- Details
- Category: เกษตร
- Published: Monday, 18 January 2016 09:04
- Hits: 3159
ก.เกษตร เตรียมวงเงิน 4.5 พันล้าน ซื้อยางดิบ 1 แสนตันจากเกษตรกร
ก.เกษตรและสหกรณ์ เตรียมงบประมาณ 4,500 ล้าน รับซื้อยางแผ่นดิบเกษตรกรกิโลกรัมละ 45 บาท จำนวน 100,000 ตัน วางมาตรการ 3 ระยะ ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางอย่างยั่งยืน
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยความคืบหน้าการดำเนินการมาตรการช่วยเหลือชาวสวนยาง ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยวันนี้(14 มกราคม) โดยมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงเป็นประธาน มีมติรับซื้อยางจำวนวน 100,000 ตัน ผ่าน 3 หน่วยงานหลัก คือ องค์การคลังสินค้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่ราคา 45 บาท/กิโลกรัม
พร้อมเริ่มดำเนินการรับซื้อยางได้ภายใน 25 มกราคมนี้ ซึ่งเป้าหมายของการรับซื้อยางในครั้งนี้ มุ่งเน้นการสนับสนุนใช้ยางในประเทศ มีการรับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ผ่าน 3 หน่วยงานของรัฐข้างต้น เพื่อให้ความช่วยเหลือไปสู่เกษตรกรชาวสวนยางอย่างแท้จริง
ส่วนความคืบหน้าโครงการการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร โดยชดเชยรายได้แก่ชาวสวนยางและคนกรีดยาง ไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 15 ไร่ ทั้งนี้เกษตรกรที่จะได้รับความช่วยเหลือจะต้องขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ก่อน ล่าสุดมีจำนวน 400,000 ราย คาดว่าจะถึง 500,000 รายในเร็วๆ นี้
ส่วนขั้นตอนจ่ายเงิน คณะกรรมการระดับตำบล จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบสิทธิ์และรับรองสิทธิ์ให้แก่เกษตรกรจากนั้นจึงจะจ่ายเงินได้ รวมเวลาการดำเนินการประมาณ 7 - 10 วัน คาดว่าจะดำเนินการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้
นอกจากนี้ ยังเตรียมดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางพารา พร้อมวางแผนมาตรการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ดำเนินการไปแล้ว 4 มาตรการ ได้แก่ โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โครงการลดต้นทุนการผลิต โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี สำหรับผู้ประกอบการ ได้มีโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง วงเงิน 15,000 ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท เป็นต้น ส่วนด้านอุตสาหกรรมและการตลาด มีโครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในการรวบรวมยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท ขณะนี้สหกรณ์ได้รับสินเชื่อ 370 แห่ง วงเงิน 4,274 ล้านบาท โดยระยะต่อไปจะพิจารณาขยายกำหนดเวลาชำระคืนเงินกู้จาก 31 มีนาคม เป็น 31 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป
และมาตรการระยะกลางที่กำลังเร่งดำเนินการ ได้แก่ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อประกอบอาชีพเสริม ชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อของเกษตรกรรายย่อย เพื่อประกอบอาชีพเสริม ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท จะขยายวงเงินเป็น 15,000 ล้านบาท มีการอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 98,337 ครัวเรือน วงเงิน 8,913 ล้านบาท โครงการผลิตเพื่อเสริมรายได้ในสวนยางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีผู้รับการสงเคราะห์แล้ว 1,107 ราย เป็นต้น
อินโฟเควสท์
รมว.เกษตรฯ คาดเริ่มรับซื้อยางจากเกษตรกร 1 แสนตัน มูลค่า 4.5 พันลบ. 25 ม.ค.นี้
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การแก้ไขวิกฤติราคายางของรัฐบาลล่าสุด ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการยางพารา 4 องค์กร ได้แก่ สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย, สมาคมยางพาราไทย, สมาคมน้ำยางข้นไทย และชุมนุม สหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมยางแห่งประเทศไทย ขอความร่วมมือให้ช่วยกันรักษาระดับราคาไม่ให้ไหลลงไป หากยังไม่สามารถหยุดการไหลลงของราคาได้ ก็พร้อมจะใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าควบคุม สถานการณ์ ได้แก่ พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ของกระทรวงพาณิชย์ ผลคือ ราคาหยุดไหลงลงและค่อยๆขยับขึ้น จนล่าสุด ครม.เมื่อวัน ที่ 12 ม.ค.มีมติอนุมัติการรับซื้อยางพาราจำนวน 1 แสนตันจากเกษตรโดยตรงในราคานำตลาด
โดยวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคายางพารา ได้เคาะราคารับซื้อยางแผ่นดิบจากชาว สวนยางในราคาก.ก.ละ 45 บาท ในปริมาณ 1 แสนตัน คิดเป็นเงินประมาณ 4,500 ล้านบาท เริ่มเข้าซื้อยางตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.59 โดยคณะกรรมการ กยท.จะเข้าไปกำกับดูแล ส่วนยางก้อนถ้วย และน้ำยางสด จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์
เบื้องต้นวันนี้มีกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม มาเสนอตัวเลขที่ต้องการ ใช้ยาง ยังไม่นับกระทรวงอื่นๆ เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฯลฯ รวม 8 กระทรวง จะ เสนอความต้องการมาที่กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้รวบรวม โดยวันพรุ่งนี้ (15 ม.ค.) อคส.จะเชิญ หน่วยงานเหล่านี้มาประชุมเพื่อปรับความต้องการซื้อให้ตรงกับ ปริมาณยางที่รัฐบาลจะรับซื้อ 1 แสน ตัน แล้วก็จะนำเข้าสู่กระบวนการ สำหรับเงินจำนวน 4,500 ล้านบาทที่จะนำมาซื้อยาง 1 แสนตัน นั้น จะมาจากเงินของการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ตามมาตรา 49 ของ พ.ร.บ.การยางฯ ที่ กำหนดไว้ชัดเจนว่าสามารถใช้เงินส่วนหนึ่งเข้ามาดำเนินการตรงนี้ได้
รมว.เกษตรฯ กล่าวเสริมว่า แก้ปัญหาราคายางในส่วนของการวางราก ฐานจะไม่เห็นผลในระยะ 1-2 เดือน เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกรให้มาปลูกพืชตามแนว คิดของกระทรวง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
รมว.เกษตรฯ คาดเริ่มรับซื้อยางได้ 25 ม.ค.นี้, สัปดาห์หน้าประชุมบอร์ดกยท.นัดแรก
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การแก้ไขวิกฤติราคายางลดลงอย่างผิดปกติของรัฐบาลได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การติดตามราคายางอย่างต่อเนื่องและพบว่าราคายางลดลงอย่างผิดปกติตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.58 จนถึงต้นเดือน ม.ค.59 โดยกระทรวงเกษตรฯ พิจารณาวางมาตรการแก้ไขวิกฤติราคายางลดลงอย่างผิดปกติ ดังนี้
วันที่ 7 ม.ค.59 ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการยางพารา 4 องค์กร ได้แก่ สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย, สมาคมยางพาราไทย, สมาคมน้ำยางข้นไทย และชุมนุมสหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมยางแห่งประเทศไทย ขอความร่วมมือให้ช่วยกันรักษาระดับราคาไม่ให้ไหลลงไป หากยังไม่สามารถหยุดการไหลลงของราคาได้ ก็พร้อมจะใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าควบคุมสถานการณ์ ได้แก่ พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ของกระทรวงพาณิชย์ ผลคือ ราคาหยุดไหลงลงและค่อยๆขยับขึ้น จนล่าสุด ครม.เมื่อวันที่ 12 ม.ค.มีมติอนุมัติการรับซื้อยางพาราจำนวน 1 แสนตันจากเกษตรโดยตรงในราคานำตลาด
โดยวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคายางพารา ได้เคาะราคารับซื้อยางแผ่นดิบจากชาวสวนยางในราคากก.ละ 45 บาท ในปริมาณ 1 แสนตัน คิดเป็นเงินประมาณ 4,500 ล้านบาท เริ่มเข้าซื้อยางตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.59 โดยคณะกรรมการ กยท.จะเข้าไปกำกับดูแล ส่วนยางก้อนถ้วยและน้ำยางสด จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์
เบื้องต้นวันนี้ มีกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม มาเสนอตัวเลขที่ต้องการใช้ยาง ยังไม่นับกระทรวงอื่นๆ เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฯลฯ รวม 8 กระทรวง จะเสนอความต้องการมาที่กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้รวบรวม โดยวันพรุ่งนี้ (15 ม.ค.) อคส.จะเชิญหน่วยงานเหล่านี้มาประชุมเพื่อปรับความต้องการซื้อให้ตรงกับปริมาณยางที่รัฐบาลจะรับซื้อ 1 แสนตัน แล้วก็จะนำเข้าสู่กระบวนการ สำหรับเงินจำนวน 4,500 ล้านบาทที่จะนำมาซื้อยาง 1 แสนตันนั้น จะมาจากเงินของการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ตามมาตรา 49 ของ พ.ร.บ.การยางฯ ที่กำหนดไว้ชัดเจนว่าสามารถใช้เงินส่วนหนึ่งเข้ามาดำเนินการตรงนี้ได้
รมว.เกษตรฯ กล่าวเสริมว่า แก้ปัญหาราคายางพาราด้านเกษตรมีทั้งในส่วนของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการวางรากฐานที่จะสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งงานในส่วนของการวางรากฐานจะไม่เห็นผลในระยะ 1-2 เดือน เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกรให้มาปลูกพืชตามแนวคิดของกระทรวง ซึ่งงานวางรากฐานจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เรื่องนี้สำคัญ เพราะมันคืออนาคต ทุกวันนี้หลายกระทรวงหลายหน่วยงานไม่มีอนาคต เพราะไม่ได้มีการวางรากฐานเท่าที่ควร เราแก้แต่ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
"ผมเรียนว่า นักการเมืองส่วนใหญ่ไม่ทำ ไม่วางรากฐาน เพราะไม่เห็นผลในทันที ก็จะทำงานในลักษณะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่วันนี้รัฐบาลนี้ทำ 2 เรื่องพร้อมกัน เพราะฉะนั้นบางเรื่องอาจจะใช้เวลาและความอดทน แต่จำเป็น ไม่เช่นนั้นอนาคตของเราจะไม่มีถ้าเราไม่วางรากฐาน เราเคยพูดถึงเรื่องโซนนิ่งแต่มันไม่เกิด เราเคยพูดเรื่องจะให้เกษตรกรปลูกสินค้าเกษตรในอนาคตข้างหน้าตามความต้องการของตลาด ซึ่งมันเปลี่ยนไปหมด สภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจเปลี่ยนไปหมด"รมว.เกษตรฯ กล่าว
สำหรับ กระแสข่าวว่าน้อยใจจนคิดลาออกจากตำแหน่งรมว.เกษตรฯนั้น พล.อ.ฉัตรชัย ยืนยันว่าไม่น้อยใจ โดยจะยังทำหน้าที่ต่อไป ขณะเดียวกันได้ให้กำลังใจข้าราชการของกระทรวงเกษตรฯ ทุกคนด้วย จะท้อแท้น้อยใจไม่ได้ ซึ่งเร็วๆ นี้ ปัญหาภัยแล้งก็จะมาอีก และน่าจะหนักกว่าปัญหายางพารา ซึ่งได้ออกมาตรการไปก่อนล่วงหน้า 3 เดือนแล้วและเริ่มเดินหน้าไปแล้ว แต่การจะสร้างความเข้าใจกับคนทั้งประเทศก็เป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่เรื่องที่เราจะท้อแท้ ต้องเดินหน้าและมุ่งมั่นทำต่อไป
"ยืนยันว่า ไม่น้อยใจ สื่อไปเขียนกันเอง ผมอยากให้กำลังใจข้าราชการในกระทรวงเกษตรฯ ทุกคนว่าเราน้อยใจไม่ได้ จะต้องไม่น้อยใจ แม้ว่าเราจะรู้สึกเหนื่อย แต่เราน้อยใจไม่ได้ คนที่เข้ามาช่วยเราทำงานต้องขอบคุณเขา แต่งานหลักของเราก็ต้องทำตามหน้าที่ แม้วันนี้เราจะเผชิญปัญหาหลายเรื่องในกระทรวงเกษตรฯ สินค้าเกษตรตกต่ำ มันไม่ได้เพิ่งมาตกต่ำในช่วง 4 เดือนที่ผมเข้ามาเป็นรัฐมนตรี สาเหตุมีมาก่อนหน้านี้ และเราขาดการวางระบบ ต่อไปก็จะเจอภัยแล้งอีก กระทรวงเกษตรฯก็ต้องรับอีก"รมว.เกษตรฯ กล่าว
สำหรับ ความคืบหน้าการดำเนินการมาตรการช่วยเหลือชาวสวนยาง ภายหลังมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ การยางแห่งประเทศไทยจำนวนแล้วจำนวน 8 คนนั้น ในวันนี้ได้มีการประกาศรายชื่อผู้แทนจากกรรมการโดยตำแหน่งอีก 7 คน ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่งอีก 1 คน ซึ่งถือว่าครบองค์ประกอบแล้ว โดยได้กำหนดให้มีการประชุมนัดแรกภายในสัปดาห์หน้า เพื่อเร่งแก้ปัญหายางพาราให้เดินหน้าต่อได้โดยเร็ว
ส่วนการสรรหาผู้ว่าฯกยท. ซึ่งได้ดำเนินการสรรหามาก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง เนื่องจากคุณสมบัติผู้สมัครไม่ครบถ้วน ล่าสุดกำลังตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครผู้ว่าฯกยท. เพิ่มเติม แม้ขณะนี้กระบวนการสรรหายังไม่เรียบร้อย แต่เชื่อมั่นว่าการดำเนินงานต่างๆ จะไม่ติดขัด เนื่องจากมีผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้ว่าฯกยท. ปฏิบัติงานอยู่
ด้านนายเชาว์ ทรงอาวุธ รักษาการผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า เงินกยท.ขณะนี้มีอยู่ 31,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ 15% จะจัดสรรเป็นทุนประเดิมของ กยท.หรือ 4,600 ล้านบาท, ส่วนที่ 2 ประมาณ 23,000 ล้านบาท จัดสรรเป็นภาระผูกพันกับชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการปลูกแทน 40% และที่เหลือ 3,000 ล้านบาท เป็นในส่วนของกองทุนพัฒนายาง
ทั้งนี้ มาตรา 49 พ.ร.บ.การยาง ระบุแนวทางการใช้เงินของ กยท.ได้ใน 6 กรณี คือ 10% ใช้ในการบริหาร 40% นำไปใช้ส่งเสริมการปลูกแทน 35% ใช้ในการส่งเสริมการพัฒนาผลผลิต เรื่องการแปรรูป การตลาด และที่เหลือใช้ในการรักษาเสถียรภาพราคา 5% ใช้ในการวิจัย 7% ใช้สร้างสวัสดิการให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว และอีก 3% ใช้สร้างเสถียรภาพให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่เป็นสมาคม หรือกลุ่มสหกรณ์
"สิ่งเหล่านี้ ในมาตรา 49 วรรคท้าย เรื่องการจัดสรรงบประมาณในสัดส่วนที่กล่าวมาไม่เพียงพอ สามารถตั้งงบประมาณเสนอของจากสำนักงบประมาณได้....เท่ากับว่าเงิน 4,500 ล้านบาทที่จะนำมาซื้อยาง 1 แสนตัน สามารถยืมมาจากงบประมาณในส่วนของการปลูกแทนนำมาใช้ก่อนได้ เพราะมีเวลาผูกพัน 6 ปีครึ่ง และขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องใช้เงิน....แต่รัฐบาลก็ต้องตั้งงบประมาณเพื่อชดเชย"นายเชาวน์ กล่าว
อินโฟเควสท์
ก.เกษตรฯ ลุยมาตรการรับซื้อยาง พร้อมตั้งจุดรับซื้อในภาคเหนือ-อีสาน-ใต้กว่า 3,000 จุด
นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือด้านยางพารา ระหว่าง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและ สหกรณ์ กับแกนนำเกษตรกรชาวสวนยางภาคเหนือและภาคอีสาน 10 จังหวัด ว่าได้มีหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ยางพาราและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ชาวสวนยางในภาคเหนือและภาค อีสาน ซึ่งในการหารือมีการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการรับซื้อยางพาราจาก เกษตรการชาว สวนยางรายย่อยปริมาณ 100,000 ตัน ซึ่งจะรับซื้อยางแผ่นดิบ ที่ราคา 45 บาท/ก.ก. ยางก้อนถ้วย และน้ำยางสด จะเริ่มดำเนินการได้ภายใน 25 ม.ค.นี้ โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ สามารถรับซื้อใน ปริมาณ 150 ก.ก./คน และมีการตั้งจุดรับซื้อยางในพื้นที่ภาคใต้ 2,000 จุด ภาคเหนือและอีสาน 1,000 จุดด้วย
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 15 มาตรการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว 4 มาตรการ อาทิ โครงการชดเชยรายได้แก่ชาวสวนยางและคนกรีดยาง ไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 15 ไร่ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อประกอบอาชีพเสริม วงเงิน 10,000 ล้าน บาท และได้ขยายวงเงินเป็น 15,000 ล้านบาท ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 100,000 ราย ด้วยมุ่งหวังให้เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการปลูกพืชอื่น นอกเหนือจากยางพารา เพียงอย่างเดียว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงราคายางพาราตกต่ำ เป็นต้น
"ตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางภาคเหนือและภาคอีสาน เห็นด้วยกับโครงการรับซื้อยางพาราจาก เกษตรกรรายย่อย พร้อมทั้งยินดีให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลแก่ภาครัฐ และ กระจายข่าวสารโครงการดังกล่าวไปสู่เกษตรกรในระดับพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ ตัวแทนเกษตรกรชาวสวน ยางภาคเหนือแฟละภาคอีสาน มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ เชื่อมั่นสามารถกรีดยางได้จนถึง ช่วงปิดกรีด ต้นเดือนมี.ค.นี้ แน่นอน"โฆษก กระทรวงเกษตรฯ กล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ก.เกษตรฯ เดินหน้ามาตรการรับซื้อยาง พร้อมตั้งจุดรับซื้อในภาคเหนือ-อีสาน-ใต้กว่า 3,000 จุด
นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือด้านยางพารา ระหว่าง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กับแกนนำเกษตรกรชาวสวนยางภาคเหนือและภาคอีสาน 10 จังหวัด ว่า วันนี้ได้มีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ยางพาราและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางในภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งในการหารือมีการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการรับซื้อยางพาราจากเกษตรการชาวสวนยางรายย่อยปริมาณ 100,000 ตัน ซึ่งจะรับซื้อยางแผ่นดิบ ที่ราคา 45 บาท/กก. ยางก้อนถ้วยและน้ำยางสด จะเริ่มดำเนินการได้ภายใน 25 ม.ค.นี้ โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ สามารถรับซื้อในปริมาณ 150 กก./คน และมีการตั้งจุดรับซื้อยางในพื้นที่ภาคใต้ 2,000 จุด ภาคเหนือและอีสาน 1,000 จุดด้วย
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 15 มาตรการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว 4 มาตรการ อาทิ โครงการชดเชยรายได้แก่ชาวสวนยางและคนกรีดยาง ไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 15 ไร่ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อประกอบอาชีพเสริม วงเงิน 10,000 ล้านบาท และได้ขยายวงเงินเป็น 15,000 ล้านบาท ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 100,000 ราย ด้วยมุ่งหวังให้เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการปลูกพืชอื่น นอกเหนือจากยางพาราเพียงอย่างเดียว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงราคายางพาราตกต่ำ เป็นต้น
"ตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางภาคเหนือและภาคอีสาน เห็นด้วยกับโครงการรับซื้อยางพาราจากเกษตรกรรายย่อยที่ราคา 45 บาท/กก. และแสดงความขอบคุณที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งยินดีให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลแก่ภาครัฐ และกระจายข่าวสารโครงการดังกล่าวไปสู่เกษตรกรในระดับพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ ตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางภาคเหนือและภาคอีสาน มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ เชื่อมั่นสามารถกรีดยางได้จนถึงช่วงปิดกรีด ต้นเดือนมี.ค.นี้ แน่นอน"โฆษก กระทรวงเกษตรฯ กล่าว
อินโฟเควสท์
ก.เกษตรฯทำ App ยาง 1500 แจ้งผลการจ่ายเงินให้ชาวสวนยางแบบเรียลไทม์
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำแอพพลิเคชั่น "ยาง 1500" เพื่อรายงานความคืบหน้าของการจ่ายเงินตามโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางแบบนาทีต่อนาที
โดยรายละเอียดของแอพพลิเคชั่นดังกล่าว จะประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงิน ทั้งในระดับจังหวัด และระดับประเทศ ใช้งานง่ายเพียงกรอกรหัสบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก สำหรับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้ว เพื่อตรวจสอบข้อมูลการเข้าร่วมโครงการ การตรวจสอบสิทธิ และการผ่านรับรองสิทธิได้ โดยข้อมูลทั้งหมดจะครอบคลุมไปถึงจำนวนครัวเรือน จำนวนผู้แจ้งเข้าร่วมโครงการ ผู้ผ่านการตรวจสอบสิทธิ์ ตลอดจนผู้ได้รับการรับรองสิทธิ์ และการโอนเงินเข้าบัญชี
ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนในระบบ Android สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นดังกล่าวได้แล้ว ส่วนระบบ IOS จะดาวน์โหลดได้ภายในวันที่ 23 ม.ค.นี้ รวมทั้งติดตามความคืบหน้าได้ทางเวปไซต์ www.moac.go.th และ www.rubber.co.th
อินโฟเควสท์