WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCฉตรชย สารกลยก.เกษตรฯ จับมือพาณิชย์ขยายตลาดข้าวหอมมะลินิลสุรินทร์สู่นิชมาร์เกต

     พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขยายตลาดข้าวหอมมะลินิลสุรินทร์ให้แพร่หลายมากขึ้นทั้งตลาดในและต่างประเทศ รวมถึงการกำหนดคุณภาพมาตรฐานการผลิตไม่ให้มีการปลอมปนและส่งผลต่อราคาได้

      "ข้าวมะลินิลสุรินทร์เป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้มหรือสีดำ มีคุณสมบัติในการป้องกันโรคมะเร็ง อีกทั้งในปี 2559 กรมการข้าวจะรับรองพันธุ์ข้าวมะลินิลสุรินทร์ จึงมีความจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ของเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้อง ให้รู้จักข้าวมะลินิลสุรินทร์กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งรับรู้เทคโนโลยีการผลิตข้าวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวมะลินิลสุรินทร์ที่ถูกต้อง เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน โดยยึดหลักการ 4 ด้าน ได้แก่ การลดการใช้ปัจจัยการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การเพิ่มการบริหารจัดการแบบแปลงใหญ่ และการเชื่อมโยงตลาด ดังนั้น เพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการเกษตรกรจึงควรรวมกลุ่มกันเพื่อผลิต และจำหน่ายข้าวพันธุ์นี้เป็นการเฉพาะ หากเกษตรกรทำได้ก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากข้าวกลุ่มนี้ราคาสูงกว่าข้าวขาว ซึ่งหากปลูกในระบบอินทรีย์ก็จะทำให้ราคาสูงขึ้นไปอีก"พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวมะลินิลสุรินทร์ ณ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งกรมการข้าวจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวมะลินิลสุรินทร์ และเผยแพร่ผลงานและการดำเนินงานในโอกาสครบรอบ 66 ปี แห่งการก่อตั้งศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์

    สำหรับ แผนการขยายผลข้าวพันธุ์มะลินิลสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์จะดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์หลัก 5 ตันในปี 2559 แล้วนำไปส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรทำการผลิตในเชิงการค้าได้ 500 ไร่ เกษตรกร 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ราย รวมเป็น 60 ราย ซึ่งจะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 155,000 กิโลกรัม สร้างรายได้ให้เกษตรกรไม่ต่ำกว่า 12.40 ล้านบาท หรือเฉลี่ยจำหน่ายได้กิโลกรัมละ 80 บาท

    จังหวัดสุรินทร์ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เดินตามนโยบายประชารัฐของรัฐบาลที่ภาครัฐโดยศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลินิลสุรินทร์ และภาคเอกชนเริ่มนำไปจำหน่ายในท้องตลาดบ้างแล้ว ขณะที่ภาคประชาชนก็รวมแปลงใหญ่

                        อินโฟเควสท์

เกษตรฯ ถกพาณิชย์เคาะแผนลดต้นทุนผลิตการเกษตร คาดคลอดมาตรการ 16 ธ.ค.นี้

      พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้หารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อให้เห็นผลชัดเจนถึงแนวทางมาตรการในการลดต้นทุนการผลิตในเรื่องปัจจัยการผลิตของเกษตรกร ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สำคัญ โดยทั้ง 2 กระทรวงได้ข้อสรุปร่วมกันที่จะเร่งดำเนินการลดต้นทุนการผลิต 3 ด้านหลัก คือ ด้านปัจจัยการผลิตกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน จะส่งรายการปัจจัยการผลิต อาทิ ค่าปุ๋ยเคมี ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ค่าบริการเครื่องจักรกล ค่าอาหารสัตว์/สัตว์น้ำ ฯลฯ ที่จะนำไปหารือกับผู้ประกอบการภาคเอกชนและส่งให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ภายในวันที่ 4 ธันวาคม 2558 ซึ่งคาดว่าจะประกาศมาตรการลดค่าใช้จ่ายปัจจัยการผลิตได้ ภายในวันที่ 16 ธันวาคม 2558 นี้

      ขณะที่ด้านพันธุ์/อาหารของปศุสัตว์ และประมงกรมปศุสัตว์ และ กรมประมง จะหารือกับผู้ประกอบการภาคเอกชน ในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ และจะส่งผลการหารือให้ สศก. ภายในวันที่ 4 ธันวาคม 2558

     ส่วนในด้านเครื่องจักรกลการเกษตรกระทรวงเกษตรฯ จะประสานกับกรมการค้าภายใน เพื่อลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศมีราคาลดลง

     สำหรับ เรื่องการตลาดนั้น ทั้งสองกระทรวงได้เห็นชอบร่วมกันตั้งผู้รับผิดชอบรายสินค้า หรือ Mr./ Mrs. / Ms สินค้าเกษตร เพื่อร่วมบริหารอุปสงค์อุปทาน และวางแผนการตลาดร่วมกัน

      สำหรับ การเกษตรแปลงใหญ่ ที่ปัจจุบันมีเกษตรแปลงใหญ่แล้ว 263 แปลง และ แปลงต้นแบบจังหวัดละ 1 แปลง ที่นอกจากจะเน้นในด้านการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การบริหารจัดการ และ การตลาดแล้ว ขณะนี้ได้เริ่มมีการสนับสนุนเครื่องจักรกลทางการเกษตร (Motor Pool) โครงการนำร่อง 20 สหกรณ์ แบ่งเป็น เครื่องเก็บเกี่ยว เครื่องนวด เครื่องสี สำหรับพื้นที่ปลูกข้าว 10 แห่ง และเครื่องเก็บเกี่ยว เครื่องนวด เครื่องสี สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 10 แห่ง และตั้งเป้าหมายการขยายตัวให้มากกว่านี้ ประมาณ 1,500 แปลง

     พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับการเพิ่มโอกาสการแข่งขันสินค้าเกษตร ประเด็นที่ทั้งสองกระทรวงจะบูรณาการการทำงานร่วมกันให้มากขึ้น ใน 3 เรื่องเร่งด่วน คือ 1. เกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะการส่งเสริมตลาดเกษตรอินทรีย์ และระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า 2. โซนนิ่ง โดยเฉพาะการวิเคราะห์ความต้องการสินค้าเกษตร (อุปสงค์) เพื่อวางแผนการผลิตตามเขตที่เหมาะสมทางกายภาพ 3. ตลาดรองรับผลผลิตพืชทดแทนข้าวนาปรังปี 2558/59 ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น

     อินโฟเควสท์

ฉัตรชัย เตรียมความพร้อมภาคเกษตร เพิ่มศักยภาพด่านสินค้า ลดผลกระทบหลังเปิด AEC

    พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยดำเนินการตามเป้าหมายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในการเป็นตลาด และฐานการผลิตเดียวกัน ซึ่งมีการดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ตามพันธะกรณีของประชาคมอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (AEC Blueprint) 2. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดเพิ่มเติม

     ด้านความคืบหน้าการดำเนินการตามพันธกรณีของประชาคมอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (AEC Blueprint) มี 2 ประเด็นหลัก คือ 1. การลดภาษีและขยายโควต้าสินค้าเกษตร ซึ่งดำเนินการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว 2. การกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร ซี่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2551-2558 จำนวน 23 รายการ ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว คือ มาตรฐานสินค้าพืชสวน เช่น ฝรั่ง ลองกอง มังคุด กล้วย แตงโม กระเทียม หอมแดง มาตรฐาน ASEAN GAP (ASEAN Good Agriculture Practice-การทำการเกษตรที่ดี) ได้แก่ การกำหนดค่าสารพิษตกค้างสูงสุดสำหรับสารกำจัดศัตรูพืช การเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและขจัดปัญหาประมง IUU และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น

    ส่วนการดำเนินการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดเพิ่มเติม โดยคาดการณ์ว่าเมื่อเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว จะมีการหลั่งไหลของสินค้าเกษตรที่ไม่ได้มาตรฐานเข้าประเทศไทยจำนวนมาก จึงดำเนินมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการหลั่งไหลของสินค้าเกษตร ดังนี้ 1. เพิ่มศักยภาพด่านสินค้าเกษตร 6 ด่าน (แม่สอด อรัญประเทศ คลองใหญ่ มุกดาหาร สะเดา ปาดังเบซาร์) ให้เป็นมาตรฐานสากล โดยมีระบบตรวจสอบสินค้าที่ได้มาตรฐานสากลรองรับ 2. พัฒนาศักยภาพด้านบุคลากร เน้นเจ้าหน้าที่ตรวจมาตรฐาน และเจ้าหน้าที่ด่านตรวจ โดยการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับรอง หน่วยตรวจ และผู้ประเมิน เพื่อบูรณาการด่านสินค้าเกษตร ซึ่งครอบคลุมสินค้าเกษตรทั้งพืช ประมง และปศุสัตว์อีกด้วย

    อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!