- Details
- Category: เกษตร
- Published: Monday, 11 January 2016 23:05
- Hits: 3610
คมนาคม - เกษตรฯ เร่งเดินหน้าแก้ปัญหายางตกต่ำ เตรียมเพิ่มสัดส่วนยางในการซ่อมถนน และเครื่องมือเกษตร
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 12 ม.ค.นี้ กระทรวงคมนาคมจะรายงานผลการดำเนิน การเกี่ยวกับการนำยางพารามาใช้ในการก่อ สร้างและซ่อมบำรุงถนน ตามนโยบายช่วยเหลือ เกษตรกรชาวสวนยาง
โดยขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างรวบรวมปริมาณการนำยางพารามาก่อ สร้างถนนและซ่อมบำรุงถนนที่ชำรุดเสียหาย ตามข้อร้องเรียนของประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของกรมทางหลวง(ทล.) และกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ในปี 2559 และจะพิจารณางานในปีงบ ประมาณ 2560-2561 ด้วย
ทั้งนี้ การใช้ ยางพาราธรรมชาติมาใช้เป็นส่วนผสมในขั้นตอนของการฉาบผิวถนนหรือพาราสเลอรีซิลนั้นจะมีการกำหนดเงื่อนไขในการประกวดราคา แตกต่างกับการใช้แอสฟัลต์คอนกรีต (asphalt concrete) ซึ่งไม่มีปัญหาในการประกวดราคา แต่ยอมรับว่าในภาพรวมจะทำให้งบประมาณในการ ก่อสร้างเพิ่มขึ้น แต่อายุการใช้งานของถนนที่ใช้พาราแอสฟัลติก จะยาวนานกว่า
ขณะที่นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท .) สรุปข้อมูลการใช้ยางพาราสำหรับทำถนนบริเวณที่เป็นจุดตัดกับทางรถไฟ จากเดิมที่ใช้บล็อค คอนกรีต ให้ปรับมาเป็นพาราแอสฟัลติกทั้งหมด ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแรงทนทานกว่า ทั้งนี้ การใช้ ยางพารามาทำผิวถนนนั้น จะใช้ส่วนที่เป็นน้ำยางข้น ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 30% อีก 70% จะเป็นยาง แผ่นโดยภาพรวมของกระทรวงคมนาคม คาดว่าในปี 2559 จะใช้ยางพาราประมาณ 60,000 ตัน
ด้านนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือแนวทางการใช้ยางพาราในประเทศในส่วนของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และการส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสาน ว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้หารือถึงการใช้ยางพาราในประเทศของส่วนราชการโดยใช้งบประมาณปี พ.ศ.2559-2560 ซึ่งมี หน่วยงานในสังกัดที่คาดว่าจะนำเสนอการใช้ยางพาราในประเทศ จำนวน 8 หน่วยงาน ได้แก่ กรม ส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมพัฒนาที่ดิน กรมประมง กรมชล ประทาน กรมปศุสัตว์ กรมหม่อนไหม และกรมวิชาการเกษตร อาทิ แผ่นยางปูคอกโคนม ปูพื้นคอกปศุ สัตว์ ถุงมือยาง การปรับปรุงผิวจราจรถนนลาดยาง โครงการปรับปรุงผนังบ่อดินสำหรับอนุบาลและ เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ รองเท้ายาง เป็นต้น
ส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดว่าจะมีปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศ ในปี 2559 จำนวนทั้งสิ้น 25,580.34 ตันยางแห้ง แบ่งเป็นปริมาณการใช้ยางพาราจากงบปกติ จำนวน 434.07 ตันยางแห้ง และปริมาณการใช้ยางพาราจากงบกลาง จำนวน 25,146.27 ตันยางแห้ง สำหรับปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ ในปี 2560 คาดว่าจะมีปริมาณการใช้ยางพาราภายใน ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 11,025.35 ตันยางแห้ง ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสำนักรัฐมนตรีและสำนัก งบประมาณ จะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลจากกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เห็นภาพรวมก่อนนำเสนอ คณะรัฐมนตรีต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนใน ระยะยาว ตามนโยบายของนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการทำ เกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ซึ่งต้องให้เกษตรกรชาวสวนยางมีความสมัครใจ โดยกระทรวงเกษตรฯ จะเข้าไปสร้างความเข้าใจ พร้อมพูดคุยกับเกษตรกรในการเสริมสร้าง อาชีพ โดยจะต้องดูควบคู่กับด้านการตลาดด้วย
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ปลัดเกษตรฯ เตรียมเสนอครม.แนวทางใช้ยางพาราในปท.ของ 8 กระทรวงปี 59-60
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังหารือแนวทางการใช้ยางพาราในประเทศในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสาน ว่า สืบเนื่องจากการที่นายกรัฐมนตรี ต้องการให้ทุกหน่วยราชการมีการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ได้หารือถึงการใช้ยางพาราในประเทศของส่วนราชการโดยใช้งบประมาณปี พ.ศ.2559-2560 ซึ่งมีหน่วยงานในสังกัดที่คาดว่าจะนำเสนอการใช้ยางพาราในประเทศ จำนวน 8 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมพัฒนาที่ดิน กรมประมง กรมชลประทาน กรมปศุสัตว์ กรมหม่อนไหม และกรมวิชาการเกษตร อาทิ แผ่นยางปูคอกโคนม ปูพื้นคอกปศุสัตว์ ถุงมือยาง การปรับปรุงผิวจราจรถนนลาดยาง โครงการปรับปรุงผนังบ่อดินสำหรับอนุบาลและเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ รองเท้ายาง เป็นต้น
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดว่าจะมีปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศ ในปี 2559 จำนวนทั้งสิ้น 25,580.34 ตันยางแห้ง แบ่งเป็นปริมาณการใช้ยางพาราจากงบปกติ จำนวน 434.07 ตันยางแห้ง และปริมาณการใช้ยางพาราจากงบกลาง จำนวน 25,146.27 ตันยางแห้ง สำหรับปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ ในปี 2560 คาดว่าจะมีปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 11,025.35 ตันยางแห้ง ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสำนักรัฐมนตรีและสำนักงบประมาณ จะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลจากกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เห็นภาพรวมก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
นายธีรภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนแล้ว ยังมีการวางแผนในระยะยาว ตามนโยบายของนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการทำเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ซึ่งต้องให้เกษตรกรชาวสวนยางมีความสมัครใจ โดยกระทรวงเกษตรฯ จะเข้าไปสร้างความเข้าใจ พร้อมพูดคุยกับเกษตรกรในการเสริมสร้างอาชีพ โดยจะต้องดูควบคู่กับด้านการตลาดด้วย
ทั้งนี้ ภาครัฐจะให้ความสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีการอนุมัติงบประมาณแล้วจำนวน 15,000 ล้านบาท ในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรที่จะปรับเปลี่ยนอาชีพ ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 96,563 ราย วงเงิน 8,752 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาให้สินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวน 34,267 ครัวเรือน วงเงิน 3,387 ล้านบาท และมีเงินคงเหลือ 2,867 ล้าน ที่เตรียมพร้อมให้เกษตรกรเข้ามาร่วมโครงการเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องมีการส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสานควบคู่กับการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป
รายงานข่าว ระบุว่า สำหรับโครงการที่จะเสนอ ครม.ในวันที่ 12 ม.ค.นี้ เช่น 1. โครงการบล็อกยางปูพื้นในสนามฟุตซอลของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในโรงเรียนและเทศบาลทั่วประเทศ รวม 240 แห่ง ใช้ยางจำนวน 3,024 ตัน วงเงิน 180 ล้านบาท
2. โครงการบล็อกปูพื้นสนามเด็กเล่นในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ สพฐ. รวม 450 แห่ง ใช้ยาง 450 ตัน วงเงิน 99 ล้านบาท
3. โครงการยางปูพื้นลู่วิ่งลานกีฑาในสนามกีฬาจังหวัดและระดับท้องถิ่น 162 แห่งของกระทรวงท่องเที่ยวฯ ใช้ยาง 341 ตัน วงเงิน 198 ล้านบาท
4. โครงการล้อยางของกระทรวงกลาโหม ใช้ยาง 242 ตัน วงเงิน 586 ล้านบาท 5. โครงการแผ่นยางปูคอกสัตว์ ของกรมปศุสัตว์ 675 ตัน วงเงิน 80 ล้านบาท
ทั้งนี้ หน่วยงานต่างๆ จะต้องจ้างบริษัทจัดซื้อจัดจ้าง เข้ามาซื้อยางของรัฐบาลในราคากิโลกรัมละ 60 บาท รวมทั้งสิ้น 4,391 ตัน วงเงิน 1,300 ล้านบาท
นอกจากนี้ มีรายงานว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กำลังหารือกับตัวแทนเกษตรกร 10 สถาบันเพื่อกำหนดแผนระยะยาว ทั้งระบบ โดยจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหายางพารา นอกจากนั้น ยังมีการหารือกรณีเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิในการปลูกยางพารา ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกยางในพื้นที่ป่า เพื่อกำหนดแผนระยะยาว
ขณะที่ สำนักงบประมาณ จะได้ทบทวนว่ามีงบประมาณสำรองเบิกจ่ายภายในหน่วยงานของตนเองเพียงพอหรือไม่ เพราะหากหน่วยงานใดมีงบไม่เพียงพอก็ต้องขอใช้งบฉุกเฉินแทน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2558 วงเงิน 1,300 ล้านบาท หากทุกหน่วยงานตอบกลับมาภายใน 1 เดือน คาดว่ากระทรวงเกษตรฯ จะเสนอคณะรัฐมนตรี ภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า จะเดินหน้าโครงการได้
คมนาคม เสนอครม.นำยางพาราใช้ก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนนชำรุด
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 ม.ค.นี้ กระทรวงคมนาคมจะรายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับการนำยางพารามาใช้ในการก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนน ตามนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างรวบรวมปริมาณการนำยางพารามาก่อสร้างถนนและซ่อมบำรุงถนนที่ชำรุดเสียหาย ตามข้อร้องเรียนของประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง(ทล.) และกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ในปี 2559 และจะพิจารณางานในปีงบประมาณ 2560-2561 ด้วย
ทั้งนี้ การใช้ ยางพาราธรรมชาติมาใช้เป็นส่วนผสมในขั้นตอนของการฉาบผิวถนนหรือพาราสเลอรีซิลนั้นจะมีการกำหนดเงื่อนไขในการประกวดราคา แตกต่างกับการใช้แอสฟัลต์คอนกรีต (asphalt concrete) ซึ่งไม่มีปัญหาในการประกวดราคา แต่ยอมรับว่าในภาพรวมจะทำให้งบประมาณในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น แต่อายุการใช้งานของถนนที่ใช้พาราแอสฟัลติก จะยาวนานกว่า
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคมกล่าวว่า ได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สรุปข้อมูลการใช้ยางพาราสำหรับทำถนนบริเวณที่เป็นจดตัดกับทางรถไฟ จากเดิมที่ใช้บล็อคคอนกรีต ให้ปรับมาเป็นพาราแอสฟัลติกทั้งหมด ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแรงทนทานกว่า ทั้งนี้ การใช้ยางพารามาทำผิวถนนนั้น จะใช้ส่วนที่เป็นน้ำยางข้น ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 30% อีก 70% จะเป็นยางแผ่นโดยภาพรวมของกระทรวงคมนาคม คาดว่าในปี 2559 จะใช้ยางพาราประมาณ 60,000 ตัน
อินโฟเควสท์