WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AGสรพงษ เจยสกลแนวโน้มแรงงานเกษตรอายุมาก แนะผลิตแรงงานฝีมือ-จัดสวัสดิการ-ดึงเทคโนโลยีเข้าช่วย

     สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุ แนวโน้มเคลื่อนย้ายแรงงานเกษตรเข้าสู่อุตสาหกรรมเพิ่ม ส่งผลภาคเกษตรไทยมีแรงงานผู้สูงอายุจำนวนมาก แนะเร่งผลิตแรงงานรุ่นใหม่ให้ตรงความต้องการของตลาด หนุนการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกล การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว รวมทั้งจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุและแรงงานภาคเกษตร

      นายสุรพงษ์ เจียสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือ ปี 2558ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ว่า ปัจจุบันแรงงานผู้สูงอายุ (อายุ 65 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2548 ประมาณ 1.9 ล้านคน หรือ ร้อยละ 8.5 ของแรงงานภาคเกษตร และเพิ่มเป็น 2.65 ล้านคน ในปี 2558 คิดเป็นร้อยละ 11 ของแรงงานภาคเกษตรทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่คาดว่าในปี 2563 ประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ประมาณ 8.9 ล้านคน อันเป็นสัญญาณเตือนให้เห็นว่าสังคมไทยกำลังย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ

     สำหรับ ปัจจัยที่ส่งผลนั้น ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ทั้งรายได้เฉลี่ยต่อปีที่ต่ำลง อายุ ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ขนาดครัวเรือนที่ใหญ่ขึ้นในขณะที่ขนาดถือครองพื้นที่การเกษตรเฉลี่ยต่อคนที่ลดลง รวมทั้งเกษตรกรที่มีหนี้สินที่ต้องชำระเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการที่รายได้นอกภาคเกษตรมีความมั่นคงสูงกว่า จึงเป็นแรงจูงใจให้แรงงานภาคเกษตรเคลื่อนย้ายออกนอกภาคเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกหลานเกษตรกรเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ส่วนใหญ่ มีแนวโน้มเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

      ดังนั้น จึงควรผลักดันแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เช่น การเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้มีฝีมือ การส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานคน การบริหารจัดการใช้แรงงานต่างด้าวทดแทนแรงงานในส่วน ที่ขาด และการผลิตนักเรียนนักศึกษาให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พร้อมทั้งการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุและแรงงานภาคเกษตรเพื่อดูแลด้านสุขภาพและจิตใจ และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมไทยที่นับวันจะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อความผาสุกและความยั่งยืนอีกด้วย

    ข่าว  :  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ข้อมูล : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร

'

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!