WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Payutนายกฯ เผยรบ.ตั้งงบ 2 พันลบ.แปรรูปยางกว่า 1 หมื่นตันที่ซื้อจากเกษตรกร ตามข้อเสนอ 8 กระทรวง

   พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชี้แจงถึงการตั้งงบประมาณในการแปรรูปยางพาราที่ได้จากการรับซื้อจากเกษตรกรที่จะใช้วงเงินเบื้องต้นจากงบปกติของปี 2559 วงเงิน 2,000 ล้านบาท ในการแปรรูปยางพารา 14,000 ตัน ตามข้อเสนอของ 8 กระทรวง แต่หากมีความต้องการเพิ่มเติม ก็สามารถเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวงเงินจากงบกลางที่ตั้งกรอบไว้

     พร้อมย้ำว่า การรับซื้อยาง 1 แสนตันตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรอาจไม่จำเป็นต้องรับซื้อครบตามจำนวนแต่ต้องการให้กลไกการใช้ยางในภาคธุรกิจสามารถเริ่มต้นได้โดยมติคณะรัฐมนตรีที่มีมติเห็นชอบให้ใช้งบประมาณในการรับซื้อยางพาราจากเกษตรกรในวงเงิน 4,500 ล้านบาท

     นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า การเดินหน้าแก้ปัญหาราคายางพาราด้วยการบูรณาการและวางแนวทางแก้ปัญหาทั้งระบบ ซึ่งแนวทางการรับซื้อยางจากเกษตรกร ถือเป็นการเริ่มต้นระยะที่ 1 ของการแก้ปัญหาอย่างครบวงจร

     ทั้งนี้ ได้ปรับระเบียบราชการเพื่อให้ภาครัฐซื้อผลิตภัณฑ์จากยางพาราได้มากขึ้น ขณะเดียวกันได้เร่งรัดการรับรองมาตรฐานให้กับภาคเอกชน โดยเชื่อมั่นว่าการดำเนินมาตรการของรัฐบาลจะส่งผลให้สถานการณ์ราคายางในระยะยาวดีขึ้น

     นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่ากังวลต่อปัญหาการทุจริตในการรับซื้อยางพาราจึงได้กำหนดกลไกในการรับซื้อที่รัดกุม โดยเฉพาะการเวียนขายยางเก่าให้กับรัฐ โดยให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทั้ง คสช. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันตรวจสอบ

      "ผมก็กังวล ผมได้สั่งไปแล้วดูให้ดีกลไกในการรับซื้อต้องให้ดี ไม่อยากให้ซื้อมาเวียน ซึ่งมันมีโอกาส ถ้าสมมติทุกคนไม่รักษาสิทธิ์ตัวเองคงลำบาก เอายางที่ขายไปแล้วมาวนเวียนใหม่ต้องตรวจสอบให้ดี"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

      นายกรัฐมนตรี ระบุว่า เกษตรกรให้ความร่วมมือกับภาครัฐมากขึ้น แต่ย้ำว่าจะต้องมีการพิจารณาในการปรับลดพื้นที่ปลูกยางและแนวทางการปลูกพืช หรือสร้างอาชีพเสริม

นายกฯ เผยรัฐบาลตั้งใจแก้ปัญหาราคายางเพื่อช่วยเกษตรกร ย้ำทุกขั้นตอนต้องไม่มีทุจริต

     พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า รัฐบาลมีความจริงใจและตั้งใจที่จะแก้ปัญหาซึ่งมาตการรับซื้อยางพาราจาก เกษตรกร ในราคา กิโลกรัมละ 45 บ. เป็นมาตรการแรก ที่จะเข้าไปรับซื้อยางพาราเพื่อนำเข้าสู่กลไกการผลิตช่วยสร้างความเข้มแข็ง ให้ ผู้ประกอบการและเกษตรกรยืนยันว่าการดำเนินการทุกขั้นตอนต้องไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้น

  พร้อมทั้งขอให้ผู้ประกอบการช่วยชี้แจงและสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้ เกิดกับเกษตรกรหลังจากที่มีคน บางกลุ่มพยายามบิดเบือนข้อมูล ทำให้เกษตรกรเสียประโยชน์ พร้อมฝากถึงทุกส่วนราชการ ให้ความ สนใจกับนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงและให้ช่วยเหลือเรื่องการวิจัยและการ รับรองมาตรฐาน เพื่อให้ สินค้าเป็นที่ยอมรับทั้งในไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งจะเร่งให้มีการรับรองมาตรฐานใหักับผลิตภัณฑ์ จากยางพาราที่ไม่มี ความซับซ้อนด้านเทคนิค

       นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังขอให้ทุกคนใช้สินค้าไทยที่มีคุณภาพเช่นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจาก ยางพารา ขณะ ที่ส่วนตัวเลือกใช้สินค้าแบรนด์เนมเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้นและจะเลือกใช้ สินค้าไทยที่มีคุณภาพด้วย

   ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ร่วม กันจัดการแสดงซึ่งเป็นการแสดง ให้เห็นถึงความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางใน ประเทศ

ก.เกษตรฯ แจงหลักเกณฑ์ ขั้นตอนรับซื้อยาง มอบหมายสำนักงบฯ จัดหาวงเงิน 5.4 พันลบ.

   พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า แหล่งที่มาของเงินสนับสนุนในการซื้อยางโดยตรงจากเกษตรกร สำนักงบประมาณจะเป็นผู้จัด หางบประมาณ จำนวน 5,479 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินรับซื้อจากเกษตรกรสวนยาง 4,500 ล้าน บาท เป็นค่าจ้างแปรรูป ค่าขนส่ง 739 ล้านบาท ค่าเก็บรักษา 150 ล้านบาท ค่าดำเนินการของ หน่วยงานตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 2 วงเงิน 90 ล้านบาท ภายใต้หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักคือ กยท. และหน่วยงานสนุบสนุนอีก 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การคลัง สินค้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และสำนักงบประมาณ

   สำหรับ หลักเกณฑ์โครงการรับซื้อยางพารา คือ เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนกับ กยท. ตาม พ.ร.บ. การยางฯ 2558 มีบัญชีกับ ธ.ก.ส. ได้สิทธิ์ไม่เกินรายละ 15 ไร่ (จำนวนเศษปัดเป็น 1 ไร่) ไร่ ละ 10 กิโลกรัม รวม 150 กิโลกรัม

    จุดรวบรวม 1,500 จุด ทั่วประเทศ โดยเน้นจุดที่เป็นวิถีของตลาดปกติเป็นหลัก โดยแต่ละจุด คณะ กรรมการประจำจุด ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ กยท. ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ กษ. ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ คสช. ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่มหาดไทยในพื้นที่ ปปช. และ สตง. ในพื้นที่เป็นผู้สังเกตการณ์

      ด้านขั้นตอนการปฏิบัติในการรับซื้อยางพารา มีดังนี้ เกษตรกรนำน้ำยาง ยางก้อนถ้วย ยางแผ่นดิบ มาที่จุดรวมยาง และแสดงบัตรขึ้นทะเบียน กยท. และบัตรประชาชน เพื่อลงทะเบียน และทำการส่ง มอบยางให้เจ้าหน้าที่เพื่อตรวจคุณภาพและชั่งน้ำหนัก เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ปริมาณ ประเภทยาง จำนวนเงิน) และออกเอกสารเป็นหลักฐานให้เกษตรกร 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่ ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ในการรับซื้อแต่ละวันให้แก่ ธ.ก.ส. และ ธ.ก.ส. จ่ายเงินเข้าบัญชี เกษตรกรภายใน 2 วัน

    ทั้งนี้ จากจุดรวมยางไปยังผู้ประกอบการ บันทึกข้อมูลลงระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ทั้งปริมาณยาง ประเภทของยาง และสถานที่รับปลายทาง ข้อมูลการปฏิบัติจะจัดทำ Application ให้ทุกคน download ได้ตลอดเวลา เพื่อร่วมกันติดตามโครงการและสร้างความโปร่งใส

                ด้านความคืบหน้ามาตรการ "สร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง" โครงการชดเชยราย ได้แก่ชาวสวนยางและคนกรีดยาง ไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 15 ไร่ นั้น มีจำนวน เกษตรกรในฐานข้อมูลของ กยท. แล้ว 798,919 ครัวเรือน แบ่งเป็น ชาวสวนและกรีดเอง 253,026 คน คนกรีด 7,049 คน ชาวสวนจ้างต่างด้าว 30,453 คน จากนี้เจ้าหน้าที่ระดับตำบล และอำเภอจะรับรองสิทธิ์ เริ่มดำเนินการระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2559 มีเกษตรกรได้รับ การรับรองสิทธิ์แล้ว 103,799 คน และกยท.จะประมวลข้อมูลส่ง ธ.ก.ส. ในวันที่ 21-22 ม.ค. และจะโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรในวันที่ 22-24 ม.ค. ทั้งนี้ภายในวันที่ 25 ม.ค.นี้ เกษตรกรจะ ได้รับเงินแน่นอน สำหรับเกษตรกรที่แจ้งเข้าร่วมโครงการส่วนที่เหลือ จะเร่งรัดให้ได้รับเงินช่วย เหลือภายในเดือน ม.ค. นี้ด้วย

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ก.เกษตรฯ แจงหลักเกณฑ์และขั้นตอนรับซื้อยาง-มอบสำนักงบฯ จัดหาวงเงิน 5.4 พันลบ.

       พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า แหล่งที่มาของเงินสนับสนุนในการซื้อยางโดยตรงจากเกษตรกร สำนักงบประมาณจะเป็นผู้จัดหางบประมาณ จำนวน 5,479 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินรับซื้อจากเกษตรกรสวนยาง 4,500 ล้านบาท เป็นค่าจ้างแปรรูป ค่าขนส่ง 739 ล้านบาท ค่าเก็บรักษา 150 ล้านบาท ค่าดำเนินการของหน่วยงานตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 2 วงเงิน 90 ล้านบาท ภายใต้หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักคือ กยท. และหน่วยงานสนุบสนุนอีก 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การคลังสินค้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และสำนักงบประมาณ

     สำหรับ หลักเกณฑ์โครงการรับซื้อยางพารา คือ เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนกับ กยท. ตาม พ.ร.บ. การยางฯ 2558 มีบัญชีกับ ธ.ก.ส. ได้สิทธิ์ไม่เกินรายละ 15 ไร่ (จำนวนเศษปัดเป็น 1 ไร่) ไร่ละ 10 กิโลกรัม รวม 150 กิโลกรัม

     จุดรวบรวม 1,500 จุด ทั่วประเทศ โดยเน้นจุดที่เป็นวิถีของตลาดปกติเป็นหลัก โดยแต่ละจุด คณะกรรมการประจำจุด ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ กยท. ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ กษ. ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ คสช. ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่มหาดไทยในพื้นที่ ปปช. และ สตง. ในพื้นที่เป็นผู้สังเกตการณ์

       ด้านขั้นตอนการปฏิบัติในการรับซื้อยางพารา มีดังนี้ เกษตรกรนำน้ำยาง ยางก้อนถ้วย ยางแผ่นดิบ มาที่จุดรวมยาง และแสดงบัตรขึ้นทะเบียน กยท. และบัตรประชาชน เพื่อลงทะเบียน และทำการส่งมอบยางให้เจ้าหน้าที่เพื่อตรวจคุณภาพและชั่งน้ำหนัก เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ปริมาณ ประเภทยาง จำนวนเงิน) และออกเอกสารเป็นหลักฐานให้เกษตรกร 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ในการรับซื้อแต่ละวันให้แก่ ธ.ก.ส. และ ธ.ก.ส. จ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรภายใน 2 วัน

      ทั้งนี้ จากจุดรวมยางไปยังผู้ประกอบการ บันทึกข้อมูลลงระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ทั้งปริมาณยาง ประเภทของยาง และสถานที่รับปลายทาง ข้อมูลการปฏิบัติจะจัดทำ Application ให้ทุกคน download ได้ตลอดเวลา เพื่อร่วมกันติดตามโครงการและสร้างความโปร่งใส

     ด้านความคืบหน้ามาตรการ 'สร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง'โครงการชดเชยรายได้แก่ชาวสวนยางและคนกรีดยาง ไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 15 ไร่ นั้น มีจำนวนเกษตรกรในฐานข้อมูลของ กยท. แล้ว 798,919 ครัวเรือน แบ่งเป็น ชาวสวนและกรีดเอง 253,026 คน คนกรีด 7,049 คน ชาวสวนจ้างต่างด้าว 30,453 คน จากนี้เจ้าหน้าที่ระดับตำบลและอำเภอจะรับรองสิทธิ์ เริ่มดำเนินการระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2559 มีเกษตรกรได้รับการรับรองสิทธิ์แล้ว 103,799 คน และกยท.จะประมวลข้อมูลส่ง ธ.ก.ส. ในวันที่ 21-22 ม.ค. และจะโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรในวันที่ 22-24 ม.ค. ทั้งนี้ภายในวันที่ 25 ม.ค.นี้ เกษตรกรจะได้รับเงินแน่นอน สำหรับเกษตรกรที่แจ้งเข้าร่วมโครงการส่วนที่เหลือ จะเร่งรัดให้ได้รับเงินช่วยเหลือภายในเดือน ม.ค. นี้ด้วย

    อินโฟเควสท์

พณ.จัดธงฟ้าอุ้มสวนยาง รัฐบาลดึงส่วนราชการรับซื้อยางพารากระจายสินค้า

      บ้านเมือง : ก.พาณิชย์ทุ่มงบ 17 ล้านบาท จัดโครงการธงฟ้าลดราคากว่า 40% ช่วยชาวสวนยางภาคใต้ รัฐบาลดึงส่วนราชการรับซื้อยางพาราตรวจดูผลิตภัณฑ์ หวังส่งเสริมใช้ยางพาราปูพื้น ที่นอนนักโทษ และอุปกรณ์จากยางพารา ขณะที่ ส.อ.ท. เล็งเจรจาผู้ประกอบการล้อยางจัดโปรโมชั่นลดราคายางและกระจายไปยังสินค้าอื่น

      น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแนวทางการช่วยเหลือเกษตรผู้ปลูกยางพาราภาคใต้ว่า ขณะนี้กรมได้ส่งงบที่ใช้ดำเนินการสินค้าธงฟ้าให้กับจังหวัดที่มีการปลูกยาง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการนำสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดลงไปจำหน่ายให้กับเกษตรกรภาคใต้ ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในราคาต่ำกว่าท้องตลาดและต่ำกว่าการจัดธงฟ้าปกติ

     โดยราคาสินค้าที่นำไปจำหน่ายจะลดลงมากกว่า 40% จากปกติสินค้าธงฟ้าราคาจะต่ำกว่าตลาด 20-40% มีทั้งข้าวสารธงฟ้า น้ำมันพืช ไข่ไก่ เป็นต้น ซึ่งใช้งบประมาณ 17 ล้านบาท จากงบธงฟ้าทั่วประเทศ 200 ล้านบาท

      พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีหลายกระทรวงตรวจเยี่ยมบูธผลิตภัณฑ์ยางพาราจากบริษัทเอกชนที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เพื่อต้องการดึงส่วนราชการ 8 กระทรวงรับซื้อยางพาราไปใช้ตามภารกิจของแต่ละส่วนงาน และยังมอบหมายให้แบงก์รัฐทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน เป็นแหล่งเงินทุนรับซื้อยางวงเงิน 4,500 ล้านบาท ปริมาณยางพารา 100,000 ตันให้กับองค์การคลังสินค้า (อคส.) และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รับซื้อยางพาราโดยตรงจากชาวสวนรองรับความต้องการของส่วนราชการ โดยรัฐบาลพร้อมสนับสนุนชาวสวนยางรวมกลุ่มสร้างผลิตภัณฑ์จากน้ำยางผ่านโครงการ 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอีเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพารา

     นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า หลายส่วนราชการต้องการรับซื้อผลิตภัณฑ์ยางพาราตามภารกิจของงาน โดยเฉพาะกรมราชทัณฑ์ต้องการรับซื้อที่นอนยางพาราจำนวนมาก เมื่อสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมมือกับผู้ประกอบการสินค้าจากยางพารานอกจากล้อยางรถยนต์แล้ว คาดว่าจะขยายการจัดงานไปยังสินค้าจากยางพาราอื่นเพิ่ม เพื่อลดราคาสินค้าและดึงให้ประชาชนซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ยังมีราคาสูงได้มากขึ้น และกระทรวงอุตสาหกรรมต้องเร่งพิจารณารับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมให้กับสินค้าจากยางพาราในหลายผลิตภัณฑ์ เพื่อนำสินค้ามาตรฐานออกสู่ตลาดมากขึ้น

      นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ส.อ.ท.เตรียมเจรจาผู้ประกอบการล้อยางรถยนต์ร่วมจัดโปรโมชั่นลดราคาพิเศษเร็วๆ นี้ เพื่อดึงกำลังซื้อยางจากประชาชนเพิ่มขึ้นและผู้ประกอบการจะได้รับซื้อยางพาราเพิ่ม และพร้อมขยายไปยังผลิตภัณฑ์สินค้าจากยางพาราอื่นเพิ่ม

      นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานชุมนุมสหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า รัฐบาลอาจจะไม่ต้องใช้เงินแทรกแซงราคายางพารา 4,500 ล้านบาท เพื่อรับซื้อยางพารา 100,000 ตันในราคานำตลาด 45 บาท/กิโลกรัม เริ่มวันที่ 25 มกราคมนี้ เพราะราคาอาจขยับแซงหน้าราคา ดังกล่าว เนื่องจากราคาเริ่มขยับขึ้นจากปลายเดือนที่แล้วยางแผ่นดิบรมควันอยู่ที่ 32 บาท/กิโลกลัม ขณะนี้ขยับเป็น 39 บาท/กิโลกรัม และกำลังขยับขึ้นเรื่อยๆ เพราะยางในสต๊อกมีน้อยและยางเริ่มปิดการกรีดแล้วราคาจะขยับขึ้นเรื่อยๆ

         "เป็นที่รู้ดีกันว่าการซื้อขายยางเป็นการซื้อขายกำหนดราคาแบบกระดาษ ยิ่งขณะนี้จะหมดหน้ากรีดยางทุกคนก็แย่งกันซื้อ ยิ่งรัฐประกาศจะเข้ามาซื้อ ยิ่งทำให้ราคาพุ่ง 25 ในราคา 45 บาท คิดว่ารัฐคงไม่ต้องซื้อแล้วฟันธงได้เลย เพราะยางไม่มีปิดกรีดเล่นตัวพ่อค้ายางจะขาดทุน ทิ้งไว้จะขายไม่ได้ยิ่งเป็นเดือนสี่เดือนห้า ราคาจะเกิน 50บาท" นายอุทัย กล่าว

     อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องการเห็นคือ รัฐบาลส่งเสริมการใช้ในประเทศอย่างจริงจังแปรรูปเป็นอุตสาหกรรมต่างๆ สร้างมูลค่าเพิ่มและต้องทำให้ได้ในรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หากทำไม่ได้ ก็คงไม่มีรัฐบาลไหนทำได้ เพราะต้องยอมรับราคายางที่ตกต่ำนอกจากตลาดโลกแล้วพ่อค้าคนไทย ผู้ส่งออกก็กดราคากันเอง ซึ่งที่ผ่านมามาเลเซียทำสำเร็จโดยโค่นต้นยางเมื่อปี 2534 แต่จากการดึงอุตสาหกรรมยางให้อยู่ในประเทศปัจจุบันก็ยังรักษาแชมป์ส่งออกอุตสาหกรรมยางพาราอันดับ 1 ได้

     นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวในการสัมมนา Logistics 4.0 for Thailand & AEC 2020 หัวข้อ Industry 4.0 ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออกฯ) ว่า อุตสาหกรรมไทยเริ่มประสบปัญหาภาวะชะงักงัน ทั้งจากปัจจัยของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน การเจรจาความร่วมมือ ข้อตกลงสิทธิประโยชน์ต่างๆ นโยบายภาครัฐที่จะมีการสนับสนุน หรือไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง โดยขณะนี้ไทยเองกำลังประสบปัญหาการใช้แรงงานไม่คุ้มค่า ไม่เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!