WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1กระชาย

กระชายพืชแซมสวนยางพารา ปลูกรอราคา ไม่ง้อคนกลาง

    พื้นที่จังหวัดอุทัยธานีทั้งหมด มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการทำสวนยางพารามากที่สุด ประมาณ 70,000 ไร่เศษ ขณะที่ปัจจุบัน มีเกษตรกรทำสวนยางพารา เพียง 30,000 ไร่เศษ เท่านั้น

   สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ไม่ทำสวนยางพารา ทั้งที่พื้นที่มีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา คุณสุรชัย วิเคราะห์ว่า เกิดจากความไม่รู้ และเคยชินกับการปลูกพืชที่ปลูกมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ไม่กล้าเสี่ยงหรือเริ่มต้นสิ่งใหม่ ดังนั้น การส่งเสริมโดยการให้ความรู้กับเกษตรกรจึงเป็นเรื่องสำคัญ

    ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดอุทัยธานี ปฏิบัติงานในกิจการการยางแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า สวนยางพาราในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี เริ่มปลูกมานานกว่า 30 ปี สวนยางพาราชุดแรก อยู่ระหว่างตัดต้นขาย มีจำนวนผู้ที่ขึ้นทะเบียนการทำสวนยางพาราไว้ ปัจจุบันจำนวน 2,100 ราย พื้นที่ปลูก 32,003 ไร่ ซึ่งภาครัฐต้องการให้ลดพื้นที่ปลูกลง โดยหากยังมีพื้นที่เหมาะสมกับการปลูก ก็สามารถปลูกได้ แต่ลดจำนวนปลูกต่อไร่ลง และปลูกพืชร่วมหรือพืชแซมสวนยางพารา เป็นการเสริมรายได้ภายในสวนแทน

    เดิมการทำสวนยางพารา จำนวนต้นต่อไร่ จำนวน 76 ต้น ให้ลดจำนวนลง เพิ่มระยะห่างระหว่างต้นและแถวมากขึ้น ให้เหลือจำนวนต้นต่อไร่ จำนวน 40 ต้น ซึ่งพื้นที่ว่างระหว่างต้นและแถว ให้ปลูกพืชแซมสวนยางพารา เป็นการสร้างรายได้เสริมจากการทำสวนยางพาราปกติ โดยจังหวัดอุทัยธานีปัจจุบัน มีเกษตรกรที่เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ เริ่มนำกระชายในถุงดำปลูก เป็นพืชเสริมภายในสวนแล้ว

  อาจจะนับจำนวนเกษตรกรที่เห็นความสำคัญในการปลูกพืชแซมสวนยางพารา เพื่อเสริมรายได้จากการกรีดยาง มีเพียงไม่กี่รายทั้งจังหวัด ซึ่ง คุณสมควร ชำนิเชิงค้า เป็นคนแรกๆ ที่ทำสวนยางพาราและเริ่มปลูกกระชายในถุงดำแซมในสวนยางพารา และ คุณปณิธาน ตั้งพิทักษ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อยาง เป็นผู้ที่เล็งเห็นความสำคัญในการปลูกพืชเสริมในสวนยางพาราเป็นรายได้เสริม

        อ่านเทคนิคการปลูกกระชายดำในสวนยาง คลิกได้ที่นี่

     http://www.matichon.co.th/news/9730

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!