WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCฉตรชย สารกลยะรมว.เกษตรฯ ย้ำเดินหน้าปฏิรูปภาคเกษตร ประกาศให้ปี 59 เป็นปีแห่งการลดต้นทุน เพิ่มโอกาสการแข่งขัน

   พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าว แถลงผลงาน 1 ปี ของกระทรวงว่า ที่ผ่านมาหลายรัฐบาลพยายามแก้ปัญหาสินค้าเกษตรด้วยการ ประกันราคา จำนำผลผลิตการเกษตร ซึ่งบิดเบือนกลไกตลาด และเป็นช่องว่างให้เกิดการประพฤติ ปฏิบัติที่ไม ถูกต้อง เกิดความเสียหายต่อรัฐและเกษตรกรทั้งหมดนี้เป็นปัญหาด้านการเกษตรที่สะสมมา นาน ส่งผลให้การเกษตรกรที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทยไม่สามารถพึ่งพาตนเอง ได้ รัฐบาลปัจจุบันจำเป็นต้องกำหนดนโยบาย มาตรการ การแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

   โดยกระทรวงเกษตรฯ มีเป้าหมายรวมสูงสุดที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น โดย แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่

   ระยะที่ 1 การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาความ เดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรฝ่าฟัน ปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้

    สำหรับระยะที่ 2 การสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้เกษตรกรในระยะยาวโดยได้ประกาศให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการรณรงค์ลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสินค้าเกษตร ซึ่งจะมีการดำเนินการครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ การลดต้นทุนปัจจัยการผลิต การเพิ่มผลผลิต การ บริหารจัดการ และการตลาด โดยประสานกับกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ ดำเนินการ ปัจจุบันได้ลดราคาปุ๋ยเคมีและสารเคมีบางประเภทแล้ว ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงให้ได้ ประมาณ 5-10%

    ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนและเป็น แหล่งให้เกษตรกรเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียน รู้ระหว่างกัน จนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ ใช้สนับสนุนการรวมกลุ่มและให้ บริการข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร การเชื่อมโยงตลาด มีความ พร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2558 กรอบงบประมาณ 1,064 ล้านบาท เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกร จำนวน 220,500 ราย ซึ่งผลจากมาตรการนี้จะนำไปสู่

 1) การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม หรือ Zoning ซึ่งเป็นการทำให้พื้นที่การผลิต สินค้าเกษตรมี ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น การปรับโครงสร้างการผลิต ข้าว ปศุสัตว์ และประมง เป็นต้น เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรและเป็นประโยชน์ในการ วางแผนการใช้พื้นที่ การเกษตรที่มีอยู่ประมาณ 150 ล้านไร่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    2) การขับเคลื่อนระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นการบริหารจัดการรวมกลุ่มเกษตรกร ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อหน่วย โดยใช้ตลาดนำการผลิตซึ่งขณะนี้มี กิจกรรมในแปลงใหญ่ จำนวน 270 แปลง และมีต้นแบบใน 76 จังหวัด รวม 76 แปลงต้นแบบการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยเริ่มต้นกับจังหวัดยโสธรเป็นเมืองเกษตร อินทรีย์- โดยกำหนดจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในเดือนมกราคม 2559 เพื่อเพิ่มความเข้ม แข็งให้กลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่ดำเนินการอยู แล้ว และขยายผลไปเกษตรกรกลุ่มอื่นที่สนใจในพื้นที่อื่นต่อไป

  โครงการธนาคารสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล ให้เกษตรกรได้นำผลผลิตทางการเกษตร มาแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยการผลิตที่มีราคาถูก โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนมกราคม 2559 ในพื้นที่ เกษตรแปลงใหญ่ต้นแบบการส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสาน และการสนับสนุนให้ประกอบอาชีพเพื่อลดความเสี่ยงด้าน ราคาผลผลิตทางการเกษตร จากพืชเชิงเดี่ยว โดยปลูกพืชหลากหลายชนิดเสริมควบคู กัน เช่น โครงการ สนับสนุนสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพเสริมด้านเกษตร ที่ได้ดำเนินการปี 2558 ที่ผ่านมา เกษตรกรได้รับประโยชน์ประมาณ 100,000 ราย วงเงิน 10,000 ล้านบาท และในปี 2559 ได้ สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ในโครงการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรชาวสวนยางพารา จำนวน กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท มีเกษตรกรจะได้รับประโยชน์ 50,000 รายๆ ละ 100,000 บาท จากการปลูกพืชใช้น้ำน้อย หากทำเกษตรอินทรีย์ผลผลิตจะมีราคาดีกว่าการเกษตรทั่วไป เป็นต้น

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!