอื่นดูแลในพื้นที่รับผิดชอบ กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) บูรณาการทุกกระทรวงพล.อ.ฉัตรชัย กล่าว และว่า ในฐานะตนเป็นประธานคณะกรรมการบูรณาการแก้ไขวิกฤติภัยแล้ง จะเรียกประชุมเกาะติดสถานการณ์ภัยแล้งทุกกระทรวงสัปดาห์หน้า เพื่อวางแผนรับมือสถานการณ์ที่จะเกิดรุนแรงขึ้นในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.นี้ ยืนยันว่าดูแลเต็มที่ไม่ให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้แน่นอน ในช่วงแล้ง 3-4 เดือนนี้
กระทรวงเกษตรฯเร่งกู้วิกฤติแล้งกำหนดมาตรการช่วยเกษตรกรจริงจัง
แนวหน้า : ท่ามกลางวิกฤติสถานการณ์ภัยแล้ง ในปัจจุบัน มีการคาดว่ามีปริมาณน้ำใช้ การได้ 20,733 ล้านลบ.ม. ในขณะที่ความต้องการน้ำในภาพรวมสูงถึง 70,249 ล้านลบ.ม. แบ่งเป็นความต้องการใช้ในภาคเกษตรจำนวน 53,034 ล้าน ลบ.ม. หรือ 75% จากตัวเลขดังกล่าวถือว่าปริมาณน้ำที่จำเป็นต้องใช้ยังขาดแคลนอยู่มหาศาล ส่งผลให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ต้องงัดมาตรการรับมืออย่างเร่งด่วน เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน ของเกษตรกรและประชาชน
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากวิกฤติดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2558/59 ภายใต้การ ดำเนินงานของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2558/59 ระดับชาติ (ศก.กช.) จำนวน 8 มาตรการ ได้แก่ 1.มาตรการส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน 386,809 ราย 2.มาตรการชะลอหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน 782,789 ราย 3.มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ 98,888 ราย 4.มาตรการเสนอโครงการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของหมู่บ้าน/ชุมชน 9,771 โครงการ 5.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ 6.มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน 7,829 แห่ง 7.มาตรการเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และ 8.มาตรการอื่น เช่น ให้ความช่วยเหลือ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง เป็นต้น
นายธีรภัทร กล่าวด้วยว่า จากปัญหา น้ำในเขื่อนต่ำสุดในรอบ 20 ปี คาดความเสียหายเบื้องต้นภาคเกษตร 6.5 หมื่นล้าน ซึ่งอีกหนึ่งแนวทางหนึ่งคือ เสนอรัฐในการเพิ่มมาตรการจูงใจลดการใช้น้ำในครัวเรือนภาคธุรกิจให้มากขึ้น รวมทั้งได้มอบหมายให้กรมชลประทาน ควบคุมปริมาณน้ำให้สูง กว่าเกณฑ์ นอกจากนี้ทางกรมชล จะไม่พยายามใช้น้ำจากอ่างในช่วงฝนตกเพื่อให้น้ำในอ่างสูงกว่าเกณฑ์ให้ได้ และคาดว่าเดือนเม.ย.ทิศทางสถานการณ์น้ำจะดีขึ้น โดยมีเป้าหมายในปลายปีจะเติมน้ำในอ่าง ให้เต็มขณะที่ในช่วงภัยแล้งที่เหลืออีก 100 วัน ถ้าไม่ใช้น้ำในการเพาะปลูกมากเกินไป เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะ ไม่ขาดแคลนน้ำอย่างแน่นอน
รวมทั้งได้ขอความร่วมมือเกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรัง โดยจะเร่งส่งเสริมให้ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ทนแล้งและสำหรับการปลูกข้าวนาปี พร้อม ประชาสัมพันธ์ให้เลื่อนการเพาะปลูกออกไป จากช่วงปกติ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สามารถลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง จาก 8 ล้านไร่ ในปี 2557/58 เหลือ 4 ล้านไร่ ในปี 2558/59
"กระทรวงเกษตรฯมีแนวทางการบริหารงานโดยให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลาง การให้ความสำคัญทั้งในเรื่องพืช ประมง และปศุสัตว์ อีกทั้งยังมีการพัฒนา Single Command ให้มีความเข้มแข็ง รวมถึงสามารถประสานงานในเชิงนโยบายได้ โดยได้ดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลใน 6 ด้าน ได้แก่ 1.การลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน 2.แปลงใหญ่ 3.Zoning 4.882 ศูนย์ 5.ธนาคารสินค้าเกษตร และ 6.เกษตรอินทรีย์" นายธีรภัทร กล่าว