WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษ copy'สมคิด' ชี้สหกรณ์ต้องเพิ่มบทบาทช่วยปฏิรูปเกษตร ยันรัฐบาลไม่ทอดทิ้งเกษตรกร

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง 'ก้าว ผ่าน 100 ปี สหกรณ์ไทย พัฒนาเศรษฐกิจก้าวไกล สร้างสังคมไทยมั่นคง'ว่าสหกรณ์ควรเข้าไปมีบทบาทในการปฏิรูปเกษตร และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยต้องทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูล และแนวโน้มการตลาด เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารกับ เกษตรกร

  โดยนายกรัฐมนตรีต้องการให้แก้ไขด้วยการปฏิรูป เกษตรทั้งระบบ เพื่อทำให้เกษตรกรไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทัดเทียม กับเกษตรกร ต่างชาติ อย่างในญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไต้หวัน ซึ่งภาคเกษตรของไทยไม่ ได้แพ้ประเทศเหล่านั้น แต่เพราะการขับเคลื่อน ไม่เป็นไปในทิศทางเดียว กัน พลังจึงไม่เกิด  ซึ่งรัฐบาลชุดนี้เตรียมผลักดัน 5 เรื่อง เพื่อปฏิรูป โครงสร้างเกษตร คือ ทำโซนนิ่งเกษตร ปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่, การช่วยเหลือเรื่อง การลงทุน โครงสร้างพื้นฐานชุมชน ซึ่งเร็วๆ นี้ สำนักนายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพในการของบประมาณ เพื่อนำไปใช้ในชุมชน

   รวมถึงการเพิ่มมูลค่าผลผลิต ทำอย่างไรถึงจะมีสินค้ารูปแบบใหม่ และเปลี่ยนให้เกษตรกรไทยเป็น smart farmers, การสร้างตลาดกลางรับซื้อสินค้า เกษตรและการให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ออกมาตรการจูงใจเพื่อให้เอกชนเข้าไปลงทุนในชุมชน ตำบลและอำเภอ ในรูปแบบ 1 ตำบล 1  เอสเอ็มอีเกษตร 

     "ถ้าหากเกษตรกร 30 ล้านคน ไม่มีเงินพอ ประเทศนี้ก็ไม่มีวัน เจริญ นโยบายของรัฐบาลชุดนี้ เราไม่ได้รดน้ำไปที่ใบ เพราะเดี๋ยวมันก็ แห้ง แต่นายกฯ อยากให้รดน้ำไปที่ราก ทำให้ลูกหลานทุกคนแข็งแรง จะได้ไม่ลำบาก เรายืนยันว่า รัฐบาลนี้ไม่ได้ทอดทิ้งเกษตรกร แต่ถ้าเกษตรกร ไม่ช่วยกันปฏิรูปอนาคตเราจะไม่สดใส รัฐบาลนี้ทำทุกอย่าง เพื่อให้ท่าน ให้ลูก หลานท่านอยู่อย่างไม่ลำบากในอนาคต" นายสมคิด กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

เดินหน้าดัน'คลัสเตอร์เกษตรแปรรูป' ยกเครื่องขั้นตอนการทำงาน'อย.' ดึงงานวิจัยให้เอกชนใช้เชิงพาณิชย์

     แนวหน้า : นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย เขตพัฒนาเศรษฐกิจ ร่วมกับสถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยชั้นนำ และผู้ประกอบการอาหาร ว่า ที่ประชุมได้หารือ ถึงแนวทางปฏิบัติที่ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่อการลงทุน รวมทั้งหารือถึงปัญหาอุปสรรคในการขยายการลงทุน เพื่อผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) เกษตร แปรรูป ให้เกิดการลงทุนเพิ่มตามนโยบายรัฐบาล

       ทั้งนี้ จากการรับฟังความเห็นของผู้ประกอบการ พบว่า ปัญหาหลักของอุตสาหกรรมอาหาร คือ ขั้นตอน การทำงานขององค์การอาหารและยา (อย.) ที่ปัจจุบันใช้เวลา พิจารณาออกมาตรฐาน 155 วันต่อ 1 ผลิตภัณฑ์ และแต่ละวันยังรับพิจารณาได้ไม่เกิน 10 ผลิตภัณฑ์ ดังนั้นต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานให้รองรับ ผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมทั้งควรเพิ่มบุคลากร ซึ่งปัจจุบันเป็นแพทย์ เภสัชกร โดยควรเปิดโอกาสให้นักศึกษาในสายการเรียนที่เกี่ยวข้องร่วมตรวจสอบด้วย และควรเพิ่มอัตราค่าจ้างให้เหมาะสม

     นอกจากนี้ ปัญหาที่พบมากอีกหนึ่งประการ คือ ปัจจุบันงานวิจัยด้านอาหารจำนวน มากของไทย ที่คิดค้นจากสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา แต่ไม่มีการใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเรื่องนี้สถาบันอาหารจะรับหน้าที่จัดการเป็นศูนย์กลางงานวิจัยให้กับผู้ประกอบการ โดยจากข้อมูลพบว่าปัจจุบันมีการนำผลงานวิจัยมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพียง 5% จากทั้งหมดหลักพันรายการ ปัญหา อุปสรรคทั้งหมดนี้ จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเร่งรัดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ ที่มีนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน วันที่ 27 มกราคม 2559 ส่วนแผนการชักจูงนักลงทุน บริษัทเป้าหมาย จะเป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)

     นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการ สถาบันอาหาร กล่าวว่า ปัญหาที่สำคัญของสถาบันอาหาร คือ การขาดแคลนห้องทดสอบวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานอาหาร การตรวจสอบวิเคราะห์อาหาร การตรวจสอบสารสกัด และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละชนิด ดังนั้น จึงตั้งเป้าหมายสร้างศูนย์ทดสอบด้านอาหารให้ได้ 5 แห่ง ในทุกภูมิภาค คาดว่าจะใช้งบประมาณแห่งละ 100-200 ล้านบาท ล่าสุด สำนัก งบประมาณได้อนุมัติงบ 50 ล้านบาท สร้างศูนย์ทดสอบฯ 1 แห่ง ตั้งในพื้นที่ภาคใต้ และจะสร้างได้ในปี 2560 ซึ่งจะช่วยเหลือ ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยในปี 2559 นี้สถาบันอาหารจะเร่งสร้างบุคลากรเพื่อประจำในศูนย์ทดสอบฯทั้ง 5 แห่งนี้

     ทั้งนี้ หากนโยบายคลัสเตอร์เกษตรแปรรูปเดินหน้าตามที่ได้วางแผนไว้ จะทำให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโตอย่างก้าวกระโดด และในปี 2564 จะเติบได้ 16-20% ซึ่งหากไม่มีนโยบายคลัสเตอร์เกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารจะเติบโตเพียง 5-8% ต่อปี ตามภาวะตลาดปัจจุบัน ส่วนการออกไปดึงดูด นักลงทุนจากต่างประเทศ ได้กำหนดผลิตภัณฑ์ เป้าหมายไว้กว่า 100 รายการ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และอาหารแปรรูปเฉพาะกลุ่ม อาทิ อาหารหารเพื่อผู้ป่วย อาหารบำรุงสุขภาพ                                                       

พาณิชย์ เล็งนำคณะนักธุรกิจตปท.หารือแปรรูปสินค้ายางกับเอกชนไทยช่วงม.ค.-ก.พ.

     รมว.พาณิชย์ เผยได้สั่งการให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศให้ศึกษารสนิยมของตลาด รวมทั้งโอกาสของสินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆของไทยที่จะเข้าไปทำตลาด ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม และให้เร่งรัดจัดให้มีการพบกันระหว่างนักธุรกิจไทย และต่างชาติยกตัวอย่างที่ผ่านมา

     "แม้เศรษฐกิจโลกจะซบเซา โดยเฉพาะในตลาดหลัก เช่น ตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น แต่ก็ยังมีช่องทาง และโอกาสทางการค้าสำหรับสินค้า และบริการบางชนิดที่ยังมีความต้องการอยู่ ช่องว่างสำหรับสินค้าดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่มีเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ  สินค้าเฉพาะอย่าง รวมทั้งอาหารปลอดสารพิษ" นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ กล่าว

      โดยที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมการค้าของกระทรวงพาณิชย์ในประเทศฝรั่งเศส ได้ประสานงานการนัดหมายให้บริษัทผู้นำเข้ารถยนต์ในฝรั่งเศส คือ บริษัท AAC Chauffeurs ให้พบกับบริษัทผู้ผลิตรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าจากประเทศไทย ล่าสุดบริษัทมีการนำเข้ารถดังกล่าวเพื่อไปจดทะเบียนพาหนะในฝรั่งเศส หลังจากนั้นบริษัทจะนำไปเป็นตัวอย่างเพื่อรับการสั่งซื้อต่อเนื่องโดยมีประเทศเป้าหมายในยุโรปราคาจะอยู่ที่ประมาณคันละ 8,000 ยูโร หรือประมาณกว่าสามแสนบาท การใช้งานจะเป็นรถวิ่งระหว่างโรงแรม, สนามกอล์ฟ และในเมืองท่องเที่ยว คาดว่าความต้องการในอนาคตจะมีจำนวนมาก โดยเฉพาะในเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพราะใช้พลังงานสะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขนาดของคันกะทัดรัด สามารถลัดเลาะไปตามถนนเล็กได้ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เป็นสินค้ามูลค่าเพิ่มของประเทศไทย ในแง่การขยายการส่งออกจะเห็นว่าในช่วง 11 เดือนแรกไทยส่งออกยานยนต์มีมูลค่ากว่า 570,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.8 ในอนาคตเชื่อว่ารถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าพลังงานสะอาดนี้จะมีส่วนในการขยายมูลค่าการส่งออกจากประเทศให้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังจะมีส่วนช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น ยางล้อรถยนต์ แผ่นยางปูพื้น ไฟรถยนต์  อะไหล่ และประดับยนต์อื่นๆ

     นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่เป็นทั้งสินค้าที่มีนวัตกรรม( Product Innovation) และสินค้าที่มีนวัตกรรมด้านการออกแบบ(Design Innovation) ตัวอย่างนวัตกรรมการแปรรูปเศษเหลือใช้ประเภทข้อต่อกระดูกไก่ เอ็น นำมาป่นและผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ส่งไปขายที่ประเทศเยอรมนีเพื่อนำไปเป็นส่วนผสมของอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคไขข้อ อีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่น่าสนใจคือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับความงาม โดยใข้สมุนไพรไทย นำมาสกัด และแปรรูปเป็นเครื่องสำอางค์ รวมทั้งอาหารเสริม ซึ่งสมุนไพรไทยหลายชนิดได้รับการยอมรับและเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ นอกจากสมุนไพรแล้ว สินค้าเกษตร เช่น ข้าว  แป้งมันฯลฯ ก็สามารถนำมาแปรรูปเป็นเครื่องสำอาง เช่น ข้าวนำมาแปรรูปและผ่านกระบวนการ ทำเป็นลิปติกจากข้าว แป้งทาหน้า  สบู่ และครีมทาผิว เป็นต้น รวมทั้งใช้ทำผ้าปิดแผล ทางการแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่แผล และไม่ติดแผลเมื่อลอกออก ทำให้เนื้อเยื่อที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ไม่ถูกทำลาย

      "เมื่อนำนวัตกรรมมาช่วยในการแปรรูปแล้วจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกหลายเท่า และเชื่อมั่นว่าในอนาคตความต้องการสินค้าประเภทที่ใช้กับผู้สูงอายุ คนป่วย คนพิการ สินค้าพลังงานสะอาด สินค้าปลอดสารพิษ รวมทั้งสินค้าเพื่อช่วยในการพัฒนาการของร่างกาย จะเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง และมีมูลค่าเพิ่มสูง" นางอภิรดี กล่าว

      ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มีสำนักงานผู้แทนประจำอยู่ในประเทศทั่วโลกจำนวน 65 แห่ง และพร้อมที่จะหาช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ๆของไทย โดยในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ จะเน้นเรื่องของการนำคณะนักธุรกิจในกลุ่มยางพารา และอุตสาหกรรมแปรรูปยางมาพบปะกับภาคเอกชนไทย  โดยเฉพาะในเรื่องของการแปรรูปเป็นสินค้าใหม่ๆ เพื่อช่วยให้เกษตรสามารถขายวัตถุดิบได้ในราคาที่สูงขึ้น

      รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ในอนาคตกระทรวงพาณิชย์จะต้องทำงานใกล้ชิดกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(NIA) และเอกชน เพื่อนำผลงานวิจัยมาต่อยอดทางการค้า เนื่องจากที่ผ่านมามีผลงานวิจัยหลายเรื่องที่เอกชนไทยสามารถทำได้ แต่ไม่สามารถนำไปผลิตจำนวนมากเพื่อการค้าได้ ทำให้ไทยเสียโอกาสในการเพิ่มมูลค่าสินค้าหลายๆ ชนิด

       อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!