WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCฉตรชย สารกลยะ copyก.เกษตรฯ ยันน้ำมีพอใช้ถึงกลาง ส.ค.-เตรียมเสนอครม.อนุมัติโครงการบรรเทาภัยแล้งเพิ่ม

     พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อบรรเทาปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้สถานการณ์น้ำในขณะนี้มีน้ำไหลเข้าเพิ่มจากช่วงก่อน เฉลี่ยวันละ 8.25 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำเฉลี่ย วันละ 17.8 ล้าน ลบ.ม. คาดการณ์ว่าจะมีน้ำใช้เพื่ออุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์ฯลฯ ได้ถึงกลางเดือนสิงหาคมนี้

        สำหรับ ปริมาณน้ำใช้การจาก 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา ณ 3 ก.พ. 2559 มีน้ำใช้การได้รวม 3,423 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งขอให้มั่นใจว่าจะมีน้ำอุปโภคบริโภค น้ำรักษาระบบนิเวศน์อย่างเพียงพอ ด้านการดูแลข้าวนาปี ที่จะเก็บเกี่ยวในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ไม่เสียหายแน่นอน ในขณะที่ข้าวนาปรังได้รับผลกระทบ ครอบคลุมพื้นที่ปลูกทั้งหมด 4.5 ล้านไร่ อยู่ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา 2.7 ล้านไร่ อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรฯ จะดำเนินการอย่างดีที่สุด โดยไม่ให้กระทบกับแผนที่วางไว้

     “ด้านความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง นั้น มีความคืบหน้าในมาตรการที่ 4 ระยะที่ 1 โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย/ใช้ความชื้นในดิน จำนวน 155 โครงการ ใน 20 จังหวัด 60 อำเภอ 132 ชุมชน จำนวน 151.94 ล้านบาท ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และในระยะที่ 2 การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชน เพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง ล่าสุดครม.อนุมัติโครงการแล้ว 3,135 โครงการ วงเงิน 1,833 ล้านบาท ส่วนโครงการที่เหลืออีก 6,481 โครงการ กำลังทยอยพิจารณาและเตรียมเสนอ ครม. ภายในสัปดาห์หน้า" พล.อ. ฉัตรชัย กล่าว

                        อินโฟเควสท์

ก.เกษตรฯเพิ่มจุดรับซื้อ-ปรับเงื่อนไขให้คล่องตัว เล็งดึงปริมาณซื้อ-ขายยางเพิ่ม

     พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงถึงความคืบหน้าการรับซื้อยางพาราตามนโยบายรัฐบาลว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯ โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้เปิดจุดรับซื้อยางจากเกษตรกรรายย่อยตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา ตามโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศโดยรับซื้อยางจากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท. และตั้งเป้าที่จะขยายจุดรับซื้อเพิ่มขึ้นจาก 621 แห่ง ให้ได้ไม่น้อยกว่า 834 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ปลูกยางพารา โดยมีราคารับซื้อยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 กิโลกรัมละ 45 บาท น้ำยางสดราคากิโลกรัมละ 42 บาท และยางก้อนถ้วย ราคากิโลกรัมละ 41 บาท จำนวนไม่เกินไร่ละ 10 กิโลกรัม รวมไม่เกิน 15 ไร่ หรือไม่เกิน 150 กิโลกรัม ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2559

      ผลการดำเนินการตามโครงการฯ จนถึงขณะนี้ มีปริมาณยางที่รับซื้อแล้วจำนวน 697.64 ตัน จากเกษตรกรจำนวน 7,171 รายเป็นยางแผ่นดิบจำนวน 264.03 ตัน น้ำยางสดจำนวน 144.76 ตัน และยางก้อนถ้วยจำนวน 288.86 ตัน คิดเป็นเงินที่จ่ายให้เกษตรกรชาวสวนยาง 29.80 ล้านบาท และจากการสำรวจความพึงพอใจพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 85 พึงพอใจต่อมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลดังกล่าว

    รมว.เกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ปัญหาที่เกษตรกรนำยางมาขายน้อย เนื่องจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทยอยปิดกรีดยางแล้ว ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง เกษตรกรเลือกขายให้พ่อค้าในพื้นที่เพราะสะดวกกว่า ความกังวลเรื่องคุณภาพยางของเกษตรกรว่าจะไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่โครงการฯกำหนด จุดรับซื้อกระจายไม่ทั่วถึง การรับเงินผ่าน บัญชี ธ.ก.ส. ใช้เวลา 2 วัน ปัญหากลุ่ม/สถาบันเกษตรกรไม่สมัครเป็นจุดรับซื้อยางในโครงการฯ เพราะได้รับค่าดำเนินการน้อย

     โดยแนวทางแก้ไขแก้ปัญหาดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้ กยท. รีบประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในสัปดาห์นี้ เพื่อปรับเงื่อนไขการรับซื้อยางให้สะดวกและคล่องตัวขึ้น เปิดจุดรับซื้อยางเพิ่มทุกจังหวัด ประสานกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรผลิตยางได้คุณภาพตรงตามหลักเกณฑ์การรับซื้อของโครงการฯ และสร้างความเข้าใจให้ชาวสวนยางในพื้นที่รับทราบข้อมูลข่าวสารมากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงค่าดำเนินการ ค่าขนส่งให้เหมาะสม เพื่อจูงใจกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรให้สมัครเป็นจุดรับซื้อยางในโครงการฯ

     สำหรับ ความคืบหน้าผลการดำเนินโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ได้จ่ายเงินให้เกษตรกรชาวสวนยาง แบ่งเป็น เจ้าของสวนยางจำนวน 114,029 ครัวเรือน จำนวนเงิน 976,348,125 บาท คนกรีดยางจำนวน 108,997 ครัวเรือน จำนวนเงิน 619,055,850 บาท รวมทั้งสิ้นจำนวน 223,026 ครัวเรือน จำนวนเงิน 1,595,403,975 บาท จากข้อมูลการรับแจ้งเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน 641,694 ครัวเรือน โดย กยท.ลงระบบบันทึกข้อมูลแล้ว 193,937 ครัวเรือน อยู่ระหว่างตรวจสอบและบันทึกข้อมูล 217,013 ครัวเรือน คาดว่าจะบันทึกระบบครบภายในสิ้นเดือนนี้ และอยู่ระหว่างการดำเนินการของกรมส่งเสริมการเกษตรอีก 230,744 ครัวเรือน

    อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งการและให้ความสำคัญการดำเนินโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางและโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐให้โปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยได้รับการช่วยเหลือเท่าเทียมและเป็นธรรม เกิดประโยชน์กับเกษตรกรอย่างเต็มที่ โดยมีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มาร่วมตรวจสอบด้วย

     นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาตรวจสอบ ซึ่งจะเชื่อมโยงข้อมูลกับทะเบียนราษฎร ป้องกันการสวมทะเบียน หรือการเวียนเทียน จึงมั่นใจได้ว่าเงินที่รัฐบาลช่วยเหลือจะถึงมือเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท.อย่างเป็นธรรมทั่วถึงแน่นอน ซึ่งการจ่ายเงินจะโอนเข้าบัญชีเกษตรกรที่เปิดไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) โดยตรง

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!