- Details
- Category: เกษตร
- Published: Monday, 11 January 2016 23:08
- Hits: 3888
กนช.ประเมินภัยแล้งปี 59 กินพื้นที่ถึง 59% จนถึงสิ้นพ.ค. น้ำใน 4 เขื่อนหลักยังไม่พอทำนาปรัง
กนช.ประเมินภัยแล้งปี 59 กินพื้นที่ถึง 59% หรือ 548 อำเภอ จาก 928 อำเภอ จนถึงสิ้นพ.ค. เร่งแก้ปัญหาทั้งระยะสั้น -ยาว ด้านกรมชลฯ ยันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังพอถึงหน้าฝน แต่หวั่นเจอปัญหาเรื่องค่าความเค็ม ส่วนน้ำใน 4 เขื่อนหลักยังไม่พอทำนาปรัง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากร น้ำแห่งชาติ(กนช.)ว่า ที่ประชุมได้มีการสรุปถึงน้ำต้นทุนในขณะนี้ รวมถึงปริมาณน้ำในเขื่อน-นอกเขื่อน และในอ่างเก็บน้ำทั้งหมด รวมทั้งมีการจัดทำแผนที่น้ำใหม่เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้นและสร้าง การรับรู้ได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ได้ขอความร่วมมือในการใช้น้ำจากทุกภาคส่วนทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงประชาชน ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำให้มากที่สุด เพราะเรื่องนี้คงไม่ สามารถเข้าไปบังคับสั่งการได้ แต่ต้องอยู่ที่จิตสำนึกของทุกคนว่าจะใช้น้ำอย่างไรเมื่อปีนี้มีปริมาณน้ำ ต้น ทุนน้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาคเกษตรก็ยังมีความจำเป็นในการใช้น้ำไม่น้อยไปกว่ากัน
ด้านนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ แถลงเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม กนช.ได้หารือผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์น้ำและการเตรียมการรับ สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ โดย ในจำนวน 928 อำเภอทั่วประเทศ มีพื้นที่ขาดแคลนน้ำทั้งสิ้น 548 อำเภอ คิดเป็น 59% ของทั้งหมด และขาดแคลนน้ำนับตั้งแต่วันนี้-สิ้นเดือนพ.ค. ทั้งนี้ในการแก้ปัญหาจะเน้นน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อ รักษาระบบนิเวศน์ และจะมีการกำหนดมาตรการระบายน้ำ ขณะเดียวกันต้องมีการเจาะน้ำบาดาล และมีการทอยน้ำเพิ่มเติม
ส่วนในระยะยาว สิ่งสำคัญ คือ การเติมน้ำในเขื่อนในพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยผันน้ำจากทั้งในและต่าง ประเทศ โดยในส่วนเขื่อนภูมิพลยังมีพื้นที่ว่างสามารถรองรับน้ำได้อีก 4 พันล้าน ลบ.ม. ซึ่งที่ประชุม ได้มีการอนุมัติหลักการแล้ว จากนี้จะต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องใช้ เวลาประมาณ 1 ปี
ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีการใช้น้ำในลุ่มน้ำห้วยหลวงซึ่งติดกับแม่น้ำโขง อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานมีการก่อสร้างประตูน้ำในการผันน้ำในส่วนนี้ไว้แล้ว คาดว่าเฟสแรกจะสามารถพัฒนา พื้นที่ชลประทานได้ถึง 3 แสนไร่ และสามารถดำเนินการได้เลย โดยใช้เวลาภายในปี 59-60 ซึ่ง หากเป็นการใช้น้ำช่วงฤดูฝนสามารถใช้ได้ แต่น้ำฤดูแล้งต้องมีข้อตกลงกันระหว่างประเทศ วันนี้ที่ ประชุมจึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกระทรวงการต่างประเทศร่วมกัน หารือในส่วนนี้ เนื่องจาก การใช้น้ำจากลุ่มน้ำโขงตอนล่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายประเทศทั้ง เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และไทย
ด้านพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลยังมีการใช้น้ำในปริมาณที่มาก ซึ่งการประปานคร หลวงใช้น้ำมากถึง 6 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน แบ่งเป็น การใช้น้ำของส่วนราชการ 19% ภาค อุตสาหกรรม 32% และครัวเรือน 49% ดังนั้นหากภาคครัวเรือนสามารถช่วยกันประหยัดน้ำส่วนนี้ได้ก็ สามารถลดการใช้ น้ำได้ จึงขอเชิญชวนประชาชนลดการใช้และประหยัดน้ำตามมาตรการที่รัฐบาลจะ ประชา สัมพันธ์อย่างต่อเนื่องต่อไป
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวด้วยว่า ภาพรวมของประเทศมีพื้นที่ 321 ล้านไร่ คิดเป็น 518,000 ตร.ม. มีปริมาณฝน 1,426 ม.ม./ปี คิดเป็น 730,000 ล้านลบ.ม. เป็นน้ำซึมลงดินปริมาณ 520,000 ล้านลบ.ม. จึงมีน้ำผิวดินปริมาณ 210,000 ล้านลบ.ม แต่การกักเก็บน้ำมีเพียง 2 หมื่น ล้าน ลบ.ม. ทั้งที่ความจุเก็บกักจริงหากเต็มพื้นที่สามารถบรรจุได้ 7.9 หมื่นล้านลบ.ม.
ด้านนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน ยืนยันว่า ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยายังมีน้ำ เพียงพอตลอดฤดูแล้งและสามารถป้องกัน ความเสี่ยงในช่วงรอยต่อจากฤดูแล้งไปฤดูฝนในปี 2559 ได้ ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยยังมีความเป็นห่วงค่าความเค็มในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและ ลุ่มน้ำท่าจีน เนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาค่าความเค็มค่อนข้างสูง ซึ่งกรมชลประทานยืนยันค่าความเค็มของคลองสำ แลอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และคาดว่าตลอดฤดูแล้งสามารถควบคุมได้
ด้านปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลัก จากข้อมูลล่าสุดเมื่อวานนี้(10 ม.ค.) มีปริมาณน้ำรวม 3,726 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำ 1,078 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำ 1,829 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อย 333 ล้านลบ.ม. และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำ 486 ล้านลบ.ม. โดยมี การระบายน้ำ 1.7 ล้านลบ.ม.ต่อวัน ส่วนแม่น้ำแม่กลองมีปริมาณน้ำ 4,600 กว่าล้านลบ.ม. ซึ่ง สามารถส่งน้ำสนับสนุนเพื่อทำพืชฤดูแล้งได้ แต่ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการทำนาปรัง
กนช.วางยุทธศาสตร์รับมือภัยแล้งปี 59 คาดกินพื้นที่ถึง 59% ถึงสิ้นพ.ค.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.)ว่า ที่ประชุมได้มีการสรุปถึงน้ำต้นทุนในขณะนี้ รวมถึงปริมาณน้ำในเขื่อน-นอกเขื่อน และในอ่างเก็บน้ำทั้งหมด รวมทั้งมีการจัดทำแผนที่น้ำใหม่เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้นและสร้างการรับรู้ได้มากขึ้น
นายกรัฐมนตรี ได้ขอความร่วมมือในการใช้น้ำจากทุกภาคส่วนทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมรวมถึงประชาชน ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำให้มากที่สุด เพราะเรื่องนี้คงไม่สามารถเข้าไปบังคับสั่งการได้ แต่ต้องอยู่ที่จิตสำนึกของทุกคนว่าจะใช้น้ำอย่างไรเมื่อปีนี้มีปริมาณน้ำต้นทุนน้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาคเกษตรก็ยังมีความจำเป็นในการใช้น้ำไม่น้อยไปกว่ากัน
ด้านนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ แถลงเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม กนช.ได้มีการหารือผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์น้ำและการเตรียมการรับสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ โดยในจำนวน 928 อำเภอทั่วประเทศ มีพื้นที่ขาดแคลนน้ำทั้งสิ้น 548 อำเภอ คิดเป็น 59% ของทั้งหมด และขาดแคลนน้ำนับตั้งแต่วันนี้-สิ้นเดือนพ.ค. ทั้งนี้ในการแก้ปัญหาจะเน้นน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ และจะมีการกำหนดมาตรการระบายน้ำ ขณะเดียวกันต้องมีการเจาะน้ำบาดาลและมีการทอยน้ำเพิ่มเติม
ส่วนในระยะยาว สิ่งสำคัญคือการเติมน้ำในเขื่อนในพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยผันน้ำจากทั้งในและต่างประเทศ โดยในส่วนเขื่อนภูมิพลยังมีพื้นที่ว่างสามารถรองรับน้ำได้อีก 4 พันล้าน ลบ.ม. ซึ่งที่ประชุมได้มีการอนุมัติหลักการแล้ว จากนี้จะต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี
ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีการใช้น้ำในลุ่มน้ำห้วยหลวงซึ่งติดกับแม่น้ำโขง อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานมีการก่อสร้างประตูน้ำในการผันน้ำในส่วนนี้ไว้แล้ว คาดว่าเฟสแรกจะสามารถพัฒนาพื้นที่ชลประทานได้ถึง 3 แสนไร่ และสามารถดำเนินการได้เลย โดยใช้เวลาภายในปี 59-60 ซึ่งหากเป็นการใช้น้ำช่วงฤดูฝนสามารถใช้ได้ แต่น้ำฤดูแล้งต้องมีข้อตกลงกันระหว่างประเทศ วันนี้ที่ประชุมจึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกระทรวงการต่างประเทศร่วมกันหารือในส่วนนี้ เนื่องจากการใช้น้ำจากลุ่มน้ำโขงตอนล่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายประเทศทั้งเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และไทย
นายสุพจน์ กล่าวว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลยังมีการใช้น้ำในปริมาณที่มาก ซึ่งการประปานครหลวงใช้น้ำมากถึง 6 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน แบ่งเป็น การใช้น้ำของส่วนราชการ 19% ภาคอุตสาหกรรม 32% และครัวเรือน 49% ดังนั้นหากภาคครัวเรือนสามารถช่วยกันประหยัดน้ำส่วนนี้ได้ก็สามารถลดการใช้น้ำได้ จึงขอเชิญชวนประชาชนลดการใช้และประหยัดน้ำตามมาตรการที่รัฐบาลจะประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องต่อไป
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวด้วยว่า ภาพรวมของประเทศมีพื้นที่ 321 ล้านไร่ คิดเป็น 518,000 ตร.ม. มีปริมาณฝน 1,426 ม.ม./ปี คิดเป็น 730,000 ล้านลบ.ม. เป็นน้ำซึมลงดินปริมาณ 520,000 ล้านลบ.ม. จึงมีน้ำผิวดินปริมาณ 210,000 ล้านลบ.ม แต่การกักเก็บน้ำมีเพียง 2 หมื่นล้าน ลบ.ม. ทั้งที่ความจุเก็บกักจริงหากเต็มพื้นที่สามารถบรรจุได้ 7.9 หมื่นล้านลบ.ม.
ด้านนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน ยืนยันว่า ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยายังมีน้ำเพียงพอตลอดฤดูแล้งและสามารถป้องกันความเสี่ยงในข่วงรอยต่อจากฤดูแล้งไปฤดูฝนในปี 2559 ได้ ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยยังมีความเป็นห่วงค่าความเค็มในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำท่าจีน เนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาค่าความเค็มค่อนข้างสูง ซึ่งกรมชลประทานยืนยันค่าความเค็มของคลองสำแลอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และคาดว่าตลอดฤดูแล้งสามารถควบคุมได้
ด้านปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลัก จากข้อมูลล่าสุดเมื่อวานนี้(10 ม.ค.) มีปริมาณน้ำรวม 3,726 ล้านลบ.ม. แบ่งเป็น เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำ 1,078 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำ 1,829 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อย 333 ล้านลบ.ม. และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำ 486 ล้านลบ.ม. โดยมีการระบายน้ำ 1.7 ล้านลบ.ม.ต่อวัน ส่วนแม่น้ำแม่กลองมีปริมาณน้ำ 4,600 กว่าล้านลบ.ม. ซึ่งสามารถส่งน้ำสนับสนุนเพื่อทำพืชฤดูแล้งได้ แต่ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการทำนาปรัง
อินโฟเควสท์
จับตารัฐบาลปฏิรูปภาคเกษตร ฝ่าวิกฤตภัยแล้ง คืนชีพเกษตรกรไทย
มติชนออนไลน์ : วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559
อาจเรียกได้ว่า ฤดูกาลผลิตหรือฤดูเพาะปลูกข้าวปี 2558/2559 เจอสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงที่สุดและเกิดความโกลาหลที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย หลังจากเจอปรากฏการณ์เอลนิโญ (ฝนแล้ง) หรือฝนตกล่าช้ากว่าปกติตั้งแต่ช่วงต้นฤดูของการเพาะปลูก ทำให้รัฐบาลถึงกับต้องออกประกาศลดการระบายน้ำ โดยเฉพาะน้ำเพื่อภาคการเกษตร พร้อมทั้งให้เกษตรกรเลื่อนการเพาะปลูกข้าวนาปีชั่วคราว เพราะปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนแควน้อย เหลือใช้ได้เพียง 1,067 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือหากคิดเป็นวันพบว่าน้ำในเขื่อนจะเหลือใช้ไม่ถึง 30 วัน ต่อมาเกิดสถานการณ์การแย่งน้ำของเกษตรกร ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปที่ต้องใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดสถานการณ์ขาดแคลนน้ำอย่างหนักอยู่เกือบ 2 เดือน ในช่วงปลายกรกฎาคม 2558 ฝนเริ่มกลับมาตกอย่างสม่ำเสมอ จนส่งผลให้พอหมดช่วงฤดูฝน หรือเดือนพฤศจิกายน 2558 น้ำใน 4 เขื่อนหลัก กลับมามีปริมาณเพิ่มขึ้นที่ 4,200 ล้าน ลบ.ม. แต่ปริมาณดังกล่าวยังอยู่ในความกังวลของหลายฝ่าย โดยเฉพาะเกษตรกร เนื่องจากในฤดูกาลผลิต 2557-2558 ช่วงหลังจบฤดูฝนนั้นพบว่าทั้ง 4 เขื่อนหลัก มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 6,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ก็ยังถือว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าภายในปี 2559 นี้ ประเทศไทยอาจจะเข้าสู่ภาวะภัยแล้งหนักหนาสาหัสอีกปี
- กรมชลฯลั่นปีหน้าน้ำต้องมีพอ
ทั้งนี้ นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในปี 2558 ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำที่มีอยู่และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หรือขนาดกลางยังเก็บได้ตามความต้องการพื้นฐานอยู่ ถึงแม้จะบอกว่าน้ำน้อยมากหรือต่ำกว่าปกติ 20-30% ก็ยังมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค (น้ำกินน้ำใช้) แต่เราต้องมีวินัยและต้องปฏิบัติตามแผนของกรมชลประทาน โดยขณะนี้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานได้วางแผนการบริหารจัดสรรน้ำช่วงหน้าแล้ง หรือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 - ปลายเมษายน 2559 ไว้แล้ว โดยวางแผนจะใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 1,100 ล้าน ลบ.ม. น้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศหรือผลักดันน้ำเค็มที่ 1,400 ล้าน ลบ.ม. แถมยังเตรียมน้ำเพื่อการเกษตรเอาไว้อีก 400 ล้าน ลบ.ม. รวมแล้วจะมีการใช้น้ำประมาณ 2,900 ล้าน ลบ.ม. และยังมีน้ำสำรองอย่างเพียงพอเพื่อใช้สำหรับเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนกรกฎาคม 2559 ไว้แล้ว
ส่วนตัวมองว่าทำได้และยืนยันว่าจะมีปริมาณน้ำเพียงพอ เพราะว่าภาพรวมในแต่ละวันตามแผนจะระบายน้ำในเขื่อนที่ 15.8 ล้าน ลบ.ม./วัน จาก 4 เขื่อนคือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่เราทำความตกลงไว้ตั้งแต่ต้น แต่ทุกแผนการระบายน้ำต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข โดยไม่เอาไปใช้นอกแผน ดังนั้นในเรื่องของการทำนาปรังที่เรารณรงค์กันอยู่ว่าไม่ให้เกษตรกรทำนาปรัง หรือสถานีท้องถิ่นจะสูบน้ำไปทำนาปรังไม่ได้ หากเกษตรกรปลูกจะต้องรับความเสี่ยงจากความเสียหายแทน มิฉะนั้นการปลูกข้าวนาปรังก็จะกระทบกับน้ำเพื่อไปรักษาระบบนิเวศแน่นอน ทำให้เกิดน้ำเค็ม มีผลต่อน้ำอุปโภคบริโภคตามมา
"เรายังกันน้ำในช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูกปี 2559 ไว้อยู่ที่ประมาณ 1,350 ล้าน ลบ.ม. ถ้าเราระบายน้ำวันละ 16 ล้าน ลบ.ม. จะอยู่ได้ประมาณ 2 เดือนกว่าแน่นอน ถ้าไม่เอาไปใช้อย่างอื่น ห่วงอย่างเดียวคือคนของเราเอาไปใช้ผิดประโยชน์ นอกแผน โดยเฉพาะภาคการเกษตร คนจะกินน้ำทุกเวลาก็ไม่ใช่ จะล้างรถทุกชั่วโมงก็ไม่ใช่ เเละรัฐบาลก็รณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัด ให้ใช้เท่าที่จำเป็น น้ำเสียก็ให้เข้าสู่ระบบบำบัด ดังนั้นถ้าคุมการใช้น้ำเพื่อการเกษตรอยู่ปัญหาก็จบ อันนี้เราไม่ได้ไปโทษภาคการเกษตรนะ แค่น้ำมีน้อยก็เลยจำเป็นต้องลดแต่ละภาคส่วนลงไป เราก็ให้สัดส่วนน้ำกินน้ำใช้กันก่อน ให้คนอยู่ได้ก่อน" นายสุเทพกล่าว
- รัฐอัด 8 มาตรการรองรับภัยแล้ง
ดังนั้น จากการประกาศไม่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นในช่วงหน้าแล้ง ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ ทำให้รัฐบาลต้องหามาตรการมาทดแทน ซึ่ง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เร่งดำเนินการต่างๆ และผลักดันแพคเกจรองรับภัยแล้งที่มีอยู่ 8 มาตรการเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเห็นชอบและรองรับสถานการณ์ช่วงหน้าแล้ง เช่น การสนับสนุนปัจจัยการผลิต (เพื่อลดรายจ่าย) และยังขอความร่วมมือจากกระทรวงพาณิชย์จัดร้านธงฟ้าในหลายจังหวัด เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูกกว่าปกติเพื่อลดค่าครองชีพให้เกษตรกร การจ้างงาน โดยให้กรมชลประทานจ้างแรงงานเกษตรกรเพื่อขุดลอกคลอง เป้าหมายกว่า 34,109 คน ในอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท รวมทั้งโครงการอบรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/2559 วงเงิน 1,064 ล้านบาท โดยบูรณาการให้ทุกส่วนราชการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เช่น จากการปลูกข้าว ให้เป็นการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพื่อให้เกษตรกรนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพและทำอาชีพเสริมในช่วงที่ประสบ ปัญหาภัยแล้ง โดยทั้ง 8 มาตรการนั้นน่าจะช่วยให้เกษตรกรผ่านพ้นช่วงวิกฤตภัยแล้งไปได้ ส่วนในปี 2559 มุ่งหวังให้เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนปลูกพืช โดยเน้นการทำนาแปลงใหญ่ ใช้เครื่องมือการทำนาร่วมกันเพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย และประสานให้เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอให้ความรู้เกษตรกร จะถือเป็นการปฏิรูปภาคการเกษตรอย่างแท้จริง
- ปีหน้ารัฐรุกเน้นปฏิรูปภาคการเกษตร
นอกจากนี้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะขุนพลด้านเศรษฐกิจ ยังกล่าวว่า ในปี 2559 รัฐจะเน้นหวังให้เกิดการปฏิรูปภาคการเกษตรจริงจัง ผ่านการขับเคลื่อนโครงการประชารัฐ โดยมีชุมชน เอกชน รัฐบาล ร่วมมือกันทำงานโดยใช้กองทุนหมู่บ้านเป็นแกนกลาง ซึ่งระยะแรกได้เติมเงินผ่านการให้สินเชื่อกองทุนไปแล้ว แต่ในต้นปีหน้าเป็นต้นไปจะเห็นโครงการดังกล่าวทยอยออกมา โดยเป็นการสร้างกิจกรรมในชุมชนซึ่งมาจากความต้องการของชุมชนจริงๆ เช่น เขาต้องการโรงสี ยุ้งฉาง เครื่องมือเก็บเกี่ยว ลานตาก การดูแลคนสูงอายุ เด็กเล็ก เรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้ประชุมแกนนำหมู่บ้านทั้งหมดแล้วคิดโครงการขึ้นมา เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการเติบโตจากภายใน ส่วนในแนวดิ่งเป็นการขับเคลื่อนโดยกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งในส่วนของเกษตรกรนั้นที่ผ่านมาเป็นการดูแลระยะสั้นเพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ แต่ตั้งแต่ปีหน้าต้องยกระดับ ทั้งเรื่องการใช้น้ำ การแปรรูปภาคเกษตร
นอกจากนี้ จะให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยพัฒนาปฏิรูปเกษตรกร โดยได้ขอให้ ธ.ก.ส. ออมสิน กองทุนหมู่บ้านมาช่วยเหลือด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรก้าวไปสู่การเป็นเอสเอ็มอี ธ.ก.ส.เสนอว่าจะดำเนินการในปีนี้คือ 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอี เกษตร อุตสาหกรรม เพื่อสร้างหัวจรวดใหม่ในเศรษฐกิจไทย ส่วนออมสินจะเข้าไปในระดับสถาบันการศึกษาในการไปเฟ้นหาเอสเอ็มอีกลุ่มใหม่ ให้ธนาคารต่างๆ รวมถึงกองทุนหมู่บ้านมา สนับสนุนตรงนี้ด้วย 2.ต้องการให้ ธ.ก.ส. ออมสิน ไปช่วยเหลือในพื้นที่ภัยแล้ง จัดหาปัจจัยการผลิต ในสินค้าที่มีตลาดแน่นอน มีทั้งรูปแบบจัดหางบประมาณเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต หรืออาจจัดหาสินเชื่อใหม่ดอกเบี้ยต่ำมาให้ เน้นกลุ่มชาวนาก่อน และที่สำคัญต้องช่วยหาตลาดในการขายสินค้าดังกล่าว ล่าสุดทางหอการค้าไทยจะไปช่วยเจรจาโมเดิร์นเทรดหรือผู้ซื้ออื่นๆ ให้มาช่วยซื้อสินค้า
ขณะที่นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ในการสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ภัยแล้งให้ปรับเปลี่ยนการผลิตไปปลูกพืชชนิดอื่นนั้น ธนาคารจะกลับไปพิจารณาแนวทางสนับสนุนมานำเสนอโดยเร็วที่สุด เบื้องต้นทางรองนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายว่า อยากให้เกษตรกรมีความเสี่ยงน้อยที่สุด หรือมีความเสี่ยงเป็นศูนย์ได้ยิ่งดี ในเบื้องต้นอาจจะใช้งบประมาณรัฐในการแจกเงินให้กับชาวนาเพื่อสนับสนุนปัจจัย ด้านการผลิต ไปพร้อมกับการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราพิเศษ รัฐบาลอาจจะต้องเข้ามาสนับสนุนบ้าง ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้นขอพิจารณาก่อน
ดังนั้น ในปี 2559 นี้ ซึ่งเป็นช่วงสถานการณ์ภัยแล้งยังรุมเร้า ก็ต้องจับตาว่ารัฐจะเอาจริงและเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตรให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากน้อยเพียงใด แทนที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันเป็นปีๆ ไป เช่น การจ่ายเงินชดเชยเกษตรกร มิฉะนั้นต่อให้ทุ่มเทอัดเงินชดเชยรายได้ช่วยเกษตรกรไปมากเท่าใด ปัญหาก็คงซ้ำรอยเดิมทุกปี!!
ส่งออกข้าวของกัมพูชาปี 2015 ขยายตัว 39% อยู่ที่ 538,396 ตัน หลังจึนเพิ่มการนำเข้า 138%
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า สำนักเลขาธิการศูนย์อำนวยการการส่งออกข้าวกัมพูชาเปิดเผยว่า ยอดส่งออกข้าวของกัมพูชาในปี 2015 ขยายตัว 39% จาก 387,061 ตันในปี 2014 เป็น 538,396 ตัน หลังจีนเพิ่มการนำเข้าข้าวจากกัมพูชา 138% เป็น 116,831 ตัน ทำให้จีนเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 1 ของกัมพูชา
ขณะที่ประเทศที่นำเข้าข้าวจากกัมพูชารองลงมาได้แก่ ฝรั่งเศส และโปแลนด์
นายเฮียน วันฮอนผู้อำนวยการสำนักฯกล่าว การปรับปรุงคุณภาพข้าวให้ดีขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างจีนและกัมพูชาที่ดีขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนนำเข้าข้าวจากกัมพูชาเพิ่มขึ้น
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย