WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AGRIlogoสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเจาะพื้นที่เพชรบุรีรับมือภัยแล้ง สำรวจต้นทุน-ผลผลิต-ปริมาณน้ำ ปลูกแตงโมทดแทนนาปรัง

     สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 ส่วนแยกจังหวัดเพชรบุรี ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การปลูกพืช ใช้น้ำน้อยของเกษตรกรในพื้นที่ สำรวจตำบลหนองพลับ หนองขนาน และปึกเตียน ชู เกษตรกรหันปลูกปลูกแตงโม  ทดแทนการทำนาปรัง หนุนมาตรการประชารัฐร่วมใจรับมือภัยแล้ง

     นางรัชนี ปิ่นอยู่ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 ส่วนแยกจังหวัดเพชรบุรี (สศท.10) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามข้อมูลของเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี ที่มีการปลูกพืชชนิดอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ทดแทนการทำนาปรัง เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีน้อย โดยพืชที่เกษตรกรปลูกได้แก่ ฟักทอง ดาวเรือง และแตงโม

       จากการเก็บข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกแตงโมซึ่งเป็นพืชอายุสั้น ระหว่าง 6570 วัน ในท้องที่ตำบลหนองพลับ หนองขนาน และปึกเตียน พบว่า ต้นทุนในการปลูกอยู่ระหว่าง 20,000 –  25,000  บาทต่อไร่  ราคาผลขนาดใหญ่ที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา อยู่ระหว่าง 1215 บาทต่อกิโลกรัม ปริมาณผลผลิตต่อไร่อยู่ระหว่าง 2,2002,300 กิโลกรัมต่อไร่  ผลตอบแทนสุทธิอยู่ที่ไร่ละ 4,900 บาท  ปริมาณน้ำที่ใช้ 642 ลบ.ม. ต่อไร่ต่อฤดูกาล  ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการทำนาปรัง พบว่า ปริมาณน้ำที่ใช้ 1,281 ลบ.ม.ต่อไร่ต่อฤดูกาล  อย่างไรก็ตาม ด้านแรงงานคนที่ใช้ในการปลูกแตงโม 1 -3 คน จะสามารถปลูกได้ประมาณ 3 ไร่ เนื่องจากต้องหมั่นดูแล ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการทำนาปรัง 1-3 คน จะสามารถปลูกข้าวได้มากกว่า 10 ไร่

ข่าว  :  ฝ่ายประชาสัมพันธ์

    ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 ส่วนแยกจังหวัดเพชรบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!